เศรษฐกิจไทยปีหน้าฟื้นตัวยาก เสี่ยงสะดุดจาก 3 ปัจจัย

ไทยฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่น ๆ หากยังไม่เปิดรับนักท่องเที่ยว: หากติดตามตัวเลขเศรษฐกิจในช่วงนี้จะเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในบางอุตสาหกรรมชัดขึ้นเรื่อย ๆ จากที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการควบคุมการติดเชื้อในประเทศ

มีการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองของรัฐบาล และกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นสัดส่วนมากถึง 12% ของ GDP ประกอบกับเศรษฐกิจไทยที่อ่อนแออยู่แล้วตั้งแต่ก่อนวิกฤติ COVID-19 จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ยากและช้ากว่าประเทศอื่น ๆ มากในภาวะที่การท่องเที่ยวยังไม่กลับมา หนึ่งในสัญญาณที่อาจสามารถสะท้อนให้เห็นทิศทางของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปได้บ้าง คือ แนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทย ซึ่งเปรียบเทียบแล้วตลาดหุ้นไทยแทบไม่ฟื้นตัวเลยในขณะที่หุ้นในหลายประเทศฟื้นตัวกลับไปใกล้เคียงกับจุดก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 แล้ว (รูปที่ 1)

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของ GDP สำหรับปี 2021 จาก 5.2% เหลือ 3.4% ปัจจัยสำคัญที่สุด คือ การท่องเที่ยวที่คาดว่าจะฟื้นตัวได้ช้ากว่าเดิมจากที่การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติยังเกิดขึ้นจริงได้ยาก ในขณะที่ยังคงประมาณการเศรษฐกิจที่ -9% สำหรับปี 2020 แนวโน้มเศรษฐกิจจากหดตัว 9% ในปีนี้เป็นเติบโตเพียง 3.4% ในปีหน้า สะท้อนถึงการที่เศรษฐกิจในปีหน้ายังคงห่างไกลจากการกลับเข้าสู่ระดับของกิจกรรมเศรษฐกิจก่อน COVID-19
แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2021
KKP Research ปรับประมาณการเศรษฐกิจลงอีกครั้ง จากสถานการณ์การท่องเที่ยวที่ยังไม่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น การระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่สิ้นสุดในหลายพื้นที่ทั่วโลก และแนวคิดเกี่ยวกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาในไทยได้ยังเป็นที่ถกเถียงในวงกว้าง สำหรับในปี 2020 นี้คาดว่าจะไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาในประเทศอย่างมีนัยสำคัญ จากเดิมที่คาดว่าจะเริ่มมีนักท่องเที่ยวเข้ามาได้บางส่วนในช่วงปลายปีนี้ มองไปในปี 2021 ประเทศไทยจะยังคงเผชิญกับโจทย์อันท้าทายในการเปิดรับนักท่องเที่ยวในวงกว้าง เนื่องจากข้อจำกัดทั้งทางด้านความสามารถในการกักตัวและติดตามนักท่องเที่ยว ประกอบกับพัฒนาการของวัคซีนที่มีแนวโน้มจะยังไม่สามารถใช้ได้ทันในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้ต้องเปลี่ยนการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2021 จาก 17 ล้านคน เหลือเพียง 6.4 ล้านคน โดยคาดว่านักท่องเที่ยวจะเริ่มกลับเข้ามาได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2021 แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับปกติก่อนโควิดคือที่ 40 ล้านคนอยู่มาก
