แบงก์ชาติขาดทุน! งบประมาณขาดดุล! หนี้สาธารณะพุ่ง! น่ากังวลแค่ไหนกัน : ‘ขาดทุน’ ‘ขาดดุล’ ‘หนี้สาธารณะ’

สามคำระคายหู ที่เห็นเป็นพาดหัวข่าวทีไรก็ทำให้ใจไม่ดี ล่าสุด หลายสำนักข่าวพาดหัวใหญ่โตว่าฐานะการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบางสำนักประหยัดคำย่อเหลือแค่ ‘ฐานะการเงินไทย’ ขาดทุนสะสม 1 ล้านล้านบาท ชวนให้เหล่าเสือมือไวพิมพ์ด่าทอรัฐบาล

พร้อมสำทับกับความล้มเหลวในการบริหารจัดการของธนาคารแห่งประเทศไทย บางคนถึงขั้นร้อนรนรีบทำนายว่านี่คือสัญญาณของวิกฤติเช่นเดียวกับปี 2540 หรือมองว่าประเทศไทยอาจกลายเป็นรัฐล้มเหลวเสมือนเวเนซุเอลาที่เงินมีค่าไม่ต่างจากกระดาษ
แหม องค์กรที่ขาดทุนสะสมหลักล้านล้านบาทจะไปสร้างความน่าเชื่อถือให้กับประเทศชาติได้อย่างไร
แต่ช้าก่อน หากพลิกกลับไปดูฐานะการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่ผ่านมา ยอดขาดทุนสะสมก็อยู่ที่ 1 ล้านล้านบาท ระบบการเงินก็ยังมั่นคงแข็งแรง ธนาคารพาณิชย์ทำกำไรอู้ฟู่ และผมก็ยังควักธนบัตรในกระเป๋าซื้อข้าวผัดกระเพรา (แบบเว้นระยะห่าง) ได้เหมือนเดิม
ตัวเลขขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเรื่องดราม่าซ้ำๆ ประจำทุกปี สร้างความกังวลว่าตัวเลขดังกล่าวเกี่ยวข้องกับหนี้สาธารณะหรือไม่ จะกระทบอะไรกับการดำเนินนโยบายการคลังของรัฐหรือเปล่า ผู้เขียนเลยถือโอกาสอธิบาย 3 เรื่องแบบรวดเดียวจบ สำหรับกดเซฟกดแชร์เอาไว้ จะได้ไม่ต้องตกอกตกใจในปีหน้า ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศฐานะทางการเงินแล้วยังคงขาดทุนสะสมบานตะไทเช่นเดิม
แบงก์ชาติขาดทุน แล้วไง?
ถ้าเราเปิดงบดุลของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วพิจารณาตามสมการบัญชีว่า สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน เราก็จะเริ่มเข้าใจว่าทำไมธนาคารแห่งประเทศไทยถึงมียอดขาดทุนสะสมบานตะไท
หากพิจารณาในฝั่งสินทรัพย์ ธนาคารกลางในฐานะผู้ดูแลเสถียรภาพทางการเงินต้องถือครองสินทรัพย์สกุลเงินต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศรวมถึงใช้เป็นสินทรัพย์สำหรับหนุนหลังธนบัตรที่พิมพ์ใช้ภายในประเทศ
ในทางกลับกัน หนี้สินส่วนใหญ่ของธนาคารกลางจะอยู่ในสกุลเงินบาท ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย เงินฝากจากธนาคารพาณิชย์และภาครัฐ รวมถึงธนบัตรที่แบงก์ชาติเป็นผู้ออก ซึ่งสกุลเงินที่แตกต่างกันระหว่างสินทรัพย์และหนี้สินนี้เอง คือสาเหตุของผลขาดทุนมหาศาล
ปกติแล้ว กำไรและขาดทุนของธนาคารกลางจะมาจาก 2 แหล่ง คือส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยและกำไรจากการตีมูลค่ารายได้ส่วนแรกเกิด แบงก์ชาตินำเงินก้อนที่ได้จากหนี้สินซึ่งแทบทั้งหมดไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยไปหารายได้ผ่านการลงทุน ในทางทฤษฎี รายได้ส่วนนี้จึงจะไม่ควรทำให้ธนาคารกลางขาดทุน ดังนั้น ขาดทุนสะสมก้อนมโหฬารจึงมาจากส่วนที่สอง คือการตีมูลค่าสินทรัพย์
เพื่อให้เห็นภาพ ผู้เขียนขอสมมติว่าธนาคารกลางมีสินทรัพย์คือเงิน 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ และหนี้สิน 3,500 บาท ณ อัตราแลกเปลี่ยน 35 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ธนาคารกลางจะไม่ได้กำไรหรือขาดทุนจากการถือครองสินทรัพย์ดังกล่าว แต่หากธนาคารกลางสามารถสร้างความเชื่อมั่นและเสถียรภาพให้กับค่าเงินบาทจนแข็งค่าขึ้นเป็น 30 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เงิน 100 ดอลลาร์ฯ ในฝั่งสินทรัพย์จึงด้อยค่าลงเหลือ 3,000 บาท ทำให้ธนาคารกลางขาดทุนทางบัญชี 500 บาททันที ส่วนหนี้สินยังคงที่ที่ 3,500 บาท
