“ผู้ว่า ธปท.” Meet the Press เล่า 4 อาการเศรษฐกิจไทย กับมาตรการ “ยาต้องแรง”

วันที่ 16 สิงหาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้จัดงาน Meet the Press โดยดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่านระบบออนไลน์ และมีนายศรัณยกร อังคณากร รองผู้อำนวยการ ฝ่ายตลาดการเงิน ธปท.ทำหน้าที่พิธีกรและซักถาม

ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าวว่า “ต้องยอมรับว่าเรายังอยู่ช่วงที่ประเทศและเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญปัญหาหนักหน่วง สาธารณชนต้องการความเชื่อมั่นและข้อเท็จจริงในการตัดสินใจดำเนินชีวิตและธุรกิจ”
“เรื่องที่อยากจะเล่าภาพรวมของ “อาการ” ที่เศรษฐกิจไทยที่กำลังเจอ เพื่อที่จะประเมินว่าอาการเป็นอย่างนี้ แล้วจะแก้ไขปัญหา หาทางออกให้ได้ให้ตรงตาม “อาการ” มีอะไรบ้าง ให้สื่อมวลชนทุกท่านได้ช่วยกันสื่อสารต่อไปยังสาธารณชนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ เข้าใจ และช่วยกันเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาวิกฤติครั้งนี้”
“การพูดในภาพรวมอาจจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นด้วย แต่ก็จะพูดถึงบาทบาทของธปท.ทั้งเรื่องที่ทำมาแล้ว ผลเป็นอย่างไรและแนวทางในอนาคต เปรียบเหมือนการรักษาโรคต้องรักษาแบบองค์รวม การใช้หมอเฉพาะทางอย่างเดียวไม่ได้ เพื่อให้คนไข้รอด ไม่ใช่ว่าธปท.จะไม่ทำ ต้องทำ”
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า ขอแบ่งการพูดคุยในวันนี้ออกเป็น 3 ส่วน (1) ภาพเศรษฐกิจไทยจากผลกระทบของโควิด 19 และมุมมองไปข้างหน้า (2) สิ่งที่เศรษฐกิจไทยต้องการเพื่อช่วยแก้ปัญหาเพื่อให้เรากลับสู่ภาวะปกติได้เร็วที่สุด และ (3) การประเมินผลมาตรการ ธปท. และแนวทางการปรับมาตรการเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการตามสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้น
เศรษฐกิจเจอ 2 หลุ่มใหญ่ต้องใช้ยาแรง
นายศรัณยกรได้เริ่มคำถามแรก ภาพรวมเศรษฐกิจเพราะสถานการณ์การระบาดของโควิดค่อนข้างรุนแรงและมีความไม่แน่นอนสูงขึ้น และยังมีการประมาณการว่าจะมีผู้ติดเชื้อ 60,000-70,000 รายต่อวัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากขึ้น ในมุมมองของผู้ว่าการ ธปท.ว่า เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการคาดการณ์เดิมอย่างไร มีอาการและผลกระทบมากขึ้นขนาดไหน
ดร.เศรษฐพุฒิ: การจะประเมินว่าจะต้องทำอะไรก็ต้องเริ่มด้วยการวิเคราะห์อาการให้ชัดเจน ในภาพรวมเศรษฐกิจ มี 4 อาการที่ชัดเจน
อาการแรก คือ โควิด 19 สร้าง “หลุมรายได้” ขนาดใหญ่ในระบบเศรษฐกิจไทย รายได้ที่หายไปอย่างมากมาย โดยในช่วงปี 2563-2564 คาดว่ารายได้ของครัวเรือนหรือจากการจ้างงานจะหายไปถึง 1.8 ล้านล้านบาท จากนายจ้างและอาชีพอิสระ 1.1 ล้านล้านบาท และลูกจ้าง 7.0 แสนล้านบาท มองไปข้างหน้า การจ้างงานคงฟื้นตัวไม่เร็วและรายได้จากการจ้างงานในปี 2565 คาดว่าจะหายไปอีกราว 8.0 แสนล้านบาท ซึ่งหมายถึงในปี 2563-2565 “หลุมรายได้” อาจมีขนาดถึง 2.6 ล้านล้านบาท
“เมื่อเทียบกับตัวเลข จีดีพีถือว่าเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ ซึ่งสื่อถึงขนาดของหลุมและขนาดของปัญหา เมื่อกลับมาที่มาตรการที่จำเป็น อาการหนัก ยาก็ต้องแรง”
อาการที่สอง โยงไปที่รายได้ เพราะการจ้างงานถูกกระทบรุนแรง โดยเฉพาะกิจการในภาคบริการและกิจการที่มีสายป่านสั้น โดยข้อมูลการจ้างงานในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ สะท้อนความเปราะบางสูง ได้แก่
(1) ผู้ว่างงาน/เสมือนว่างงาน (ผู้มีงานทำไม่ถึง 4 ชม ต่อวัน) อยู่ที่ 3.0 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนโควิดประมาณ 1 ล้านคนและคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3.4 ล้านคน ณ สิ้นปี 2564 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าช่วงก่อนโควิดกว่า 1 ล้านคน
