ทำไมกรอบนโยบายการเงินไทย จึงต้อง 'ยืดหยุ่นขึ้น'

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อไทยอยู่ในระดับต่ำใกล้ขอบล่าง (1%)ของกรอบนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.5 1.5%ในขณะที่ปีนี้เศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าปีที่ผ่านมา แล้วทำไมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

จึงไม่ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ให้ขยายตัวและทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นมาอยู่ที่ค่ากลางของเป้าหมาย (2.5%)?

รับมือความท้าทายด้านนโยบายการเงิน

คำถามดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่ กนง. เผชิญอยู่ซึ่งเกิดจากพัฒนาการ 2 เรื่องคือ
(1) พลวัตหรือทิศทางการเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Dynamics) ที่ต่ำลงมากจากโครงสร้างเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และ

(2) ความเสี่ยงในระบบการเงินที่สะสมมาระยะหนึ่ง เช่น การก่อหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น การเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ และสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่องเป็นต้น ประกอบกับ เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง(VUCA[1]) จากสถานการณ์ต่างๆ อาทิ สงครามการค้า Brexit และปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ในการรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ นโยบายการเงินต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอและเป็นระบบมากขึ้นจึงจะสามารถสื่อสารกับสาธารณชนได้ชัดเจนและทำให้นโยบายการเงินมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

พลวัตของอัตราเงินเฟ้อต่ำลงจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง เช่น เทคโนโลยีในภาคการผลิตที่ทำให้ต้นทุนต่ำ และเทคโนโลยี e-commerce ที่ทำให้ภาคการค้าแข่งขันสูงและไม่สามารถปรับขึ้นราคาได้ พัฒนาการเหล่านี้ยังมีผลต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่งทำให้แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องและต่ำกว่าค่ากลางของเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ ความท้าทายแรกต่อนโยบายการเงินคือ การมีค่ากลางอยู่ที่ 2.5% นั้นเป็นตัวยึดโยงการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อและทำให้สาธารณชนคาดหวังว่าในการบรรลุเป้าหมายนโยบายการเงินนั้น ธนาคารกลางควรทำให้อัตราเงินเฟ้อมาอยู่ใกล้ค่ากลางให้ได้

ความท้าทายที่สองคือ ระบบการเงินไทยมีสัญญาณการสะสมความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในหลายภาคส่วนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และนโยบายการเงินต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจังในการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน สาเหตุของการสะสมความเสี่ยงของระบบการเงินมาจากความจำเป็นที่ธนาคารกลางทั่วโลกต้องผ่อนคลายนโยบายการเงินมากเป็นเวลานานต่อเนื่องถึง 10 ปี เพื่อดูแลเศรษฐกิจภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลก ปี 2008 ซึ่งผลของการอัดฉีดเงินเข้าระบบของธนาคารกลางของประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้สภาพคล่องส่วนเกินในโลกไหลเข้าสู่ประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแรงกว่ารวมทั้งไทย โดยไหลเข้าไปในหลายภาคส่วนเศรษฐกิจพร้อมๆ กัน

นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานานทำให้ทั้งนักลงทุน สถาบันการเงิน สหกรณ์ รวมถึงธุรกิจขนาดใหญ่มีพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น(search for yield) โดยไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดการประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควรจะเป็น (Underpricingof risks) ปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า การดำเนินนโยบายการเงินสามารถส่งผลต่อเสถียรภาพระบบการเงินได้ซึ่งบทเรียนจากวิกฤตการเงินโลกปี 2008 เป็นเครื่องเตือนใจว่าการสะสมความเสี่ยงในภาคการเงินที่สูงเกินไป สามารถส่งผลกระทบรุนแรงและยืดเยื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจได้ในภายหลัง

แม้การดูแลเสถียรภาพระบบการเงินจะมีเครื่องมืออื่นๆ นอกจากนโยบายการเงินเช่น มาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน(Macroprudential measure) บางมาตรการซึ่ง ธปท. มีการใช้เป็นระยะ อย่างมาตรการ LTV ซึ่งออกใช้เพื่อป้องกันการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์และรักษาวินัยภาคครัวเรือนไม่ให้ก่อหนี้เกินตัว แต่เนื่องจากความเสี่ยงของระบบการเงินในปัจจุบันเริ่มก่อตัวในหลายภาคส่วน และแต่ละภาคส่วนมีผู้กำกับดูแลที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ เครื่องมือ Macroprudential ก็ยังมีจำกัดและอยู่ระหว่างการพัฒนาส่งผลให้การทำมาตรการ Macroprudential ของ ธปท. เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถครอบคลุมความเสี่ยงได้ทั้งระบบ จึงต้องอาศัยนโยบายการเงินเข้ามาเสริมด้วย

