Reflation กับ เงินเฟ้อสหรัฐฯที่สูงขึ้น น่ากังวลแค่ไหน

ส่วนเศรษฐกิจต่างประเทศ ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รายงานวิเคราะห์ “Reflation กับ เงินเฟ้อสหรัฐฯที่สูงขึ้น น่ากังวลแค่ไหน” โดยระบุว่าในช่วงที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศเริ่มกลับมาขยายตัวตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ในปีก่อน โดยบางประเทศเริ่มเห็นตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งสูงเลยกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อและมากกว่าที่ตลาดและนักวิชาการคาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อในประเทศสหรัฐฯ (ภาพที่ 1) ซึ่งสร้างความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า บทวิเคราะห์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจถึงภาวะดังกล่าว รวมถึงแนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไป
ภาวะ Reflation เกิดจากอะไร?
ภายหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มทยอยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ (normalization) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นสูงขึ้น หรือที่เรียกกันว่า ภาวะ reflation1 โดยอัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัวสูงและร้อนแรงนี้ยังเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราวอื่น ๆ ได้แก่ ราคาสินค้าบางกลุ่มที่เร่งตัวขึ้นจาก pent-up demand หลังเริ่มทยอยเปิดเมือง ประกอบกับมาตรการเยียวยาของภาครัฐ อีกทั้งปัญหา supply disruption ที่ส่งผลให้ราคาสินค้าปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงผลของฐานที่ต่ำในปีก่อน อย่างไรก็ดี คาดว่าผลของปัจจัยชั่วคราวจะเริ่มคลี่คลายและอัตราเงินเฟ้อจะชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของ ปี 2021
ปัจจัยชั่วคราวที่ทำให้เงินเฟ้อขยายตัวแรงในหลายประเทศคือ?
1) Pent-up demand จากมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูในหลายประเทศ โดยเฉพาะมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการแจกเงิน ซึ่งภายหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ความต้องการใช้จ่ายของประชาชนที่ถูกอั้นไว้ปลดล็อค และผลักดันให้ราคาสินค้าและบริการปรับสูงขึ้น
2) Supply disruption ในสินค้าบางกลุ่มที่การผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ semiconductor ซึ่งอุปสงค์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้สินค้าและวัตถุดิบบางประเภทขาดแคลน และนำไปสู่การปรับเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบและสินค้า โดยปริมาณสินค้าที่ยังไม่สามารถผลิตได้ทันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวที่ไม่เท่าเทียมกันในกลุ่มประเทศ DM และ EM อันเป็นผลจากการกระจายวัคซีนที่แตกต่างกัน ประกอบกับปัญหาการขนส่งล่าช้าและการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์เป็นปัจจัยซ้ำเติมให้ปัญหาการขาดแคลนสินค้าอาจยืดเยื้อไปอีกระยะหนึ่ง (ภาพที่ 2)
ทำไมอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ2 ถึงขยายตัวแรงกว่าประเทศอื่นๆ?
จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มทยอยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและการแจกจ่ายวัคซีนที่ทั่วถึง ส่งผลให้ภาครัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมและภาคบริการสามารถกลับมาเปิดบริการได้ตามปกติ ประกอบกับภาครัฐมีการอัดฉีดผ่านมาตรการฟื้นฟูและเยียวยาขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง (“Build Back Better”) ส่งผลให้เงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัวสูงขึ้นเป็นการชั่วคราว (transitory inflation)
ทำไมเงินเฟ้อที่ขยายตัวสูงยังมองว่าไม่น่ากังวล ?
1) ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นเพียงสินค้าบางกลุ่ม: เงินเฟ้อทั่วไปที่ขยายตัวสูงในเดือน เม.ย. – พ.ค. 64 เป็นผลจากราคาสินค้า 2 กลุ่ม ที่ขยายตัวสูง (ภาพที่ 3) ได้แก่
กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการ (service) และกิจกรรมนอกบ้านที่ได้รับอานิสงส์จากการทยอยผ่อนปรนมาตรการควบคุมการระบาด อาทิ ราคาตั๋วเครื่องบินและรถเช่า
กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจาก supply shortage โดยเฉพาะ การขาดแคลน semiconductor ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ และส่งผลไปถึงตลาดรถยนต์มือสอง โดยดัชนีราคารถยนต์มือสองขยายตัว 20.9% (y-o-y) และ 29.7% (y-o-y) ในเดือน เม.ย. และ พ.ค. 64 ตามลำดับ
ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะสินค้าส่วนใหญ่โดยตัดกลุ่มสินค้าที่มีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดและน้อยสุดออกแล้ว (trimmed CPI) ภาพรวมเงินเฟ้อยังคงขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามการ normalization ของเศรษฐกิจ (ภาพที่ 4)
2) ผลจาก pent-up demand และปัญหา supply shortage ที่ส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น รวมถึงผลของฐานต่ำในปีก่อน จะทยอยหมดลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2021
ภายหลังการทยอยกลับสู่ภาวะปกติ (normalization) ราคาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการมีแนวโน้มชะลอลง รวมทั้งผลของ pent-up demand ที่จะลดลงเมื่อมาตรการเยียวยาหมดไป (stimulus checks เริ่มหมดลงในช่วงไตรมาสที่ 2 ปีนี้ และ unemployment benefits จะสิ้นสุดในเดือน ก.ย. 64) (ภาพที่ 5)
คาดว่าปัญหา supply shortage จะเริ่มคลี่คลาย เมื่อสามารถปรับปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศอื่น ๆ
นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นสูง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่ำในไตรมาสที่ 2 ปีก่อน ซึ่งสหรัฐฯ เจอการระบาดของ COVID-19 เป็นครั้งแรกและมีมาตรการปิดเมืองเพื่อจำกัดจำนวนผู้ติดเชื้อ (ภาพที่ 6)
3) Inflation expectation ยังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ในภาพรวม inflation expectation3 มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการ normalization ของเศรษฐกิจ โดยอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะยาวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในอดีต
นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะยาวยังคงต่ำกว่าระยะสั้น สะท้อนมุมมองตลาดว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับลดลงในระยะต่อไป (ภาพที่ 7) นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังคงมองว่าเงินเฟ้อที่สูงในปัจจุบันเป็นปัจจัยชั่วคราว และจะสามารถคุมให้เงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ย (Average Inflation Targeting) ซึ่งยอมให้อัตราเงินเฟ้อสามารถสูงกว่าค่าปกติได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และจะยังคงการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป โดยจากการสำรวจตลาดและกลุ่มนักวิชาการมองว่าการสื่อสารของ Fed ยังคงมีความน่าเชื่อถือ ชัดเจน และคงเส้นคงวา (ภาพที่ 😎
มีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะขยายตัวสูงต่อเนื่องและไม่สามารถควบคุมได้
แม้อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศกลับมาเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจะเป็นผลจากการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายหลังการแพร่ระบาดคลี่คลายในหลายประเทศและจากปัจจัยชั่วคราว แต่ยังคงมีปัจจัยที่อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง (accelerating and persistent inflation) และทำให้ไม่สามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ ประกอบด้วย
ระยะสั้น
โอกาสที่จะเกิด post-pandemic boom ภายหลังการแพร่ระบาดคลี่คลาย โดยเศรษฐกิจกลับสู่สภาวะปกติและมีการทยอยเปิดประเทศ ซึ่งมาพร้อม pent-up demand รอบใหม่ และส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วโลกปรับสูงขึ้น