นอกจากลักษณะการว่างงานก็น่ากังวล จาก(2) ผู้ว่างงานระยะยาว (เกิน 1 ปี) มีจำนวน 1.7 แสนคน เพิ่มขึ้นกว่าช่วงก่อนโควิดถึงกว่า 3 เท่าตัว ผลที่ตามมาหลากหลายหลายคนออกจากระบบแรงงานไปเลย
(3) ตัวเลขผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนหรือกลุ่มเด็กจบใหม่หางานไม่ได้อยู่ที่ 2.9 แสนคน เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนโควิดถึง 8.5 หมื่นคน และ
(4) เป็นตัวเลขที่ไม่ได้สะท้อนมาในข้อมูลการว่างงานแต่สะท้อนในรายได้ที่หายไปก็คือ แรงงานย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาที่เพิ่มขึ้นจากภาคบริการ/อุตสาหกรรมในเมือง กลับไปยังภาคเกษตรที่มีผลิตภาพต่ำกว่า ล่าสุดอยู่ที่ 1.6 ล้านคน สูงกว่าค่าเฉลี่ยต่อปีในช่วงก่อนโควิดที่ 5 แสนคนมาก
“ตัวเลขนี้สะท้อนสภาพรายได้กับการจ้างงาน เป็นอาการของเศรษฐกิจรอบนี้ ไม่ใช่เฉพาะในจีดีพี แต่สะท้อนถึงมาตรการที่จะต้องทำในการแก้ไขปัญหาต่างๆ”
อาการที่สาม การฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ไม่เท่าเทียม เหลื่อมล้ำสูง(K-shaped) แม้จะมีภาคการผลิตเพื่อส่งออกที่ฟื้นตัวเกินระดับก่อนโควิดแล้วถึงเกือบ 20% จากเศรษฐกิจคู่ค้าที่สถานการณ์เบากว่าไทย ภาคบริการการท่องเที่ยวยังไม่ดีขึ้น แต่ภาคการผลิตเพื่อการส่งออกนี้ จ้างงานเพียง 8% ทำให้ผู้ได้ประโยชน์มีน้อย เทียบกับแรงงานในภาคบริการที่มีสูงถึง 52% ที่ส่วนใหญ่ยังเดือดร้อน โดยรวมจึงยังทำให้ความเป็นอยู่ของครัวเรือนยังเปราะบาง
อาการที่สี่ ไทยถูกกระทบจากโควิด 19 หนักกว่าและจะฟื้นช้ากว่าประเทศในภูมิภาค เนี่องจากไทยพึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงสุดในเอเชีย คือ 11.5% ของ GDP ทำให้ทั้งปี 2563 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยหดตัวถึง 6.1% เทียบกับ 4.9% ที่เป็นค่าเฉลี่ยของประเทศในเอเชีย ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะใช้เวลา 3 ปี จากช่วงเริ่มระบาดในการกลับสู่ระดับก่อนโควิด ขณะที่เอเชียโดยรวมใช้เวลาไม่ถึง 2 ปี โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ GDP ของไทยยังอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนโควิด 4.6% ขณะที่เอเชียโดยรวมฟื้นเหนือระดับก่อนโควิดแล้ว
“ทั้งหมดสื่อถึงการฟื้นตัวช้า ยาว ใช้เวลานาน และใช้เวลานานกว่าเพื่อนบ้าน เพราะไทยได้รับผลกระทบจากโควิดมากกว่าเพื่อนบ้าน เนื่องจากไทยอิงกับท่องเที่ยวถึง 11-12% ของ GDP ส่วนประเทศอื่นที่แม้พึ่งการท่องเที่ยวมาก ก็ยังมีสัดส่วนน้อยกว่า เช่น สิงคโปร์มีสัดส่วน 6% ของ GDP ประเทศที่เหลือสัดส่วนที่น้อยกว่า ไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวเทียบกับ GDP แล้วสูงกว่าประเทศอื่น 2-3 เท่า ภาคการท่องเที่ยวฟื้นช้ากว่าภาคอื่นๆเพราะเกี่ยวข้องกับโรคและมาตรการควบคุมโควิด”
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)หมายเหตุ:ภาพถ่ายเดือนตุลาคม2563
ทำไมสถานการณ์รุนแรงกว่าที่คาดไว้ อะไรคือสิ่งที่เปลี่ยนไปจากเดิม
ดร.เศรษฐพุฒิ:ก็ต้องยอมรับว่าสถานการณ์หนักกว่าที่คาด และหลักๆมาจากเรื่องของโควิด ที่ผ่านมา ไทยคุมการระบาดได้ดี ทั้งในระลอกแรกที่ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2563 สามารถกลับมายังจุดที่ไม่มีผู้ติดเชื้อได้ และระลอกสอง ที่ ณ สิ้นไตรมาสแรกของปีนี้ มีผู้ติดเชื้อสะสมเพียงราว 29,000 ราย ทำให้ ธปท. มองว่าเศรษฐกิจในปีนี้น่าจะทยอยฟื้นตัวได้ รวมถึงการท่องเที่ยว โดยมองการเติบโตของเศรษฐกิจที่ 3.0%