ตัวเลขล่าสุดเมื่อปี 2563 ธนาคารแห่งประเทศไทยมีเงินสำรองระหว่างประเทศที่ 2.8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นั่นหมายความว่าหากเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น 1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แบงก์ชาติจะต้องบันทึกขาดทุนทันที 2.8 แสนล้านบาท!
นอกจากนี้ ตัวเลขขาดทุนสะสมล้านล้านบาทไม่ได้หมายถึงขาดทุนในปีนี้ปีเดียว เพราะคำว่าขาดทุนสะสมคือ ‘สะสม’ มาตั้งแต่วันแรกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดทำการ หากดูงบฐานะการเงินปีที่แล้วจะพบว่าแบงก์ชาติมีกำไรเสียด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าผลการดำเนินงานของธนาคารกลางจะได้กำไรหรือขาดทุนก็ไม่ใช่สาระสำคัญ จากการศึกษาในประเทศสิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และอิสราเอล พบว่าผลกำไรขาดทุนของธนาคารกลาง ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามพันธกิจของธนาคารกลาง เพราะอย่าลืมว่าแบงก์ชาติไม่ได้ก่อตั้งมาเพื่อทำกำไร แต่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินต่างหาก และที่สำคัญ ตัวเลขขาดทุนดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับหนี้สาธารณะอีกด้วย
งบประมาณขาดดุล เรื่องธรรมดาในภาวะวิกฤติ
เราทุกคนถูกสั่งสอนมาว่าอย่าใช้จ่ายเกินตัว ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่เรารู้สึกไม่ชอบใจนัก หากเหล่านักการเมืองตัดสินใจเคาะงบประมาณแบบ ‘ขาดดุล’ ซึ่งแปลง่ายๆ ว่าค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้ รัฐบาลจึงต้องหาเงินมาโปะส่วนต่างโดยการกู้หนี้ยืมสินจากในประเทศหรือต่างประเทศ โดยเรียกหนี้ที่สั่งสมจากรัฐบาลสู่รัฐบาลว่า ‘หนี้สาธารณะ’ นั่นเอง
แม้ว่านักการเมืองแทบทุกคนจะชื่นชอบนโยบายแบบขาดดุล เพราะเป็นการใช้จ่ายเงินในอนาคต เพื่อเนรมิตนโยบายที่หาเสียงไว้ให้เป็นจริง โดยผลักภาระการชำระหนี้ให้เป็นของรัฐบาลชุดหน้า แต่นักเศรษฐศาสตร์ก็ยังคง ‘เสียงแตก’ โดยไม่มีข้อสรุปว่ารัฐควรดำเนินนโยบายขาดดุล เกินดุล หรือสมดุล
แรกเริ่มเดิมที นักเศรษฐศาสตร์มักแนะนำว่าควรดำเนินนโยบายแบบเกินดุลหรือสมดุล กระทั่งการปฏิวัติแนวคิดดังกล่าวจากหน้ามือสู่หลังมือโดย จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) ที่มองว่ารัฐสามารถกู้ยืมเงินมากระตุ้นเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากหากปล่อยไว้ภาวะซบเซาจะทำลายความเชื่อมั่นนักลงทุน ลดโอกาสเกิดธุรกิจใหม่ และทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น เกิดเป็นวงจรอุบาทว์ที่รัฐสามารถตัดไฟแต่ต้นลมโดยการอัดฉีดงบประมาณ
ขณะที่กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ผู้ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว มองว่าการดำเนินงบประมาณขาดดุลจะทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น โครงสร้างตลาดบิดเบือน เสี่ยงต่อการเกิดเงินเฟ้อ และที่สำคัญคือการช่วงชิงเงินลงทุนที่ควรจะไปสู่ภาคเอกชน เนื่องจากนักลงทุนต้องแบ่งเงินบางส่วนไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล ส่งผลให้เม็ดเงินที่จะไหลสู่ภาคธุรกิจอื่นน้อยลงนั่นเอง
