กสิกรไทย ส่องเศรษฐกิจผ่านฐานะแบงก์ไทย ฟื้นตัวช้า-หนี้เสียพุ่งกว่าเพื่อนบ้าน

กสิกรไทย มองเศรษฐกิจผ่านฐานะแบงก์ไทย วิกฤตโควิด-19 ลากยาว ทำฟื้นตัวช้า-หนี้เสียพุ่งกว่าเพื่อนบ้าน วันที่ 6 กันยายน 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ส่องเศรษฐกิจผ่านสถานะแบงก์ไทย เผยโควิด-19 ลากยาว กระทบฐานะผลประกอบการธนาคารไทยฟื้นตัวช้า

กว่าประเทศเพื่อนบ้าน คาดใช้เวลานานกว่า 1-2 ปีพลิกฟื้นกลับช่วงก่อนโควิด-19 หวั่นกระทบโครงสร้างเศรษฐกิจ เร่งปรับตัวสร้างรายได้-มองหาโมเดลธุรกิจใหม่
แบงก์ไทยสถานะการเงินฟื้นตัวช้า-ด้อยกว่าเพื่อนบ้าน
แม้ภาพรวมธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ (ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทยและสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ) ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 จะรายงานกำไรสุทธิเฉลี่ยสูงกว่า 5 หมื่นล้านบาทต่อไตรมาส แต่ส่วนหนึ่งมาจากการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยตามสิทธิ์ ภายใต้มาตรฐานบัญชี TFRS9 ที่ไม่ได้มีเม็ดเงินจริงเข้ามา โดยเฉพาะจากหนี้ที่เข้ามาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินด้วยมาตรการพักหนี้ หรือมีปัญหาให้ไม่สามารถชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้ตามปกติ
ทั้งนี้ ภายใต้มาตรฐานบัญชีใหม่ดังกล่าวที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2563 นั้น ลูกหนี้ที่เผชิญปัญหาโควิดและขอรับความช่วยเหลือทางการเงินข้างต้น ธนาคารจะยังบันทึกบัญชีด้วยการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยดังกล่าวตาม ‘สิทธิ์ที่พึงได้รับ’ ซึ่งเกณฑ์นี้ ผนวกกับการปรับวิธีตัดชำระหนี้แบบแนวนอนที่ ธปท.ประกาศเมื่อเดือนตุลาคม 2563 (บังคับใช้กรกฎาคม 2564 โดยตัดค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และเงินต้นของยอดค้างชำระที่เก่าที่สุดก่อน แล้วค่อยตัดยอดที่ค้างชำระลำดับถัดมา) ทำให้ดอกเบี้ยค้างรับของธนาคารจึงสูงกว่าตัวเลขดอกเบี้ยค้างรับตามวิธีคิดแบบเดิม
ขณะที่ ปัจจุบันเมื่อมีการปรับโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้และมีมาตรการพักชำระหนี้ ธนาคารจะเรียกเก็บหนี้ได้ในช่วงท้ายสัญญา นั่นหมายความว่า ระหว่างทาง ธนาคารจะถือดอกเบี้ยค้างรับไว้ โดยที่ไม่สามารถแน่ใจได้ว่าลูกหนี้จะจ่ายชำระได้จริงหรือไม่และมากน้อยเพียงใด เพียงแต่ภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ ธนาคารสามารถพิจารณาความเสี่ยงเครดิตของลูกหนี้และตั้งสำรองหนี้ฯเพิ่มขึ้นได้ อันเป็นผลให้ที่ผ่านมา ระดับการตั้งสำรองของระบบธนาคารพาณิชย์จึงยังสูงกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19
ในเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการประเมินผลจากการเปลี่ยนวิธีการบันทึกบัญชีมาเป็น TFRS9 ในปี 2563 และการรับรู้ดอกเบี้ยตามสิทธิ์จากหนี้ที่เข้ามาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินอันมีผลเพิ่มดอกเบี้ยค้างรับ (หักการตั้งสำรองฯ สะสมที่เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนโควิดในปี 2562) อาจมีสัดส่วนไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิ บนสมมติฐานว่า อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของพอร์ตสินเชื่อที่เข้ามาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินกำหนดไว้ที่ประมาณ 3%