การเปลี่ยนแปลง (เหตุ) สำคัญ คือ ไวรัสที่กลายพันธุ์ และพัฒนาเป็นสายพันธุที่กระจายง่ายขึ้น วัคซีนได้ผลน้อยลงจน เกิดการระบาดระลอกสาม ณ ช่วงปลายเดือนมิถุนายน มีผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มขึ้นเป็นราว 2.6 แสนคน ยอดติดเชื้อรายวันที่ 4-5 พันคน ธปท. ได้ปรับลดประมาณการลงเหลือ 1.8% และล่าสุด สถานการณ์ผู้ติดเชื้อสะสมเกิน 9 แสนคน มียอดผู้ป่วยรายวันเกิน 20,000 คน ระบบสาธารณสุขมีข้อจำกัดมากขึ้น ทำให้มาตรการคุมการระบาดต้องเข้มงวดขึ้น ธปท. จึงต้องปรับประมาณการปีนี้ลง โดยมีสมมติฐานสำคัญว่าจะทยอยลดมาตรการ lockdown ลงในไตรมาสที่ 4 ซึ่งจะทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ เติบโตที่ 0.7% ดังนั้น ผลที่เปลี่ยนไปจากที่คาด คือ เศรษฐกิจไทยถูกกระทบรุนแรงขึ้น
“เห็นได้ชัดว่าการปรับประมาณการมาจากการโควิด และสะท้อนถึงหนึ่งสถานการณ์หนักกว่าที่คาดและสองการฟื้นตัวที่ล่าช้า”
ขณะเดียวกัน การระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลต้าส่งผลต่อประเทศอื่น ๆ ด้วย เพราะประสิทธิผลของวัคซีนต่อสายพันธุ์นี้ลดลง การเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ต่อไวรัสตัวนี้จึงยากขึ้น การผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ของแต่ละประเทศจึงทำอย่างระมัดระวัง ซึ่งมีนัยต่อภาคการท่องเที่ยว โดยคาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาเท่าระดับก่อนโควิดได้หลังปี 2567 ไปแล้ว อีกผลลัพธ์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม คือ เศรษฐกิจไทยข้างหน้าจึงฟื้นตัวช้าออกไป เพราะภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นเครื่องยนต์สำคัญของไทยคงไม่กลับมาปกติโดยเร็ว
การ lockdown รอบนี้ยิ่งซ้ำเติมธุรกิจและครัวเรือน ส่งผลให้ฐานะการเงินมีความเปราะบางสูงขึ้น เพราะเงินออมลดลงทุกครั้งที่การระบาดกลับมา สายป่านของครัวเรือนสั้นลงเรื่อย ๆ สะท้อนจากตัวเลขเงินฝากในบัญชีที่มียอดต่ำกว่า 50,000 บาท ที่ล่าสุด ในเดือนพฤษภาคม 2564 ปรับลดลงเทียบกับปีก่อนเป็นครั้งแรก โดยหดตัวที่ 1.6% ขณะที่เงินฝากในบัญชียอดสูงกว่า 1 ล้านบาทยังขยายตัวได้ที่ 6.0% ใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด ขณะที่หนี้สินก็มีสัญญาณเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อชดเชยสภาพคล่องที่หายไป
ถ้าเห็นว่าสถานการณ์จะแย่ลงทั้งหลุมรายได้ที่ลึกขึ้นและกว้างขึ้น การฟื้นตัวที่เป็น K-shaped ประเทศไทยก็จะฟื้นตัวช้ากว่าเดิม แล้วแนวทางในการแก้ไขที่ประเทศไทยจำเป็นต้องมี ที่จะตอบโจทย์เพื่อให้ประคับประคองเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้มีอะไรบ้าง
ดร.เศรษฐพุฒิ: เราเริ่มด้วยอาการที่เห็นว่าอาการหนัก ที่มาของอาการและผลข้างเคียงว่าเกิดจากอะไร ก็กลับมาที่แนวทางที่เหมาะสมกับอาการ “อาการที่หนัก ยาก็ต้องแรง” และต้องแก้ให้ถูกจุด
“ผมขอพูดในภาพรวมให้เห็นและอาจจะมีการเอ่ยถึงงานของคนอื่นด้วยเพื่อที่จะให้บริบทว่า ของเรา ธปท. คือเรื่องการเงินอยู่ตรงไหนในภาพรวมการแก้ไขปัญหา”
ปัญหาของวิกฤติครั้งนี้มาจาก 3 ด้าน คือ คือ (1) ปัญหาด้านสาธารณสุขที่เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤต (2) ปัญหาด้านรายได้ ที่เป็นปัญหาหลักและจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างหากไม่ได้รับการเยียวยาที่ทันการณ์ และ (3) ปัญหาภาระหนี้ ซึ่งเป็นผลพวงของรายได้ที่หายไป ซึ่งในการแก้ไขทั้ง 3 ปัญหา “หัวใจ” คือ “การแก้ไขตามอาการ”
ด้านแรกที่เห็นชัด (1) ปัญหาด้านสาธารณสุขที่เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติ โควิดเป็นวิกฤติที่เริ่มต้นจากระบบสาธารณสุข การแก้ปัญหา “ตามอาการ” จึงต้องอาศัยเครื่องมือด้านสาธารณสุข ที่สำคัญ คือ วัคซีน และมาตรการควบคุมการระบาด
วัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เป็นเครื่องมือหลักที่จะทำให้การระบาดหยุดลงยั่งยืน ระหว่างนี้ ประชาชนจึงควรต้องได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างเพียงพอและการกระจายฉีดอย่างเหมาะสม เพื่อลดอัตราการตายและติดเชื้อ และให้กำลังการตรวจหาโรคมีเพียงพอ ซึ่งจะช่วยลดความกังวลและช่วยให้บริหารจัดการการระบาดได้ ดีขึ้น ลดโอกาสการ lockdown หรือจำกัดกิจกรรมเศรษฐกิจ รายได้จึงจะกลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2564 ไทยมีสัดส่วนประชากรที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มเพียง 7% ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประเทศใน ASEAN 5 (สิงคโปร์ 70% มาเลเซีย 31% ฟิลิปปินส์ 11% อินโดนีเซีย 10%) ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหราชอาณาจักร สเปน อิตาลี มีสัดส่วนประชากรที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มมากกว่า 50% และประชากรกว่า 2 ใน 3 ได้ฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม ดังนั้น การได้รับภูมิคุ้มกันหมู่และการฟื้นตัวของไทยที่พึ่งพาการท่องเที่ยวค่อนข้างสูง จะช้ากว่าอีกหลายประเทศโดยเปรียบเทียบ
ในระหว่างที่สังคมไทยยังไม่ได้รับวัคซีนมากพอ เราจำเป็นต้องใช้มาตรการด้านสาธารณสุขต่าง ๆ คุมการระบาด เพื่อไม่ให้สถานการณ์ลุกลามรุนแรงขึ้น ซึ่งมาตรการเหล่านี้มีต้นทุนด้านเศรษฐกิจสูง เพราะเป็นการจำกัดการเคลื่อนที่ของคน ซึ่งกระทบการดำเนินธุรกิจรุนแรง จึงต้องชั่งน้ำหนักระหว่างผลกระทบด้านสาธารณสุขกับเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศ ที่สำคัญ ต้องเร่งรัดมาตรการตรวจและแยกการติดเชื้อในครัวเรือนให้ครอบคลุมและทันการณ์ รวมถึงการตรวจคัดกรองก่อนการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม หากพบการติดเชื้อ อาจต้องใช้มาตรการควบคุม หรือ lockdown เฉพาะพื้นที่อย่างเข้มข้นในระยะเวลาจำกัดให้ได้ทันท่วงที
“ต้นตอของปัญหาคือ ปัญหาด้านสาธารณสุข เป็นปัญหาการติดเชื้อ วัคซีนก็ต้องเป็นพระเอก ถ้าไม่มีตรงนี้อย่างอื่นทำแค่ไหนก็ไม่พอ ไทยมีสัดส่วนประชากรที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มต่ำ ซึ่งต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้วเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่ไทยต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน แม้แต่ฟิลิปปินส์ที่ติดเชื้อหนักกว่าไทยก็ฉีดวัคซีนสูงกว่าไทย มีเพียงเวียดนามที่ต่ำกว่าไทย ในฐานะที่เป็นประเทศที่พึ่งพาภาคบริการท่องเที่ยวมากกว่าประเทศก็จำเป็นที่จะต้องฉีดให้สูงและการควบคุมโรคต้องเป็นพระเอก อย่างอื่นทำเท่าไรก็ไม่พอ”
(2) ปัญหาด้านรายได้ ที่เป็นปัญหาหลักและจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างหากไม่ได้รับการเยียวยาที่ทันการณ์
ในระหว่างที่สังคมไทยรอการเกิดภูมิคุ้มกันที่มากพอจากการฉีดวัคซีน ภาครัฐจะมีบทบาทในการการเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจและครัวเรือน และดูแล “หลุมรายได้” ที่คาดว่าจะใหญ่ถึง 1.8 ล้านล้านบาทตลอดปี 2563–2564 โดยเฉพาะในช่วงที่เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ยังมีข้อจำกัด เนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐจะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชน อีกทั้งการใช้จ่ายของประชาชนยังจะหมุนเวียนไปสู่ธุรกิจต่าง ๆ ให้ดำเนินต่อไป รักษาการจ้างงานไว้ได้ และไม่ต้องมีภาระหนี้สินล้นพ้นตัว
“หลุมรายได้และหลุมการจ้างงานสะท้อนปัญหา สะท้อนขนาดของรายได้ที่หายไปแล้ว ทำให้คนสายป่านสั้นลงและทั้งในอนาคตจะมีปัญหารายได้กับการจ้างงาน ก็ต้องแก้ตรงรายได้ ให้ได้ซึ่งมาตรการที่จะช่วยตรงจุดที่สุดในเรื่องของรายได้กับการจ้างงาน ก็หนีไม่พ้นเรื่องงบประมาณกับมาตรการทางการคลัง ซึ่งตรงจุดที่สุดและมีความจำเป็นในการรักษาอาการให้ถูกต้อง”
