เมื่อสหรัฐทอดทิ้งเบี้ยอัฟกานิสถาน เพื่อวางหมากอาเซียนรุกจีน

การเดินทางมายังอาเซียนแบบรัวๆ ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐมีนัยอะไรหรือไม่ และอาเซียนจะมุ่งไปทางไหน? มี 2 เรื่องที่ไม่น่าจะเกี่ยวกันแต่ก็เกี่ยวกัน 1. สหรัฐถอนกำลังทหารออกจากอัฟกานิสถาน 2. สหรัฐเริ่มหันมาจีบอาเซียนอีกครั้ง

เรื่องแรกอย่างที่รู้กันว่าสหรัฐและพันธมิตรถอนกำลงเกือบจะเหี้ยนออกจากอัฟกานิสถาน สบโอกาสที่พวกตอลิบานรุกคืบยึดพื้นที่ไปได้มาก แม้สหรัฐจะเหลือทหารเอาไว้ช่วยยันเล็กน้อยแต่มันไม่น่าจะช่วยอะไรได้มากนัก ตอลิบานเปืดฉากรุกเมืองใหญ่ททั่วประเทศ
ประธานาธิบดีอัชราฟ ฆานีกล่าวโทษสถานการณ์ความมั่นคงที่เสื่อมถอยอย่างรวดเร็วของอัฟกานิสถาน ว่าเป็นการตัดสินใจที่ “กะทันหัน” ของสหรัฐที่จะถอนทหารออกไป แต่ก็ยังกัดฟันบอกว่ารัฐบาลของเขามีแผนที่ทีจะคุมสถนการณ์ให้ได้ภายใน 6 เดือน
เรื่องของอัฟกานิสถานเหมือนจะไกลตัว แต่จริงแล้วถ้ามองเกมแบบทั้งกระดานจะรู้ว่ามันใกล้ตัวเราเอามากๆ เพียงแค่อัฟกานิสถานเป็นหมากไกลตาแต่หากเดินผิดจะกระทบมายังเอเชียทั้งยวง
นี่เองที่ทำให้มันเกี่ยวกับข้อที่ 2 คือ สหรัฐเริ่มหันมาจีบอาเซียนอีกครั้งและลดความสำคัญของอัฟกานิสถานแบบไม่แยแสเอาเลย
อัฟกสนิสถานหมดความสำคัญสำหรับสหรัฐแล้ว เพราะโอซามา บิน ลาเดนก็ตายไปตั้งสิบกว่าปีแล้ว ทั้งอัลกออิดะฮ์และกลุ่มรัฐอิสลามก๋อ่อนแอลงมากทั้งยังไปเคลื่อนไหวที่แถบซาเฮลมากกว่า ไม่มีเหตุผลอะไรอีกที่สหรัฐจะรั้งตัวเองไว้ที่นี่ แม้พวกตอลิบานจะกุมอำนาจอีกครั้ง แต่ก็ไม่ใช่ภัยร้านยแรงเฉพาะหน้าอีก และยิ่งไม่ใช่เรื่องของสหรัฐอีกต่อไป
หากมองเป็นกระดานหมากรุก ตอนนี้สหรัฐยังทิ้งหมากอัฟกานิสถานให้จีนละล้าละลัง จีนแสดงท่าทีชัดเจนโดยเรียกร้องให้ตอลิบานตัดขาดความสัมพันธ์กับ "กลุ่มก่อการร้าย" ทั้งหมด ซึ่งหมายถึงขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ซินเจียง (แม้ว่าจีนจะหารือกับตอลิบานบ่อยครั้ง แต่กลุ่มนี้ก็ยังไม่น่าไว้ใจสำหรับจีนที่กังวลเรื่องอิทธิพลของกลุ่มหัวรุนแรงที่ซินเจียง) ในเวลานี้สหรัฐหันไปเดินหมากที่รุกฆาตกับจีนได้ง่ายกว่า นั่นคืออาเซียน
ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชเปิดฉากสงครามต่อต้านการก่อการร้าย สงครามอัฟกานิสถาน และสงครามอิรัก พลังทั้งหมดของสหรัฐถูกโยกไปยังพื้นที่เหล่านี้ สหรัฐไม่ได้มองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ แม้จีนเริ่มปีกกล้าขาแข็งสหรัฐก็ยังไม่เพ่งเล็งแบบเอาเป็นเอาตาย จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ สหรัฐถึงเริ่มเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่