การลดลงของหนี้ที่เข้ามาตรการความช่วยเหลือทางการเงินที่ช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลต่อดอกเบี้ยค้างรับและการรับรู้ดอกเบี้ยรับตามสิทธิ์ โดยแม้มาตรฐานบัญชีสากลนี้บังคับใช้กับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่นกัน อาทิ มาเลเซีย และสิงคโปร์ แต่ความแตกต่างที่อาจทำให้ธนาคารไทยเสียเปรียบ คือ สัดส่วนลูกค้าเข้ามาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่สูงกว่าและลดลงช้ากว่า โดย ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 อยู่ที่ 15.4% เทียบกับของสิงคโปร์ที่ 3% (ม.ค.64) และมาเลเซียที่ 15% (ก.พ.64) ตามลำดับ
ปัญหาที่ปรากฎขึ้นกับลูกหนี้ ยังกระทบต่อหนี้ด้อยคุณภาพของระบบธนาคารพาณิชย์ให้ด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่นสิงคโปร์และมาเลเซีย ขณะที่ความสามารถในการทำกำไรที่วัดผ่านอัตรากำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) มีระดับต่ำกว่าประเทศเหล่านั้น เนื่องจากความกังวลต่อปัญหาคุณภาพหนี้ทำให้ยังต้องคงภาระการตั้งสำรองหนี้ฯ ในระดับสูงเป็นสำคัญ
ผลประกอบการพลิกสู่ช่วงก่อนโควิดใช้เวลานานกว่า 1-2 ปี
ด้วยสถานการณ์โควิดที่ทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งจึงง่วนอยู่กับกิจกรรมช่วยเหลือลูกค้าและดูแลประเด็นคุณภาพหนี้ที่เกี่ยวข้อง จึงส่งผลตามมาให้ระบบธนาคารพาณิชย์คงเห็นทิศทางผลประกอบการที่ฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่นเช่นกัน โดยการเห็นตัวเลขที่กลับสู่ระดับก่อนโควิด คงยากจะเกิดขึ้นภายใน 1-2 ปีนี้ ขณะที่ ฝั่งสิงคโปร์ และสหรัฐฯ น่าจะเริ่มเห็นการฟื้นตัวของผลประกอบการที่กลับสู่ระดับก่อนโควิดแล้วในปี 2564
ดังนั้น การสะสมกำไรและเงินกองทุนของระบบธนาคารพาณิชย์ก็เป็นไปเพื่อรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่มีใครบอกได้แน่ชัดว่าปัญหาโควิดจะจบจริงหรือไม่และเมื่อใด แรงกดดันต่อภาพรวมของระบบธนาคารพาณิชย์ดังกล่าว กระทบให้อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (Price to Book Ratio) อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งสะท้อนนัยต่อความสามารถในการทำกำไรในเชิงเปรียบเทียบที่ยังด้อยกว่า จึงส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นกลุ่มนี้เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านตามไปด้วย
หลังโควิดเร่งจัดการธุรกิจภาคบริการ-SMEs ทรุดหนัก
ทั้งผลประกอบการระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยที่คงจะฟื้นตัวช้า ปัญหาคุณภาพหนี้ รวมถึงพอร์ตหนี้ที่เข้ามาตรการรับความช่วยเหลือทางการเงินที่ลดลงช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านนั้น เป็นกระจกสะท้อนปัญหาเศรษฐกิจไทยหลายด้าน ดังนี้
โครงสร้างเศรษฐกิจที่มีธุรกิจที่เผชิญผลกระทบหนักจากโควิดในสัดส่วนสูง อาทิ โรงแรมและที่พัก ขนส่ง ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ ค้าส่งค้าปลีก ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 33.1% ต่อจีดีพี (ปี 2562) อันเป็นธุรกิจภาคบริการสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ฝั่งธนาคารพาณิชย์ ก็มีสินเชื่อในธุรกิจดังกล่าวในสัดส่วนที่สูงเช่นกัน โดยมีสัดส่วนถึง 49.0% ของสินเชื่อธุรกิจทั้งหมด (ไม่รวมกิจการด้านการเงิน) ในปี 2562 แม้ว่าจะทยอยลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 48.1% ณ สิ้นไตรมาส 2/2564 ขณะที่ หากเจาะเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีใน 5 หมวดนี้ จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาที่ 60.5% ณ สิ้นปี 2562 และ 64.0% ณ สิ้นไตรมาส 2/2564
ปัญหาขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ ที่ทำให้หลายธุรกิจมีปัญหาอยู่ก่อนแล้ว ถูกซ้ำเติมด้วยโควิดในปี 2563 ยกตัวอย่างธุรกิจในภาคบริการ เผชิญบริบทที่ท้าทายอยู่แล้วและจะท้าทายเพิ่มขึ้นจากพฤติกรรมลูกค้าทั้งในแนะนอกประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป การแข่งขันจากดิจิทัลแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการดั้งเดิมต้องปรับเป้าหมายและวิธีการทำธุรกิจใหม่ รวมถึงฉีกบริการด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มและหาจุดขายที่แตกต่างจากเดิม เป็นต้น ซึ่งกระแส Disruption ในรูปแบบต่างๆ ข้างต้นนี้ จะกระทบมากต่อธุรกิจเอสเอ็มอี
ขณะที่ พอร์ตของระบบธนาคารไทย เทน้ำหนักไปที่ธุรกิจเอสเอ็มอีในสัดส่วนที่สูงขึ้นหลังวิกฤตปี 2540 เพื่อลดการกระจุกตัวของพอร์ตลูกค้ารายใหญ่ โดยมีสัดส่วนสินเชื่อเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้นไปเกือบ 50% ในปี 2548 ก่อนที่จะทยอยลงลงมาอยู่ที่ 35.6% ในไตรมาส 1/2562 (ส่วนตั้งแต่ไตรมาส 2/2562 มีการเปลี่ยนนิยามขนาดธุรกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม จึงกระทบสัดส่วนของพอร์ตเอสเอ็มอีให้ลดลงค่อนข้างมาก) สุดท้ายแล้ว จึงทำให้สถานะของระบบธนาคารไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาขีดความสามารถทางการแข่งขันของลูกค้าทั้งทางตรงและทางอ้อมตามไปด้วย
ครัวเรือนมีสถานะทางการเงินที่ด้อยลงอีกหลังโควิด จาก 1) ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น 2) การฟื้นตัวในตลาดแรงงานมีแนวโน้มล่าช้า เพราะนอกจากการฟื้นตัวของธุรกิจจะไม่เท่ากันแล้ว ก็ยังมีประเด็นด้านทักษะแรงงานที่ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูหลังจากเผชิญปัญหาว่างงาน หรือทำงานต่ำระดับมาหลายปี โดยเฉพาะในภาคบริการ 3) รูปแบบการจ้างงานที่จะเปลี่ยนไปสู่การเป็นลูกจ้างประจำลดลง หรือมีสวัสดิการส่วนเพิ่มที่ลดลง เพื่อลดภาระต้นทุนของภาคธุรกิจ 4) แนวโน้มความต้องการแรงงานลดลง หลังธุรกิจมีการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุดจากพอร์ตสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ ลูกค้ารายย่อยมีสัดส่วน 36.8% ของสินเชื่อทั้งหมด ณ สิ้นไตรมาส 2/2564
โดยสรุปแล้ว มองไปข้างหน้า แม้ว่าระบบธนาคารพาณิชย์จะมีการฟื้นตัวของผลการดำเนินงานหรือปัญหาคุณภาพหนี้ที่คงจะล่าช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิดในรอบนี้ที่ยังมีอยู่ แต่โจทย์ที่สำคัญและน่ากังวลมากกว่า จะเป็นความอยู่รอดของธุรกิจและครัวเรือนที่ต้องฝ่าฟันปัญหาด้านรายได้ ขีดความสามารถทางการแข่งขัน รวมไปถึงหนี้สินที่เพิ่มขึ้นภายใต้บริบทเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมใหม่ที่เปลี่ยนไป ประกอบกับยังต้องเร่งหาคำตอบว่า ไทยจะอาศัยจุดแข็งของธุรกิจใดในการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศท่ามกลางข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีที่ไทยเก่งแต่เป็นเทคโนโลยีในโลกเก่า เพราะจะหมายความถึงความยั่งยืนของทิศทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ ครัวเรือน ตลอดจนธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ไทยในระยะยาว
ขณะที่ ในระหว่างนี้ ฝั่งธนาคารพาณิชย์ก็คงแก้ปัญหาและเร่งปรับตัวเฉพาะหน้าเพื่อหาวิธียืนยันรายได้ทางเลือกของลูกค้า การหาลูกค้าศักยภาพ (ที่มีจำนวนน้อยลง) การลดต้นทุนในมิติต่างๆ รวมถึงการหาโอกาสจากโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่มากไปกว่าโลกการเงินแบบเดิม ซึ่งแม้จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินให้ลูกค้าได้กว้างและหลากหลายขึ้นกว่าเดิม และพอจะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจประคองการเติบโตไว้ได้ แต่คงไม่สามารถเปลี่ยนให้กลายเป็นการเติบโตที่ยั่งยืนได้ หากไม่ได้มีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจหลังจากโควิดจบอย่างจริงจัง
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"