ที่ผ่านมา การใช้จ่ายภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการพยุงเศรษฐกิจ โดยในปี 2563 เศรษฐกิจไทยหดตัวในทุกด้านจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 เว้นแต่การใช้จ่ายภาครัฐด้านเดียวที่ยังขยายตัวได้ และช่วยพยุงการบริโภคของภาคเอกชนได้อย่างมาก โดยหากไม่มีมาตรการเงินโอนช่วยเหลือจากภาครัฐ ผลกระทบจากโควิดต่อการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะรุนแรงขึ้นมาก จากที่หดตัวร้อยละ 1.0 อาจสูงขึ้นเป็นร้อยละ 6.3 ได้ นอกจากนี้ การช่วยเยียวยารายได้ ทำให้ความจำเป็นในการก่อหนี้ของประชาชนและภาคธุรกิจลดลงได้บ้าง
ที่มาภาพ:การแถลงสถานการณ์โควิดวันที่ 16 ส.ค. 2564 โดยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
ภาครัฐต้องสร้างรายได้-กู้เพิ่มเสี่ยงต่ำกว่าไม่กู้
ทำไมต้องเป็นภาครัฐ ที่จะมีบทบาทในการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจและประชาชน
ดร.เศรษฐพุฒิ: นอกจากภาครัฐ ยังมีธุรกิจการส่งออก ธุรกิจขนาดใหญ่หลายกลุ่ม และประชาชนบางกลุ่มยังมีรายได้และเงินออมสูงที่ยังมีกำลังซื้อในการพยุงเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ดี ภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง ทำให้ภาคเอกชนระมัดระวังการใช้จ่ายและเม็ดเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้ไม่มาก จึงมีเพียงภาครัฐที่ยังขับเคลื่อนได้
“ขอย้ำว่า ไม่ใช้ภาครัฐฝ่ายเดียวต้องเป็นทุกส่วนแต่ภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการทางการคลังเป็นเรื่องที่จำเป็น ขาดไม่ได้ เพราะหนึ่งขนาดของกลุ่มที่หายไปในช่วง 2 ปี 1.8 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10% ของ GDP สะท้อนถึงหลุมที่หายไป แต่หากถามมีตัวอื่นหรือไม่ที่จะสามารถทดแทนหลุมนี้ ตอนนี้ต้องเรียนว่าไม่มี แน่นอนว่าช่องอื่นต้องทำงาน แต่ช่องอื่นถ้าไม่มีภาครัฐเข้ามาเพิ่มเติม ยังไงก็ไม่พอ”
ภาคการส่งออก แม้จะเติบโตได้ดีต่อเนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวจากการได้รับวัคซีนที่เร็วให้กับประชากรได้ในสัดส่วนสูง โดยในปีนี้ มูลค่าการส่งออกคาดว่าจะเติบโตได้ถึง 17.7% จากปีก่อนหน้า แม้มีมาตรการ bubble and seal เพราะขยายตัวในครึ่งแรกได้ถึง 19% ซึ่งช่วยทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ถึง 6.9% แต่เมื่อหักการนำเข้าสินค้าที่ส่วนใหญ่ใช้ในการผลิตเพื่อส่งออกที่ส่งผลต่อ GDP ประมาณ 6.4% ทำให้สุทธิแล้วช่วย GDP ได้เพียง 0.5% ซึ่งยังไม่สามารถชดเชยหรือเติมเต็ม “หลุมรายได้” ที่หายไปได้
“แรงส่งผ่านของการส่งออกเมื่อวัดจากการนำเข้า ก็ไม่ได้มากนอกจากนี้ การจ้างงานในภาคการส่งออกมีสัดส่วนเพียง 8% ของกำลังแรงงาน และที่ผ่านมายังไม่เห็นสัญญาณการจ้างงานเพิ่มขึ้น ทำให้การส่งออกสามารถพยุงเศรษฐกิจได้ไม่เต็มที่นัก”
ธุรกิจขนาดใหญ่แม้จะยังทำกำไรได้ต่อเนื่อง แต่ยังไม่จ้างงานเพิ่ม โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์กลับมาสูงกว่าระดับก่อนโควิดแล้ว แต่งบลงทุนยังหดตัวจากช่วงก่อนโควิดอยู่ถึง 49% และการจ้างงานของธุรกิจขนาดใหญ่ ยังต่ำกว่าระดับก่อนโควิดที่ 4.7% และแม้บริษัทเอกชนจะลงทุนเพิ่มขึ้น ก็ยังไม่น่าจะเพียงพอ เพราะสัดส่วนของการลงทุนภาคเอกชนอยู่ที่ราว 18 ของ GDP และที่ผ่านมาการลงทุนภาคเอกชนโตเฉลี่ย 4.4% ซึ่งการลงทุนจะต้องนำเข้าเครื่องจักรพอควร ดังนั้น ถ้าธุรกิจใหญ่ลงทุนมากขึ้น เช่น 1 แสนล้าน จะช่วยให้ GDP เติบโตได้เพียง 0.2 -0.3%
“ธุรกิจรายใหญ่ที่ยังทำกำไรได้ ก็ควรจะออกมาช่วย แต่ในสภาพความเป็นจริง ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการจ้างงาน200 คนขึ้นไป มีสัดส่วนการจ้างงานอยู่ที่ไม่ถึง 10% ของการจ้างงานรวม”