อาเซียนนั้นถูกสหรัฐมองข้ามไปหลายปี เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐไม่ได้เข้าร่วมการประชุมของอาเซียนเสมอไป และบางครั้งก็ส่งเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของภูมิภาคนี้ด้วย
ถึงขนาดขาดการประชุมสำคัญๆ รวมถึงการหารือยุทธศาสตร์ไทย–สหรัฐอเมริกาก็ยังทิ้งช่วงไปหลายปี
จนกระทั่งไบเดนเข้ามา การหารือยุทธศาสตร์ไทย–สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 7 ก็เกิดขึ้นอีกครั้ง (เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564) แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐก็ยังรีบเร่งหารือกับอาเซียนในเวลาไล่เลี่ยกันคือวันที่ 25 พฤษภาคม นับป็นฉากใหม่ของการประบยุทธศาสตร์สหรัฐที่หันเข้าอาเซียน
แต่การประชุมอนไลน์ระหว่างบลิงเคนครั้งแรกในตอนนั้นเปิดฉากไม่สวยนัก เพราะประชุมผ่านระบบออนไลน์โดยที่บลิงเคนรีบเดินทางยังเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอลเพื่อไกล่เกลี่ยเรื่องความรุนแรงระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์
ปรากฏว่าสัญญาณการประชุมขาดหาย ฝ่ายผู้แทนของอาเซียนประเทศต่างๆ ต้องรอนานถึง 45 นาที จนบางคนหัวเสีย นั่นคือ เร็ตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ที่ไม่พอใจมากจนไม่ยอมเปิดวิดีโอฟีดระหว่างการประชุม
ความขัดข้องนั้นทำให้เกิดคำถามว่าสหรัฐจริงจังกับอาเซียนแค่ไหนหรือเห็นเป็นแค่เบี้ยหมากตัวเล็กๆ ในเกมการเมืองโลก? แม้เจ้าหน้าที่สหรัฐจะยืนยันว่าไม่ได้ตั้งใจเมินอาเซียน แต่สิ่งทีเกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าอาเซียนเป็นแค่ตัวสำรอง เพราะบลิงเคนหารือในเวลาว่างระหวางไปทำงานที่ใหญ่กว่าที่ตะวันออกกลาง และยังไม่เตรียมระบบให้เรียบร้อยเหมือนกับว่าถ้ามระบบล่มก็ได้หนักหนาสาหัสอะไร
ถึงสหรัฐจะไม่ได้ตั้งใจแต่เปิดตัวกันแบบนี้ยิ่งทำให้อาเซียนคิดว่าสหรัฐคบไม่ได้
และบางประเทศยิ่งอาจเชื่อว่าสหรัฐต้องการอาเซียนเพื่อคานอำนาจจีน มากกว่าอาเซียนต้องการสหรัฐมาคานอำนาจจีน ดังนั้นหากสหรัฐต้องการอาเซียนจริงๆ ต้องแสดงออกอย่างจริงใจกว่านี้
สหรัฐเริ่มแก้ตัวด้วยการรีบส่งวัคซีน mRNA มาให้หลายประเทศในอาเวียนรวมถึงไทย และในสัปดาห์นี้ แอนโทนีบลิงเคนจะแก้ตัวอีกครั้ง ด้วยการนั่งประชุมออนไลน์กับประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง คือไทย เมียนมา ลาว กัมพูชา เวียดนาม เพื่อที่จะย้ำว่าภูมิภาคนี้มีความสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับสหรัฐ
นี่เป็นการเปลี่ยนท่าทีที่สำคัญมาก อย่างแรก มันเป็นการแก้ตัวสำหรับบลิงเคนหลังจากหักหน้าอาเซียนไป คราวนี้เขาเริ่มต้นแก้ไขกับกลุ่มที่สหรัฐคุ้นเคยมากกว่าก่อน นั่นคือภูมิภาคเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นแผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ซึ่งสหรัฐเข้ามาพัวพันด้วยมากที่สุดในยุคสงครามเย็น
ตอนนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นยุคสงครามเย็นใหม่แล้ว และสหรัฐยิ่งต้องการแผ่นดินใหญ่อาเซียนเหมือนเมื่อ 40 - 50 ปีที่แล้วอีกครั้ง เป้าหมายคือใช้พื้นที่นี่ "ทะลวงฟันจีน"
นึ่งในหัวใจของการรุกคืบคือ "แม่น้ำโขง" ซึ่งเป็นประเด็นบาดหมางระหว่างประเทศท้ายน้ำกับประเทศต้นน้ำ (จีน) มาโดยตลอด แต่กว่าที่สหรัฐจะมองเห็นรอยแผลของจีนในจุดนี้ก็เมื่อปีที่แล้ว โดยจัดตั้งหน่วยงานสังเกตการณ์เขื่อนแม่น้ำโขงเพื่อช่วยประเทศท้ายน้ำรับทราบว่าจีนกำลังทำอะไรกับต้นน้ำ
เป็นการแทรกตัวเข้ามาระหว่างความบาดหมางเพื่อใช้ประโยชน์นั่นเอง คล้ายๆ กับที่สหรัฐแข็งกร้าวกับจีนในกรณีพิพาททะเลจีนใต้โดยแทรกเข้ามาระหว่างความขัดแย้งของภูมิภาคเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรที่แย่งชิงน่านน้ำและเกาะต่างๆ กับจีน
ดูเหมือนว่าสหรัฐกำลังใช้ "น้ำ" คือน้ำโขงและน้ำทะเลจีนใต้เพื่อสยบ "มังกรไฟ" อย่างจีนซะแล้ว
สหรัฐจึงรุกคืบเข้าอาเซียนทุกทาง แม้ว่าบลิงเคนจะเพิ่มกลับมาแก้ตัวในสัปดาห์นี้ แต่ที่จริงแล้ว มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐที่ไม่พลาดอย่างบลิงเคน แวะเข้ามาอาเซียนอย่างต่อเนื่องจนผิดปกติมากๆ หากจะพิจารณาว่าก่อนหน้านี้สหรัฐไม่ได้แยแสอาเซียนขนาดนี้เลย
เริ่มจากเวนดี เชอร์แมน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเยือนอินโดนีเซีย กัมพูชา และไทยในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ไปเวียดนามและฟิลิปปินส์ในสัปดาห์นี้ และรองประธานาธิบดี กมาลา แฮร์ริส จะไปเยือนสิงคโปร์และเวียดนาม
ที่น่าสนใจคือระดับวีไอพีเหล่านี้มาเยือนด้วยตัวเอง แม้แต่กมลา แฮร์ริสก็ยังมาด้วยตัวเอง แต่กรณีของบลิงเคนยังเป็นการประชุมออนไลน์ เราจะเป็นได้ว่าน้ำหนักไปอยู่ที่ประเทศอาเศียนแถบภาคพื้นที่สมุทร ส่วนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่แม้จะสำคัญและมีช่องโหว่ของจีนที่แม่น้ำโขง แต่จุดนั้นเป็นแค่จุดอ่อนไม่ใช่จุดตายเหมือนภาคพื้นที่สมุทรที่ทะเลาะกันที่น่านน้ำทะเลจีนใต้
โปรดสังเกตว่าเวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางที่วีไอพีจากรัฐบาลสหรัฐไปเยือนบ่อยเป็นพิเศษ เพราะแข็งกร้าวกับจีนเป็นพิเศษ แต่ในระยะหลังรัฐบาลเวียดนามเริ่มคุยกับจีนดีขึ้นและร่วมมือกันมากขึ้น ไม่แน่ว่าสหรัฐอาจต้องเร่งแยกเวียดนามออกจากจีนก่อนที่จะหันมาญาติดีกัน
นี่เอง กมลา แฮร์ริสถึงต้องมาทัวร์เวียดนามด้วยตัวเองและยังสร้างประวัติศาสตร์เป็นรองประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐที่มาเยือนเวียดนาม
