ทำไมค่าเงินบาทถึงอ่อนลง เมื่อมีการปรับลดดอกเบี้ย ??

ตามที่สัญญาไว้จากโพสต์ที่อธิบายถึงผลกระทบจากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายครับ ว่าจะมา”เล่า”เรื่องผลกระทบต่อค่าเงินบาทให้ฟังกัน ** สำหรับโพสต์ที่เล่าผลกระทบเรื่องดอกเบี้ยเอาไว้ถ้าใครพลาดไปสามารถตามไปอ่านได้ที่ :

คลิก

===============
จากที่เราได้ทราบกันแล้วว่าผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงนั้นจะทำให้ดอกเบี้ยต่างๆในตลาด ทั้งดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ ปรับตัวลดลง
แค่อีกเหตุผลนึงนั้น กนง. ก็ให้เหตุผลว่าการปรับลดดอกเบี้ยในครั้งนี้ ต้องการที่จะแก้ปัญหาการแข็งตัวของเงินบาทด้วยเช่นกัน
ทันทีที่มีข่าวการปรับลดดอกเบี้ยออกมาในวันที่ 6 พฤศจิกายน ในวันถัดมานั้นเงินบาทก็อ่อนค่าลงอย่างเห็นได้ชัดทันที โดยขยับจาก 30.30 บาท/ดอลลาร์ ไปปิดที่ 30.42 บาท/ดอลลาร์
คำถามของหลายๆคนก็คือ การปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้ มันไปทำปฏิกิริยาอะไรกับเงินบาท ถึงทำให้มันอ่อนค่าลงมาทันทีได้ขนาดนี้ ??
วันนี้ผมเลยขอยกตัวอย่างง่ายๆโดยใช้แผนภาพที่ให้มาในการอธิบายเรื่องการอ่อนตัวของค่าเงินครับ
*** ออกตัวก่อนว่าตัวเลขที่ผมหยิบยกมาอธิบายนั้นเป็นตัวเลขสมมุติง่ายๆ เพื่อความง่ายต่อการทำความเข้าใจ ไม่เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันแต่อย่างใด
— — — — — — — —
ด้านบนของรูปคือสถานการณ์ที่ประเทศไทยนั้นมีดอกเบี้ยที่สูง สมมุติให้เป็น 5% ส่วนอีกประเทศอย่างสหรัฐฯนั้นมีดอกเบี้ยต่ำกว่าที่ 4%
ถ้าคุณมองง่ายๆ คิดว่าประเทศไหนน่าลงทุนกว่ากันครับ สมมุติแค่เอาเงินไปฝากง่ายๆไม่ต้องมีความเสี่ยง
ประเทศไทยแน่นอนเพราะมีอัตราดอกเบี้ย (ผลตอบแทนจากการลงทุน) ที่สูงกว่า
ดังนั้นประชาชนจากประเทศอื่นๆ ก็อยากนำเงินมาฝากธนาคารที่ประเทศไทย แต่ถ้าหิ้วเงินดอลลาร์มาธนาคารบ้านเราก็คงไม่รับ
จะฝากธนาคารไทยก็ต้องฝากเป็นเงินบาท ส่งผลให้มีชาวต่างชาติแลกเงินดอลลาร์เปลี่ยนเป็นเงินบาทมากขึ้น
ตามหลักของเศรษฐศาสตร์ทั่วไป หรือตามหลักตลาดบ้านๆ ของสิ่งใดที่มีจำนวนจำกัดแต่คนมีความต้องการสูง ราคาก็จะแพงขึ้น (ลองนึกถึงสินค้า limited edition ที่คนไปต่อคิวซื้อกันข้ามวัน แล้วเอามาขายต่อในราคาแพง)
ในกรณีนี้ก็ไม่ต่างกันครับ เงินบาทมีจำกัดเพราะเราไม่ได้พิมพ์แบงค์กันเล่นๆทุกวัน เพราะฉะนั้นเงินบาทก็จะแพงขึ้น หรือศัพท์ที่เราคุ้นกันก็คือเงินบาทแข็งค่า สมมุติว่าจาก 35บาท/ดอลลาร์ แข็งขึ้นเป็น 30 บาท/ดอลลาร์
** สำหรับคนที่สงสัยว่า เอ้าาา 35 ไปเหลือ 30 บาทก็ถูกลงน่ะสิ แพงขึ้นได้ไง อันนี้คุณกำลังโดนการ direct quote หลอกอยู่เพราะอย่าลืมว่านี่คือราคาของเงินดอลลาร์นะครับ เราเอาเงิน 30 บาทไปแลกได้ 1 ดอลลาร์
ในกรณีที่ฝรั่งมาซื้อเงินบาท ถ้าเค้าจ่าย 1 ดอลลาร์ ได้ 30 บาท เทียบกับจ่าย 1 ดอลลาร์ได้ 35 บาท แบบแรกก็ถือว่าแพงกว่า เพราะจ่ายเท่าเดิมแต่ได้เงินบาทน้อยกว่า (เหมือนซื้อลูกอมได้ 30 เม็ด เทียบกับ 35 เม็ด)