KKP Research คาดการณ์ว่าในกรณีฐาน ถึงแม้ว่าการใช้จ่ายในประเทศและการส่งออกจะเริ่มฟื้นตัวได้แต่จะไม่ช่วยเศรษฐกิจได้มากนัก เพราะรายรับจากการท่องเที่ยวที่ลดลงจะยังคงเป็นตัวฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกจะยังคงชะลอตัวและนักท่องเที่ยวจะเริ่มกลับมาในช่วงครึ่งหลังของปี ประกอบกับเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงขาลงมาตั้งแต่ก่อนการระบาดของ COVID-19 ยากที่เศรษฐกิจในประเทศจะกลับไปขยายตัวได้ในระดับสูงเหมือนในอดีต KKP Researchจึงปรับการคาดการณ์การเติบโตของ GDP ปี 2021 เหลือเพียง 3.4% (รูปที่ 2) เมื่อเทียบกับการหดตัวถึง 9% ในปีนี้จะทำให้เศรษฐกิจไทยอาจต้องใช้เวลานานถึงประมาณ 3-4 ปีกว่าที่จะกลับเข้าสู่ระดับปกติ (รูปที่ 3)
อย่างไรก็ตาม สมมติฐานในการประมาณการเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนอยู่ค่อนข้างมาก ในกรณีเลวร้ายที่ประเทศไทยอาจไม่สามารถเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวได้เลยในช่วงปี 2021 จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อทั้งการจ้างงานและการเลิกกิจการของบริษัทในวงกว้าง การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของหนี้เสีย ที่จะฉุดรั้งการบริโภคและการลงทุนในประเทศและเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เศรษฐกิจจะหดตัวลึกไปกว่าเดิม และอาจโตได้ในระดับ 0%-1% เท่านั้น
เมื่อเศรษฐกิจขาดนักท่องเที่ยว การฟื้นตัวที่แตกต่างกันทั้งมิติของอุตสาหกรรมและพื้นที่
ธุรกิจแต่ละประเภทได้รับผลกระทบแตกต่างกันจากการหดตัวของนักท่องเที่ยว เมื่อย้อนดูข้อมูล GDP ไตรมาส 2 ปี 2020 ที่หดตัว 12.2% มากที่สุดตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งปี 1997 และเมื่อมองในระดับธุรกิจเราจะเห็นผลกระทบที่ต่างกันไป ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ธุรกิจที่พักอาศัยและอาหาร (-50.2%), การเดินทาง (-38.9%), การผลิต (-14.4%) และ การค้าปลีก (-9.8%) ในขณะที่ธุรกิจที่ยังพอขยายตัวได้ คือ การก่อสร้าง (+7.3%)บริการทางการเงิน (+1.7%) และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (+1.6%) KKP Research ได้คำนวณแยกผลกระทบเพื่อระบุปัจจัยอธิบายการหดตัวที่เกิดขึ้นในแต่ละกลุ่มธุรกิจในไตรมาส 2 (รูปที่ 4) พบว่าธุรกิจที่รายได้มีการหดตัวลึกอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวสูงและได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่หดตัวลงเป็นหลัก ในขณะที่ในภาคการผลิตที่มีการพึ่งพาการส่งออกสูงจะได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ชะลอตัวลงเช่นกัน ในส่วนของธุรกิจในกลุ่มการก่อสร้างได้รับประโยชน์จากการลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้นทำให้ยังพอขยายตัวได้
ผลกระทบจากการปิดเมืองเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ธุรกิจหดตัวลงในช่วงไตรมาส 2 โดยผลกระทบที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นในธุรกิจการเดินทางและการขนส่ง การค้าปลีก และที่พักและอาหาร ซึ่งผลจากการปิดเมืองทำให้รายได้ของธุรกิจกลุ่มนี้หายไปประมาณ 10% อย่างไรก็ดี ในช่วงไตรมาส 3 และ ไตรมาส 4 ของปีนี้ธุรกิจในกลุ่มนี้อาจปรับตัวดีขึ้นบ้างหลังการเปิดเมือง แต่ยังคงอยู่ในแดนติดลบจากนักท่องเที่ยวที่ยังไม่กลับมาเป็นปกติ
ในปี 2021 การฟื้นตัวจะแตกต่างกันในแต่ละธุรกิจ จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในแต่ละกลุ่มที่ไม่พร้อมกัน กลุ่มธุรกิจที่พึ่งพานักท่องเที่ยวสูงจะยังไม่สามารถฟื้นตัวได้มากนัก ในขณะที่กลุ่มที่พึ่งพาการบริโภคในประเทศและการส่งออกเป็นหลัก (รูปที่ 5) เช่น การค้าปลีก ค้าส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และภาคการผลิต จะสามารถกลับมาขยายตัวได้บ้างตามการฟื้นตัวของการบริโภค ในขณะที่ภาคการก่อสร้างอาจฟื้นตัวจากโครงการลงทุนของภาครัฐ