โอกาสที่เม็ดเงินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อมากกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่มีการเร่งผลักดันมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจขนาดใหญ่ “Build Back Better” ซึ่งจะส่งผลให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้นในช่วง 8-10 ปีข้างหน้า และอาจส่งผลกระทบไปยังประเทศอื่น ๆ มากกว่าที่คาดไว้ (spillover)
ปัญหาด้าน supply จากปัญหา disruption ที่มีโอกาสยืดเยื้อและรุนแรงกว่าคาด หากมีการแพร่ระบาดระลอกใหม่โดยเฉพาะ ในกลุ่มประเทศส่งออกในเอเชีย ส่งผลกระทบต่อราคาวัตถุดิบ โดยเฉพาะ semiconductor และทำให้ราคาสินค้าที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยการผลิตสินค้ากลุ่มดังกล่าวยังคงกระจุกตัวอยู่บางประเทศ รวมถึงปัญหาด้านการขนส่งที่ล่าช้า อาจส่งผลให้การขาดแคลนยืดเยื้อออกไปอีก
ความเสี่ยงของธนาคารกลางในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ โดยเฉพาะ Fed ที่ปรับเป้าหมายเงินเฟ้อเป็นเงินเฟ้อเฉลี่ยแบบยืดหยุ่น ซึ่งสร้างความไม่แน่นอนจากการไม่ระบุกรอบค่าเฉลี่ยที่ชัดเจน อาจส่งผลต่อ credibility ของธนาคารกลาง และอาจซ้ำรอยเหตุการณ์ในช่วง 1970s ที่ไม่สามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ รวมทั้งการทำ Quantitative Easing (QE) ที่บางส่วนทำการเข้าซื้อ mortgage backed securities (MBS) ซึ่งเสมือนเป็นการสนับสนุนให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้น
ระยะกลาง – ยาว
ความเสี่ยงของปัญหาระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่อาจลามไปสู่การเกิด decoupling หรือการแยกขั้วอำนาจโลกที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในมิติของการแยกห่วงโซ่การผลิตของโลก ตั้งแต่การขึ้นภาษีภายใต้สงครามการค้า ไปจนถึงการกีดกันไม่ให้ภาคธุรกิจของจีนเข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าปรับสูงขึ้น และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้ เริ่มเห็นสัญญาณการแบ่งแยกที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากตัวแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ Build Back Better ของสหรัฐฯ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับจีนได้ในอนาคต โดยเฉพาะการสนับสนุนการทำ R&D ของ high-tech industries ในประเทศสหรัฐฯ และการร่วมมือกับประเทศพันธมิตรเพื่อสร้างห่วงโซ่การผลิตที่ไม่มีจีนร่วมอยู่ด้วย ขณะที่จีนเองก็ปรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจเป็น dual-circulation ที่เน้นพึ่งพาตนเองมากขึ้น (self-reliant) เช่นกัน
รายงานโดย วชรวิช รามอินทรา ส่วนเศรษฐกิจต่างประเทศ ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ
1. ภาวะ reflation คือภาวะที่อัตราเงินเฟ้อกลับมาปรับสูงขึ้น ซึ่งมักเกิดในช่วงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ (economic recovery) ที่ประเทศมีการใช้นโยบายการเงินหรือนโยบายการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้พ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย (recession) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เงินเฟ้อลดลงต่ำหรืออาจติดลบ
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ มี 2 ตัวที่สำคัญคือ (1) personal consumption expenditures (PCE) ที่สำรวจจากยอดค้าปลีกภาคธุรกิจ และ (2) consumer price index (CPI) ที่สำรวจจากผู้บริโภค โดยสินค้าในตะกร้า PCE มีความหลากหลายและมีการกระจายน้ำหนักมากกว่าสินค้าในตะกร้า CPI รวมถึง PCE มีการปรับน้ำหนักเป็นประจำ เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการใช้จ่ายของครัวเรือนที่เปลี่ยนแปลง (เป็นประเด็นที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะ core PCE) โดยความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลให้ตัว CPI มีความผันผวนมากกว่า PCE แต่โดยรวมมีทิศทางที่สอดคล้องไปด้วยกัน
3. อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ (Inflation expectation) คือ อัตราเงินเฟ้อในอนาคตที่ครัวเรือนคาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งมีความสำคัญกับแนวโน้มเงินเฟ้อในอนาคต
Source: ThaiPublica

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman

Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"