เสถียรภาพ 3 ด้าน : ต้นทุนที่ต้องเลือก ในขั้นนี้ การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยจำเป็นต้องคำนึงถึงเสถียรภาพทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ (1) เสถียรภาพราคา (2) การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และ (3) ระบบการเงินแต่การทำนโยบายการเงินอาจส่งผลต่อเสถียรภาพทั้ง 3 ด้านแตกต่างกันและขัดกันในบางครั้ง ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อดูแลเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ ก่อให้เกิดต้นทุน (trade-off) ในรูปของการสะสมความเปราะบางให้กับระบบการเงินที่ท้ายสุดส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อในอนาคต การตัดสินนโยบายที่ต้องให้น้ำหนักทั้งด้านเสถียรภาพระบบการเงินร่วมกับเสถียรภาพด้านราคาและการขยายตัวของเศรษฐกิจจึงถือเป็นความท้าทายของผู้ดำเนินนโยบายการเงิน

วิธีที่จะช่วยให้การทำนโยบายการเงินสามารถให้น้ำหนักความสำคัญกับเสถียรภาพด้านต่างๆ โดยเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ได้คือ กรอบนโยบายการเงินซึ่งเปรียบเสมือนแนวทางในการทำงานและสื่อสารกับสาธารณชนจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะเปิดช่องให้การทำนโยบายสามารถให้น้ำหนักกับเสถียรภาพด้านอื่นๆ ได้ เช่น หากต้องการทำนโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อจัดการความเสี่ยงในภาคการเงิน กรอบนโยบายการเงินต้องยอมให้เกิด trade-off ในรูปของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ขยายตัวน้อยลงในระยะสั้นได้

ตัวอย่างของวิธีเพิ่มความยืดหยุ่น

การกำหนดกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อให้ยืดหยุ่น สามารถทำได้หลายวิธี เช่น(1) การให้เวลาที่อัตราเงินเฟ้อจะกลับสู่กรอบเป้าหมายให้ยาวขึ้น เช่น การบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางของธนาคารกลางสหรัฐ กลุ่มอียู และออสเตรเลีย เป็นต้น หรือ(2) กำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อเป็นแบบช่วงแทนที่จะยึดติดกับเป้าอัตราเงินเฟ้อที่ค่าใดค่าหนึ่ง เช่น ประเทศออสเตรเลียที่กำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2-3% เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและระบบการเงิน ซึ่งในระยะหลัง นักเศรษฐศาสตร์เริ่มให้ความเห็นว่าในการรักษาเสถียรภาพด้านราคา ธนาคารกลางควรเน้นดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในช่วงที่ไม่ต่ำหรือสูงเกินไปจนเป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจของคนในการจับจ่ายใช้สอยหรือการทำธุรกิจ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง

โดยสรุป ภายใต้บริบทเศรษฐกิจไทยที่เปลี่ยนแปลงไป สร้างความท้าทายให้กับกนง. ในการดำเนินนโยบายการเงินและการกำหนดกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินให้เหมาะสม โดยพิจารณากำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อให้สอดคล้องกับพลวัตอัตราเงินเฟ้อที่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง นอกจากนี้ กรอบเป้าหมายนโยบายการเงินต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอให้สามารถรับมือกับโลก VUCA และความเสี่ยงในระบบการเงินที่มากขึ้น อย่างไรก็ดี การดำเนินนโยบายที่มีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นนั้นอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการยึดเหนี่ยวการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะยาวของประชาชน ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ผู้ดำเนินนโยบายละเลยไม่ได้คือ การสื่อสารที่มาของการดำเนินนโยบายแต่ละครั้งให้ชัดเจนเพื่อให้การดำเนินนโยบายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

คอลัมน์ แจงสี่เบี้ย: โดย ศุกพิณรัศ วงศ์สินศิริกุล
รอง ผอ.ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ : VUCA ย่อมาจากVolatility (ความผันผวน) Uncertainty (ความไม่แน่นอน) Complexity (ความซับซ้อน)และ Ambiguity (ความคลุมเครือ)

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลจึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"