“ทั้งการส่งออก ธุรกิจขนาดใหญ่รวมแล้ว เมื่อเทียกับขนาดของปัญหายังไงก็ต้องกลับมาที่ภาครัฐ แทบทุกหมวดของรายจ่ายหดตัวหมดเลย ยกเว้นรายจ่ายภาครัฐที่ผ่านมาต้องชมว่าช่วยพยุงเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล ถ้าไม่ได้ตรงนี้มา ตัวเลขที่เราเห็นการหดตัวทั้งในฝั่งบริโภค เศรษฐกิจโดยรวมจะหนักกว่านี้เยอะมาก จึงตอบคำถามว่าทำไมภาครัฐจึงจำเป็นและจำเป็นมากกว่านี้”
ในเมื่อการส่งออกและธุรกิจรายใหญ่ไม่เพียงพอต่อการปิดหลุมรายได้ แล้วการใช้จ่ายของภาครัฐที่จะเพิ่มขึ้นควรมีลักษณะหรือรูปแบบการดำเนินการอย่างไร เพื่อช่วยพยุงรายได้ของประชาชนให้ได้เต็มที่
“ภาครัฐเองทรัพยากรก็มีจำกัด ต้องใช้ในวิธีที่ได้ผลมากที่สุดและแรงที่สุด ก็ต้องเป็นรายจ่ายที่มีผลต้องเป็นรายจ่ายที่มีตัวทวีคูณสูง หรือ fiscal multiplier สูง”
ดร.เศรษฐพุฒิ: โดยจะต้องให้ความสำคัญเร่งด่วนกับมาตรการการคลังที่ส่งผลกระตุ้นเศรษฐกิจหรือมี “ตัวคูณ” หรือ multiplier สูง เช่น มาตรการที่รัฐช่วยออกค่าใช้จ่าย (co-pay) อาทิ มาตรการคนละครึ่ง ที่มีmultiplier 1.5 และมาตรการค้ำประกันสินเชื่อ ที่มีmultiplier 2-2.6 โดยมาตรการที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้มาก มักเป็นการดึงเม็ดเงินจากภาคเอกชนเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งจะมีผลเพิ่มเติมจากการเพิ่มสภาพคล่องของธุรกิจและการจ้างงาน ขณะที่มาตรการให้เงินเยียวยาเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจะมีความจำเป็นในระยะสั้น แต่เนื่องจากมี multiplier ต่ำ ที่0.8-1 จึงควรใช้แบบตรงจุด หรือ “ตามอาการ” ให้ได้มากที่สุด
“ไม่ได้หมายความมาตรการเยียวยาไม่จำเป็น แต่เน้นที่รูปแบบการมีผลต่อตัวทวีคูณ
อีกรูปแบบสำคัญหนึ่งเพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจจาก “หลุมรายได้” ที่ทั้งใหญ่และลึก รวมทั้งสถานการณ์ที่จะยาวนาน การใช้จ่ายของภาครัฐจำเป็นต้องเพิ่มอีกมากและ front-load ให้ได้มากที่สุด เพื่อเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมาตรการที่ช่วยพยุงการจ้างงานและเพิ่มรายได้ รวมถึงการใช้วงเงินตาม พ.ร.ก. 5 แสนล้าน ที่อาจเร่งนำมาใช้เยียวยากลุ่มเปราะบางให้ตรงจุดและทันการณ์ และออกมาตรการเพื่อรักษาการจ้างงานและสร้างรายได้โดยเร็ว
การวางนโยบายการพยุงการจ้างงานและสร้างรายได้อย่างเพียงพอ ต้องทำให้ได้ในวงกว้าง และต้องให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมผลักดันมากขึ้น โดยเน้น (1) การพยุงการจ้างงาน (job retention) โดยสร้างแรงจูงใจให้เอกชนรักษาระดับการจ้างงาน (2) กระตุ้นอุปสงค์ (demand creation) เพื่อเพิ่มการบริโภคและลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะการจ้างงานในท้องถิ่นที่มีแรงงานเคลื่อนย้ายกลับถิ่นจำนวนมาก (3) ส่งเสริมการเพิ่มหรือปรับทักษะ (upskill-reskill) ของแรงงาน เช่น โครงการ Co-payment ที่รัฐบาลควรขยายให้ครอบคลุมแรงงานที่ตกงานและแรงงานคืนถิ่น นอกเหนือไปจากแรงงานจบใหม่ รวมทั้งขยายเวลาการจ้างงานภาครัฐที่จะสิ้นสุดเดือนกันยายนนี้ออกไป เป็นต้น ทั้งนี้ ภาครัฐควรมีบทบาทเป็น facilitator โดยไม่ควรสร้างเงื่อนไขมากจนเป็นข้อจำกัดในการช่วยเหลือ และมีกระบวนสร้างความโปร่งใสในการพิจารณาและดำเนินมาตรการต่าง ๆ รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการตอบโจทย์ และสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับสถานการณ์ที่อาจจะเปลี่ยนไปในอนาคต
การใช้จ่ายภาครัฐควรต้องเพิ่มขึ้นแค่ไหนจึงจะเพียงพอ ทำไมต้องรีบทำและควรต้องกังวลเรื่องหนี้สาธารณะหรือไม่