มาตรการรัฐกระตุ้นท่องเที่ยวได้จำกัด หลายพื้นที่ยังไม่ฟื้นตัว
ผลกระทบจากการไม่มีนักท่องเที่ยวทำให้หลายพื้นที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวในระดับสูง โดยเมื่อพิจารณาระดับการพึ่งพาการท่องเที่ยวจะพบว่า จังหวัดที่มีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Domestic Product: GPP) อยู่ในระดับสูง (มากกว่า 50% ของ GPP) คือ ภูเก็ต และพังงา ยังคงมีอัตราการเข้าพักอยู่ในระดับต่ำภายหลังสิ้นสุดมาตรการปิดเมือง (รูปที่ 6) เฉลี่ยไม่ถึง 10% ในเดือนกรกฎาคม จากระดับปกติที่เกือบ 80% ในปี 2019
ถึงแม้จะมีมาตรการรัฐอย่าง “เราเที่ยวด้วยกัน” ก็ยังไม่สามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวได้ตามที่คาดหวังไว้ โดยจากการใช้มาตรการมากว่า 2 เดือน ยังมีการใช้สิทธิ์จองที่พัก เพียง 1 ล้านจาก 5 ล้านสิทธิ์ หรือ 20% เท่านั้น โดยพื้นที่ที่ได้ประโยชน์จากมาตรการรัฐยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และสามารถเดินทางไปด้วยรถยนต์ได้ อาทิ หัวหิน พัทยา เนื่องจากความกังวลต่อ COVID-19 ยังคงมีอยู่ทำให้คนส่วนใหญ่ยังคงเลือกเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากกว่าเครื่องบิน อีกทั้งคนที่ยังมีกำลังซื้อส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพ ฯ จึงทำให้หลายพื้นที่ยังไม่ได้รับผลประโยชน์จากมาตรการดังกล่าวนี้
ถึงแม้ว่าหลายพื้นที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ แต่รายได้จากนักท่องเที่ยวไทยยังคงไม่เพียงพอที่จะชดเชยรายได้ที่สูญไปจากการขาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยในปีที่ผ่านมารายได้จากนักท่องเที่ยวไทยคิดเป็นเพียง 1 ใน 3 ของรายได้จากนักท่องเที่ยวในประเทศทั้งหมด ส่งผลให้รายได้ของโรงแรมลดลงและหลายโรงแรมต้องปิดตัวไป โดยปัจจุบันโรงแรมกว่า 40% ของโรงแรมทั้งหมดยังคงปิดบริการชั่วคราวอยู่ นอกจากนี้ ข้อมูลจากการขอใช้สิทธิ์เราเที่ยวด้วยกัน ยังแสดงให้เห็นความแตกต่างของการฟื้นตัวในกลุ่มโรงแรมที่พักด้วยกันเอง โดยคนใช้สิทธิ์จองที่พักมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,900 บาทต่อคืน หรือกล่าวได้ว่าโรงแรมที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโรงแรมระดับ 3 ดาวขึ้นไป
3 ความเสี่ยงที่ยังต้องจับตามอง
แม้ตัวเลขเศรษฐกิจน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว เศรษฐกิจในประเทศค่อย ๆ ฟื้นตัว แต่ยังมีความท้าทายจากอีก 3 ปัจจัย
1. ฐานะการเงินของธุรกิจได้รับผลกระทบรุนแรง ธุรกิจขนาดกลางและเล็กมีความเสี่ยงในการเลิกกิจการ
หากสถานการณ์การปิดประเทศยังคงลากยาว แต่ผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของธุรกิจอาจเลวร้ายลง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีการพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก โรงแรมจะยังประสบปัญหาอัตราการเข้าพักที่ยังไม่กลับมาจนถึงระดับที่คุ้มทุนในการดำเนินกิจการ เมื่อดูตัวเลขกำไรจากการดำเนินงานในรูปเงินสด (EBITDA) ของบริษัทในกลุ่มโรงแรมที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) พบว่ากระแสเงินสดเปลี่ยนจากตัวเลขบวก เป็นติดลบในไตรมาส 2 ของปีนี้ (รูปที่ 7) ซึ่งจะกระทบต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจและการชำระหนี้ของบริษัททั้งนี้ สถานการณ์มีแนวโน้มจะรุนแรงมากกว่าสำหรับโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์