หากพิจารณาตัวเลขการใช้งบประมาณของประเทศกำลังพัฒนา ก็ค่อนข้างชัดเจนว่าฝั่งขาดดุลจะเป็นฝ่ายชนะ โดย 5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลประเทศเศรษฐกิจกำเนิดใหม่ต่างใช้งบประมาณขาดดุลเฉลี่ย 5 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี การระบาดของโควิด-19 แสดงให้เห็นว่าเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ยังคงทรงพลัง เพราะแทบทุกประเทศทั่วโลกต่างพร้อมใจกันงัด ‘บาซูก้าการคลัง’ มาใช้แบบเต็มสูบ เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจเผชิญภาวะถดถอยต่อเนื่องยาวนานเช่นเมื่อคราววิกฤติซับไพรม์
การดำเนินนโยบายแบบขาดดุลจึงเป็นเรื่องแสนปกติธรรมดา แต่คำถามที่สำคัญกว่าคือรัฐบาลกู้เงินมาเพื่อใช้ทำอะไร หากนำมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หรือลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์เพื่อหวังสร้างรายได้ในอนาคตก็ถือว่าน่าสนใจ นำมาใช้แก้วิกฤติก็นับเป็นเรื่องจำเป็น แต่หากกู้มาทำโครงการประชานิยมแบบเน้นอุปโภคบริโภคในภาวะปกติเพราะหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ แบบนี้น่ากังวล เพราะอย่าลืมว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ใช้จะกลายเป็นหนี้สาธารณะ ซึ่งลูกหลานต้องหาเงินมาจ่าย
หนี้สาธารณะพุ่ง แล้วเท่าไรถึงเกินพอดี
หนี้สาธารณะนับเป็นเหรียญอีกด้านของการใช้งบประมาณขาดดุล สมมติว่ารัฐบาลตัดสินใจใช้งบประมาณขาดดุล 5 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี เงินส่วนต่างก็ไม่ได้หล่นมาจากฟ้า แต่มาจากการก่อหนี้สาธารณะเทียบเท่ากับ 5 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีนั่นเอง
นับตั้งแต่วิกฤติซับไพรม์ หนี้สาธารณะทั่วโลกมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเพิ่มจาก 74 เปอร์เซ็นต์ เป็น 105 เปอร์เซ็นต์ ส่วนประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มรายได้ปานกลางเพิ่มจาก 35 เปอร์เซ็นต์เป็น 48 เปอร์เซ็นต์ การระบาดของโควิด-19 ในครั้งนี้นับเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์หนี้สาธารณะให้ย่ำแย่ลงไปอีก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และสถานการณ์ที่รัฐไม่มีทางเลือกนัก นอกจากหยิบยืมเงินในอนาคตมาช่วยเหลือประชาชน
ประเทศไทยเองก็หนีชะตากรรมดังกล่าวไม่พ้น โดยหนี้สาธารณะมีแนวโน้มใกล้ชนเพดาน 60 เปอร์เซ็นต์ ตามกฎหมายพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แต่สงสัยกันไหม ว่าตัวเลขมหัศจรรย์ 60 เปอร์เซ็นต์นั้นมาจากที่ไหน
ผู้เขียนคาดว่าเพดานดังกล่าวน่าจะมาจากบทความโด่งดังชื่อว่า ‘การเติบโตในห้วงเวลาแห่งการเป็นหนี้’ (Growth in a Time of Debt) ซึ่งเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2553 โดยสองนักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด คาร์เมน ไรน์ฮาร์ต (Carmen Reinhart) และเคนเนธ โรกอฟฟ์ (Kenneth Rogoff)