ดร.เศรษฐพุฒิ: ด้วยขนาดของรายได้ที่จะหายไป (ประมาณ 2.6 ล้านล้านบาท ระหว่างปี 2563-2565) เม็ดเงินของภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบันคงไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเพิ่มแรงกระตุ้นทางการคลังเพื่อช่วยให้รายได้และฐานะทางการเงินของประชาชนและ SMEs กลับมาฟื้นตัวได้โดยเร็วที่สุด และลดแผลเป็นทางเศรษฐกิจที่จะกลายเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจหลังโควิด ซึ่งในเบื้องต้น เม็ดเงินจากภาครัฐที่เติมเข้าไปในระบบควรมีอย่างน้อย 1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 7% ของ GDP
“ขนาดก็มีความสำคัญ เมื่อพิจารณาจากตัวเลขหลุมการจ้างงาน อาการที่เป็นจากที่ธปท.ดู ขนาดความแรงของยาที่ขนาด 1 ล้านล้านเพิ่มเติม หรือ 7% ของ GDP ก็คิดว่าสมเหตสมผลกับปัญหาที่เศรษฐกิจกำลังเจอ”
อย่างไรก็ตาม ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่าตัวเลขการกู้ยืม 1 ล้านล้านเป็นตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นว่า ระบบยังรองรับได้ สำหรับการกู้เพิ่ม
การกู้เงินเพิ่มเติมของภาครัฐจะช่วยให้ GDP กลับมาโตใกล้ศักยภาพเร็วขึ้น และจะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ในระยะยาวปรับลดลงได้เร็วกว่ากรณีที่รัฐบาลไม่ได้กู้เงินเพิ่ม โดยในกรณีที่รัฐบาลกู้เงินเพิ่ม 1 ล้านล้านบาท หนี้สาธารณะคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปสูงสุดที่ประมาณ 70% ของ GDP ในปี 2567 และจะลดลงได้ค่อนข้างเร็วตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและความสามารถในการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลที่จะกลับมาฟื้นตัวเร็ว เนื่องจากฐานภาษีจะไม่ได้ลดลงจากแผลเป็นของเศรษฐกิจมากนัก เมื่อเทียบกับกรณีที่รัฐบาลกู้เงินเพิ่ม พบว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ในอีก 10 ปีข้างหน้า (ปี 2574) จะต่ำกว่ากรณีที่รัฐบาลไม่ได้กู้เงินเพิ่มเติมถึงกว่า 5% ดังนั้น หากรัฐบาลไม่เร่งพยุงเศรษฐกิจเพิ่มเติมในภาวะที่ความไม่แน่นอนสูง เพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตยืดเยื้อ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP แม้จะเพิ่มขึ้นช้า แต่จากการประมาณการ คาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงและปรับลดลงได้ไม่มากนักในระยะยาว
“เรื่องเสถียรภาพทางการคลัง จากที่ธปท.ประมาณการจากการใช้มาตรการทางการคลังเพิ่มเติม 1 ล้านบาทซึ่งเป็นตัวเลขคร่าวๆที่เหมาะกับอาการที่เกิดขึ้น เข้าไป สัดส่วนหนี้ต่อ GDP จากที่อยู่ในระดับกว่า 50% จะแตะระดับสูงสุดที่ 70% ของ GDP ในปี 2567 หลังจากนั้นจะเริ่มลง”
อีกประเด็นหนึ่งที่อยากจะขอย้ำและเป็นเรื่องสำคัญ คือ การที่กู้ตอนนี้แล้วใส่เข้าไปเพิ่มกลายเป็นจะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ในอนาคตใน อีก 10 ปีข้างหน้าจะต่ำกว่าเทียบกับถ้าเราไม่กู้ เพราะการกู้ตอนนี้ การใส่เงินเข้าไปตอนนี้เป็นการขยายเศรษฐกิจ เพิ่มฐานภาษี ทำให้อัตรการเติบโตของเศรษฐกิจไปได้ และช่วยให้ภาระหนี้กลายเป็นลดลงในอนาคตไม่ใช่เพิ่มขึ้น”
“ภาพระยะยาว การกู้เงินเพื่อใส่เข้าไปเป็นสิ่งที่ ทำตอนนี้ดีกว่าทำทีหลัง เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจชะลอลงเข้าไปใหญ่”
การใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อเสถียรภาพทางการคลังหรือความเสี่ยงในการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือหรือไม่
ดร.เศรษฐพุฒิ:“ถ้าถามว่า มีความกังวลต่อภาระหนี้หรือไม่ ก็มีแต่ในภาพรวมมีความเหมาะสมและความเสี่ยงไม่ได้สูง ขนาดนั้น เทียบกับความเสี่ยงหากไม่ทำกลับมากว่าที่ทำ เพราะเศรษฐกิจชะลอตัวยาว ถ้าเรามองไปสัดส่วนหนี้ต่อ GDP ที่ 70% เศรษฐกิจก็รองรับได้ สภาพคล่องในระบบรองรับการกู้ยืมจากภาครัฐก็มี การกู้ยืมที่จะชดเชยภาคคลังก็มาจากการกู้ในประเทศ”