KKP Researchพบว่า ธุรกิจหลายกลุ่มยังมีความเสี่ยงที่ผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จากการคำนวณอัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) หรือสัดส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีเทียบกับดอกเบี้ยจ่ายของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใต้สมมติฐานว่าหากบริษัทมีอัตราส่วนนี้น้อยกว่า 1 หรือกำไรน้อยกว่าดอกเบี้ยจ่ายจะเข้าข่ายเป็นบริษัทที่มีความเสี่ยงจะผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งหากนับรวมจำนวนหนี้ในกลุ่มบริษัทกลุ่มนี้จะคิดเป็นกว่า 15.7% ของปริมาณหนี้ทั้งหมดของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาส 2 ปี 2020 (ไม่รวมบริษัทในภาคการเงินและ REIT) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากไตรมาส 4 ปี 2019 ที่อยู่ที่ระดับ 8.1% (รูปที่ 8) หากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวอย่างเปราะบาง และธุรกิจยังคงมีกระแสเงินสดที่ติดลบต่อเนื่อง อาจทำให้ธุรกิจต้องปิดกิจการซึ่งจะเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อการจ้างงานในระยะต่อไป
2. ผลกระทบต่อการว่างงานอาจรุนแรงขึ้นอีก
ความเสี่ยงด้านกระแสเงินสดอาจส่งผลต่อเนื่องมายังการจ้างงาน แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นบ้างจากการผ่อนคลายการปิดเมือง แต่เรายังคาดว่าผลที่จะเกิดขึ้นกับการจ้างงานยังไม่ถึงจุดต่ำสุด จากความเสี่ยงในการเลิกกิจการในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวที่จะยิ่งสูงขึ้นหากสถานการณ์ลากยาวต่อไป ตัวเลขชั่วโมงการทำงานในเดือนมิถุนายนปรับตัวลดลงถึง 12% เมื่อเทียบกับปีก่อนและหดตัวลงในแทบทุกกลุ่มอาชีพ (รูปที่ 9) สะท้อนให้เห็นว่าลำพังเฉพาะตัวเลขสำรวจการจ้างงานในไตรมาส 2 ที่ระบุว่ามีการว่างงานประมาณ 7 แสนคน หรือ 1.9% อาจไม่ใช่ปัจจัยที่สะท้อนสถานการณ์ในตลาดแรงงานได้ทั้งหมด หากนับรวมกลุ่มคนที่ถูกพักงานไม่ได้รับเงินเดือน หรือคนที่ถูกลดจำนวนชั่วโมงทำงานลง จะทำให้ตัวเลขนี้รวมกับคนว่างงานในปัจจุบันสูงถึงกว่า 3 ล้านคน KKP Research คาดว่าจำนวนการว่างงานอาจสูงถึง 5 ล้านคน หรือมากกว่านั้นได้หากเศรษฐกิจเข้าสู่กรณีเลวร้ายที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถกลับมาได้ในปีหน้า ปัญหาการขาดรายได้และการว่างงานเป็นวงกว้างเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะกระทบต่อชีวิตผู้คน ซ้ำเติมปัญหาหนี้ครัวเรือนและปัญหาทางสังคมอื่นๆ เท่านั้น แต่ยังส่งผลทางอ้อมต่อเศรษฐกิจอีกรอบหนึ่งอีกด้วยผ่านการชะลอลงของการบริโภค โดยเฉพาะการบริโภคในกลุ่มสินค้าคงทน เช่น บ้าน รถยนต์ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 18% ของการบริโภคทั้งหมด ทำให้การบริโภคในปี 2021 อาจฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดได้ (รูปที่ 10)
3. มาตรการพักชำระหนี้แบบทั่วไปกำลังจะหมดลง