จากคำอธิบายด้านบนทั้งหมดสามารถสรุปตามขั้นตอนออกมาได้ดังนี้
ไทยดอกเบี้ยสูง -> ต่างชาติอยากเอาเงินมาฝาก -> แห่กันมาแลกเงินบาท -> เงินบาทแข็งตัว
— — — — — — — —
ด้านล่างของรูปคือสถานการณ์ที่ไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมา สมมุติลดเหลือแค่ 3% ในขณะที่อีกประเทศนั้นคงที่
(นี่คือการเปรียบเทียบสถานการณ์การลดดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นนะครับ แต่อย่างที่บอกไปว่าเป็นตัวเลขสมมุติ)
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ประเทศไทยที่ดอกเบี้ยลดลงเยอะ จะไม่น่าลงทุนเหมือนสมัยก่อนอีกต่อไปแล้ว ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติแห่กันถอนเงินออกมาแล้วแลกกลับไปเป็นสกุลเงินของตนเอง เพื่อนำกลับไปฝากในที่ที่ได้ดอกเบี้ยสูงกว่า
เมื่อเกิดการแลกเงินกลับ หรือการเทขายเงินบาท เราก็ใช้หลักการตรงกันข้ามของเศรษฐศาสตร์หรือแบบตลาดบ้านๆด้านบน ของอะไรก็แล้วแต่ที่คนไม่ต้องการ เกิดการเทขายราคาก็ตกเหมือนพืชผลเกษตรที่ล้นตลาด
ส่งผลให้เงินบาทมีราคาถูกลง หรืออ่อนค่าลง จากที่เคยแลกได้ 30บาท/ดอลลาร์ ก็จะถูกลงกลายเป็นแลกได้มากขึ้นถึง 35บาท/ดอลลาร์
จากเหตุการณ์ทั้งหมดสามารถสรุปออกมาได้ดังนี้
ไทยดอกเบี้ยต่ำลง -> ต่างชาติถอนเงินกลับประเทศ -> เทขายเงินบาท -> เงินบาทอ่อนค่าลง
— — — — — — — —
จากที่ยกตัวอย่างแบบง่ายๆไปจะเห็นว่าดอกเบี้ยมีผลกระทบกับอัตราแลกเปลี่ยนในลักษณะที่ไปในทิศทางเดียวกันครับ
ถ้าดอกเบี้ยสูง เงินบาทก็จะราคาสูง, ถ้าดอกเบี้ยต่ำ เงินบาทก็จะราคาลง
แต่ในโลกของความเป็นจริงจะต่างจากที่ผมอธิบายไว้มาก เพราะเราไม่ได้มีแค่ 2 ประเทศ และการปรับลดดอกเบี้ยก็ไม่ได้เยอะอย่างที่ว่าไป (ยังไม่ตำนึงถึงว่าประเทศอื่นๆก็มีการปรับดอกเบี้ยด้วยเหมือนกัน)
ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นก็จะคล้ายกัน สิ่งที่แตกต่างก็คือการไหลของเงินอาจจะไม่ได้ไหลกลับไปที่สหรัฐฯเหมือนในรูป แต่จะไหลไปยังประเทศที่ให้ดอกเบี้ยสูงแทนได้ครับ
— — — — — — — —
เท่านี้แหละครับ ผลกระทบจากการลดดอกเบี้ยที่ทำให้เงินบาทอ่อนตัวลงแบบง่ายๆ แต่อย่าลืมนะครับว่า กนง. นั้นปรับลดเพียง 0.25% เท่านั้น (ถ้ารวมกับที่ปรับมาแล้วรอบนึงก็รวมเป็น 0.5%)
ดังนั้นผลกระทบอาจจะไม่เห็นชัดมาก สังเกตุจากการอ่อนตัวลงของเงินบาทในปริมาณที่ถือว่าไม่มากเท่าไหร่
ทั้งนี้ทั้งนั้นปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนนั้นมีเยอะกว่าดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว ต้องดูหลายๆปัจจัยประกอบกันจึงจะสามารถบอกทิศทางการแข็งค่าหรืออ่อนค่าได้
หวังว่าเรื่องเล่านี้จะทำให้หลายๆคนเข้าใจความสัมพันธ์ของทั้งสองเหตุการณ์ได้มากขึ้นนะครับ
เครดิตรูปประเทศไทยและสหรัฐฯจาก

คลิก

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"