ถามว่าสิงคโปร์สำคัญอย่างไร? สหรัฐต้องการใช้สิงคโปร์เป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกในภูมิภาคเพื่อที่จะต่อกรกับจีน แต่ความปรารถนานี้ไม่ง่ายเลย แม้ว่าสิงคโปร์จะสนิทแนบแน่นกับสหรัฐในด้านการทหาร (คล้ายๆ กับไทย) แต่ตอนนี้สิงคโปร์ยังต้องถ่วงดุลอยางละเอียดถี่ถ้วนระหว่างสหรัฐกับจีน (คล้ายกับไทยอีกเช่นกัน)
สิงคโปร์มีข้อตกลงกับสหรัฐตั้งแต่ปี 1990 ซึ่งอนุญาตให้สหรัฐใช้โครงสร้างทางการทหารของสิงคโปร์ได้และสัญญานี้เพิ่งต่ออายุไปเมื่อปี 2019
มีรายงานจาก Today สื่อของสิงคโปร์ว่าภายใต้ข้อตกลงนี้ สหรัฐสามารถใช้ฐานทัพเซมบาวังเพื่อให้การสนับสนุนด้านลอจิสติกส์สำหรับการขนส่งเครื่องบินและเรือของกองทัพสหรัฐ มีการเพิ่ม
บทบัญญัติอื่นในข้อตกลงในปี 1998 ซึ่งอนุญาตให้เรือทหารสหรัฐมาเทียบท่าที่ฐานทัพเรือชางงีได้ด้วย
ทำไมสิงคโปร์ที่พยายามถ่วงดุลระหว่างสหรัฐกับจีนถึงยอมให้สหรัฐใช้ฐานทัพได้? คำตอบอยู่ที่การถ่วงดุลนั่นเอง ดร.โมฮัมหมัด มาลิกิ ออสมัน รัฐมนตรีอาวุโสกระทรวงการต่างประเทศของสิงคโปร์ผู้ต่อสัญญาด้านการทหารกับสหรัฐบอกเองว่าสหรัฐคือกำลังหลังในการสร้างดุลยภาพในภูมิภาค
นี่เป็นสิ่งที่อาเซียนหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าจะพยายามอยู่อย่างสงบๆ แต่พราะพัวพันกับความขัดแย้งเรื่อง "น้ำ" ในจุดต่างๆ ทำให้ต้องยืมดาบของมหาอำนาจอื่นเข้ามาช่วยคานจีน ขระเดียวกันโพยายมฒโอ้โลมจีนในเรื่องการค้ากับความช่วยเหลือต่างๆ ซึ่งจีนก็ยังพอใจในจุดนี้
แต่มันเป็นเกมที่อันตรายในระยะยาวที่หากพลาดพลั้งไปอาจเจ็บตัวเอาง่ายๆ ซึ่งสิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์กำลังเล่นเกมนี้อยู่ โดยที่มาเลเซียยังสงวนท่าทีอย่างระแวดระวังที่สุด
ที่น่าสนใจก็คือการเยือนสิงคโปร์ของกมลา แฮร์ริสครั้งนี้เยือนสิงคโปร์ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีลีเซียนลุงด้วยซ้ำ จะพบปะกับผู้นำสิงคโปร์และหารือถึงวิธีการกระชับความร่วมมือทวิภาคีในหลายด้าน รวมถึงการป้องกัน/ความมั่นคง ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ และการค้าดิจิทัล
แม้สิงคโปร์จะเล่มเกมอันตรายเหมือนเพื่อนบ้านและถึงกับเชิญแฮร์ริสมา แต่มันไม่ใช่การเลือกข้าง สิงคโปร์พยายามเป็นกลางอย่างที่สุด สิ่งที่ดูหมือนจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งแท้จริงก็คือการถ่วงดุลอย่างรอบคอบเท่านั้นและครั้งนี้ก็เช่นกันสิงคโปร์จะไม่ยอมเลือกฝักฝ่ายอย่างชัดเจน
อาเซียนรวมถึงไทยก็ควรทำแบบเดียวกัน
โดย กรกิจ ดิษฐาน
Source: Posttoday

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"