ปัจจุบัน เสถียรภาพทางการคลังของไทยยังแข็งแกร่ง ภาครัฐยังมีศักยภาพในการก่อหนี้เพิ่มเติมเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ เนื่องจาก (1) หนี้สาธารณะของไทยยังอยู่ในระดับต่ำก่อนโควิด โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 42% ณ ธันวาคม 2562 และเพิ่มขึ้นในช่วงโควิดประมาณร้อยละ 14 (56% ณ มิถุนายน 2564) ซึ่งยังน้อยกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 19%) และกลุ่มประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวสูง เช่น กรีซ (25.2%) (2) หนี้สาธารณะของไทยเกือบทั้งหมดเป็นหนี้ในประเทศ โดยสัดส่วนหนี้ในประเทศ ณ มิถุนายน 2564 อยู่ที่ 98.2% ของหนี้สาธารณะทั้งหมด (3) ต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลไทยอยู่ในระดับต่ำ ไม่เป็นข้อจำกัดต่อภาระทางการคลัง สะท้อนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะ 10 ปีของไทยที่ ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2564 อยู่ที่ไม่ถึง 1.6% ซึ่งต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาของอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย ( 3.2%) อินโดนีเซีย ( 6.3%) ฟิลิปปินส์ 4.1%) และเวียดนาม ( 2.1%)
นอกจากนี้ ความเสี่ยงในการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทยจากการเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะอยู่ในระดับต่ำ เพราะการประเมินของบริษัทจัดอันดับฯ จะพิจารณาจากประสิทธิผลของมาตรการคลังในการพยุงและฟื้นฟูเศรษฐกิจ และความสามารถในการบริหารจัดการหนี้ในระยะข้างหน้าเป็นสำคัญ ที่ผ่านมา outlook ของการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของไทยเป็น stable โดยมีฐานะการคลังและพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเป็นจุดแข็ง ทั้งหนี้ต่างประเทศที่อยู่ระดับต่ำและทุนสำรองที่มีมาก ขณะที่ความกังวลของบริษัทจัดอันดับส่วนใหญ่จะอยู่ในประเด็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางของไทยเพราะยังพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง และประเด็นเสถียรภาพทางการเมืองเป็นหลัก
ทั้งนี้ เพื่อรักษาความยั่งยืนทางการคลังของประเทศ และเพิ่ม room ของการทำนโยบายไว้รองรับภาระทางการคลังและความเสี่ยงในอนาคต รัฐบาลต้องมีมาตรการรัดเข็มขัดในระยะปานกลาง เพื่อให้สัดส่วนหนี้ต่อ GDP กลับลงมาในระยะข้างหน้า อาทิ การปฏิรูปการจัดเก็บภาษีผ่านการขยายฐานภาษี และการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ พร้อมทั้งปรับอัตราภาษีบางประเภทให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศหลังการแพร่ระบาดของโควิด สำหรับการใช้จ่าย มาตรการเงินโอนควรต้อง “ตรงจุด” และควรกำหนดเงื่อนไขของการได้รับเงินโอน (Conditional transfer) พร้อมทั้งควบคุมรายจ่ายประจำและเพิ่มสัดส่วนของรายจ่ายลงทุน นอกจากนี้ หากภาครัฐทำให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวตามศักยภาพได้เร็ว จะช่วยเร่งการเข้าสู่ความยั่งยืนทางการคลังได้อีกทางหนึ่งด้วย เนื่องจากฐานภาษีและความสามารถในการจัดเก็บภาษีจะเพิ่มขึ้น เช่น กรณีเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว หากรัฐบาลเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 1% จะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 60 พันล้านบาท ซึ่งจะทำให้หนี้สาธารณะลดลงเพิ่มเติมได้อีกประมาณ 0.33%ต่อ GDP
“ตรงนี้เป็นยา เป็นมาตรการที่เหมาะสมกับสภาวะอาการที่เราเห็น แต่ไม่ใช่ว่าจะกู้แล้วไม่ดูเสถียรภาพ ถ้าจะกู้ก็ต้องมีแผนชัดเจนระยะยาว ที่จะทำให้ฐานะการคลังจะกลับมาสู่สภาวะที่เข้มแข็งกว่าเดิม หรือ fiscal consolidationในระยะยาว ในระยะยาวสิ่งที่เราควรทำคือขึ้นภาษี โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม ทุกเปอร์เซ็นต์ที่จะเพิ่มรายได้เข้ารัฐ 6 หมื่นล้าน”

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"