มาตรการพักชำระหนี้ที่ช่วยหนุนภาคธุรกิจและการบริโภคภาคเอกชนในช่วงที่ผ่านมากำลังจะหมดลง หลังจากที่มีการระบาดของ COVID-19 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจผ่านธนาคารพาณิชย์ในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการลดอัตราดอกเบี้ย การพักและเลื่อนการชำระหนี้ออกไป 3 -6 เดือน การเพิ่มระยะเวลาในการคืนหนี้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของหนี้และสถาบันการเงิน จำนวนลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ เดือนกรกฎาคม โดยรวมมีถึง 12.5 ล้านบัญชี รวมมูลค่า 7.2 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของหนี้ทั้งระบบ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศว่าหลังจากเดือนตุลาคมเป็นต้นไปจะไม่มีการต่อโครงการพักชำระหนี้แบบทั่วไปเช่นในปัจจุบันอีก เพื่อป้องกันปัญหาการเข้าร่วมโครงการทั้งที่อาจจะไม่ได้รับผลกระทบจริง (Moral Hazard) และป้องกันความเคยชินจากการไม่จ่ายหนี้ของลูกหนี้ ธนาคารแต่ละแห่งอาจจะต้องปรับโครงสร้างหนี้กับลูกค้าเป็นราย ๆ ไป ทำให้เรายังต้องจับตาดูว่าหลังจากนี้จะมีลูกหนี้สัดส่วนมากน้อยเพียงใดที่จะไม่สามารถกลับมาจ่ายหนี้ได้ และหนี้จำนวนมากแค่ไหนที่จะกลายเป็นหนี้เสีย (NPL)
สถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงจะทำให้ธนาคารไม่ปล่อยกู้เพิ่มเติม จะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่จะกดดันการบริโภคสินค้าคงทน เช่น บ้าน รถยนต์ รวมถึงการลงทุนที่ต้องพึ่งพาการกู้ยืมเงินจากธนาคาร
มาตรการเพิ่มเติมจากรัฐยังจำเป็นต่อเศรษฐกิจ
จากมุมมองต่อเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าที่ยังอ่อนแอและมีความไม่แน่นอนสูง ภาครัฐยังจำเป็นต้องมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยประคับประคองเศรษฐกิจให้เดินหน้าและรองรับแรงงานที่ตกงานจำนวนมหาศาล แม้ว่ารัฐบาลจะมีการออกชุดมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจมาแล้วในจำนวน 1 ล้านล้านบาท (6% ของ GDP) แต่การใช้จริงยังทำได้น้อยมาก ในจำนวน 6 แสนล้านบาทที่เป็นมาตรการเยียวยามีการใช้เงินไปเพียง 390,000 ล้านบาท ผ่านโครงการแจกเงิน 5,000 บาทให้กับชาวนาและแรงงานนอกระบบจำนวน 24 ล้านคน และที่เหลืออีก 4 แสนล้านบาทที่จะใช้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ก็มีเพียง 42,000 ล้านบาทที่ใช้ไปเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวในประเทศ
KKP Research ประเมินว่ารัฐยังมีความสารถในการทำนโยบายการคลังเพิ่มเติมหลังจากนี้ แม้ว่าจะมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับหนี้สาธารณะที่มีแนวโน้มจะแตะระดับ 60% ซึ่งเป็นเพดานตามกฎหมายในปัจจุบัน แต่จากต้นทุนในการกู้ยืมเงินของรัฐที่ต่ำลงมากเมื่อเทียบกับอดีต (อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี อยู่ที่ 1.5% เทียบกับ 3.5% ในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา) ทำให้ประเมินว่าประเด็นเรื่องความสามารถในการจ่ายหนี้และความมั่นคงทางการคลังจะไม่เป็นปัญหามากนักบนเงื่อนไข 3 ข้อ
(1) หนี้ที่กู้ยืมมาต้องถูกใช้ไปอย่างเหมาะสมเพื่อสร้างการเติบโตของ GDP ในอนาคต
(2) ตลาดยังมีความเชื่อมั่นในความมั่นคงทางการคลังและอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง
(3) รัฐมีการวางแผนในการลดการขาดดุลการคลังในอนาคตที่ชัดเจนเช่นการปฏิรูปภาครัฐเพื่อลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ภาครัฐในอนาคต “ภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูงเช่นนี้รัฐจำเป็นต้องเร่งออกมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติมและคิดถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อเตรียมเครื่องมือให้พร้อมหากสถานการณ์ไม่ได้เป็นไปตามคาด”
Source: การเงินธนาคารออนไลน์

คลิก


Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
--------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"