งานวิจัยชิ้นนี้วิเคราะห์ข้อมูล 44 ประเทศ เป็นเวลากว่าสองศตวรรษ ได้ข้อสรุปว่าอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะไม่ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจตราบใดที่หนี้สาธารณะยังไม่เกิน 90 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี แต่หากพ้นระดับดังกล่าวไปแล้ว เศรษฐกิจจะเผชิญภาวะชะงักงันโดยเศรษฐกิจหดตัวราว 1.3 ถึง 2.6 เปอร์เซ็นต์ต่อปี แต่ถ้ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและรายได้ปานกลางมีหนี้สาธารณะที่มีเจ้าหนี้เป็นต่างชาติเกินกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะลดลงราว 2 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
การศึกษาดังกล่าวมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อนโยบายการคลังหลายประเทศ และสะท้อนในเพดานหนี้สาธารณะของประเทศไทยที่เลือกใช้ ‘เกณฑ์ต่ำ’ คือ 60 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ซึ่งเป็นจุดที่หลายประเทศเริ่มมีตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลง แต่ผลกระทบยังไม่ชัดเจนเท่าระดับ 90 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี
อย่างไรก็ดี การกำหนดเพดานหนี้สาธารณะของไทยที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2561 ดูจะเชยไปสักหน่อย เพราะการศึกษาในปี พ.ศ. 2556 ได้วิพากษ์งานวิจัยไรน์ฮาร์ตและโรกอฟฟ์โดยใช้ข้อมูลชุดเดียวกันมาคำนวณใหม่อีกครั้ง แต่กลับพบความผิดพลาดมากมาย ทั้งการเลือกหยิบข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน การเขียนโปรแกรมที่บกพร่อง และการให้น้ำหนักค่าสถิติบางตัวที่ไม่เหมาะสม ทำให้ผลลัพธ์การคำนวณต่างไปจากความเป็นจริงอย่างมาก โดยคณะวิจัยพบว่าอัตราส่วนหนี้สาธารณะมหัศจรรย์ 90 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพีนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้มีความสัมพันธ์ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างที่กล่าวอ้าง
นอกจากนี้ งานวิจัยเมื่อ พ.ศ. 2557 โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือเอ็มไอเอฟ ยังพบว่าอัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีอาจไม่ใช่ตัวแปรที่ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ปัจจัยสำคัญคือ ‘ทิศทาง’ ของหนี้สาธารณะมากกว่า โดยประเทศที่หนี้สาธารณะมีแนวโน้มสูงขึ้นจะเติบโตต่ำกว่าประเทศที่หนี้สาธารณะมีแนวโน้มลดต่ำลง
การบริหารการคลังสมัยใหม่จึงไม่ควรหมกมุ่นกับตัวเลขเพดานหนี้สาธารณะ หรือความพยายามจนเกินเลยที่จะลดค่าใช้จ่ายของรัฐเพื่อนำมาใช้หนี้ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสวัสดิการของสังคมโดยรวม แต่ต้องดำเนินการอย่างยืดหยุ่น พิจารณาตามความจำเป็นและสถานการณ์ โดยไม่มีสูตรสำเร็จว่าอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีที่เหมาะสมคือเท่าไร
‘แบงก์ชาติขาดทุน’ ‘งบประมาณขาดดุล’ ‘หนี้สาธารณะพุ่ง’ สามพาดหัวข่าวที่คงอยู่กับเราไปอีกนาน แต่หากรู้เบื้องลึกเบื้องหลัง ประเด็นเหล่านี้ก็อาจไม่ใช่เรื่องสำคัญ หากเทียบกับผลลัพธ์เชิงประจักษ์ว่าเสถียรภาพเงินบาทเป็นอย่างไร รัฐบาลใช้งบประมาณมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด และปลายทางคือประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างไร

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"