ทิศทางค่าเงินบาทไทยปี 2565 กับ 4 ปัจจัยสำคัญ

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทไทยปรับตัวอ่อนค่าที่ระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับว่าสูงสุดในรอบ 4 ปี โดยมีแนวโน้มการอ่อนค่าต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา จากระดับ 32.2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ระดับ 33.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

เปลี่ยนแปลงสูงถึง 4.8% ซึ่งถือเป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในกลุ่มสกุลเงินเอเชีย และหากเทียบตั้งแต่ต้นปี 2564 สกุลเงินบาทในปีนี้ถือเป็นสกุลเงินที่อ่อนค่ามากที่สุดในเอเชีย และสูงกว่าสกุลเงินเพื่อนบ้านอื่นๆ อย่าง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แม้จะมีบางช่วงที่เคยปรับตัวแข็งค่าอยู่ที่ระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
การอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 4 ปีของค่าเงินบาท นำมาด้วยคำถามสำคัญที่ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าภายในประเทศต่างก็สงสัยถึงแนวโน้มค่าเงินบาทในช่วงปลายปีนี้และในปีหน้าว่า จะมีทิศทางเป็นอย่างไร มีโอกาสจะอ่อนค่าต่อเนื่องไปมากกว่านี้หรือไม่ ซึ่งปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางค่าเงินบาทไทยในอนาคต ทั้งทิศทางการแข็งค่าและการอ่อนค่าของสกุลเงินบาทมี 4 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้
ปัจจัยแรก การระบาดของโรคโควิดสายพันธุ์เดลตาภายในประเทศไทย ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีอัตราการเติบโตน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อช่วงต้นปี เนื่องจากมาตรการควบคุมการระบาด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีการปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 แนวโน้มการเติบโตต่ำของเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติยังคงชะลอการลงทุนในประเทศไทยต่อไป ปัจจุบัน แม้สถานการณ์การระบาดปรับตัวดีขึ้น จากระดับจำนวนผู้ติดเชื้อที่มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง
แต่ประเด็นเรื่องการระบาดของโรคโควิดก็ยังคงมีผลทำให้เงินบาทไทยอ่อนค่าอยู่ในระดับที่สูงอยู่ ดังนั้น หากจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไตรมาสที่ 4 นี้ ก็อาจช่วยให้ค่าเงินบาทไทยมีความน่าสนใจในมุมมองนักลงทุนต่างชาติเพิ่มมากขึ้น และส่งผลต่อแนวโน้มการแข็งค่าในระยะสั้นได้
ปัจจัยที่ 2 แนวโน้มการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งในช่วงปลายปี 2564 นี้ และตลอดปี 2565 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในประเทศมากน้อยเพียงใด เนื่องจากรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ขาดหายไปตั้งแต่เริ่มต้นการระบาดของโรคโควิด ในเดือนมีนาคมปี 2563 การขาดรายได้จากนักท่องเที่ยวส่งผลทำให้ดุลบริการ อันเป็นส่วนหนึ่งของดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยติดลบต่อเนื่องมากว่า 5 ไตรมาส ซึ่งการขาดดุลบัญชีการชำระเงินถือเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เงินบาทไทยอ่อนค่าลงมากในปีนี้ ดังนั้น ในปี 2565 สถานการณ์การท่องเที่ยวไทยจึงถือว่ามีผลสำคัญต่อการกำหนดทิศทางค่าเงินบาท หากมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น ก็อาจส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมีการขาดดุลลดลง ค่าเงินบาทไทยก็มีแนวโน้มกลับมาแข็งค่าได้อีกในอนาคต
ทั้งสองปัจจัยส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าเพิ่มขึ้นในอนาคต ในขณะที่ยังมีอีก 2 ปัจจัยที่อาจส่งผลในเชิงตรงกันข้าม ที่จะทำให้ค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องไปอีก
ปัจจัยที่ 3 แนวโน้มการส่งออกและการนำเข้าในปี 2565 ที่อาจได้รับผลกระทบจากอุปทาน (Supply Shock) จากทั้งราคาต้นทุนที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และการขาดแคลนวัตถุดิบอย่างเซมิคอนดักเตอร์ ที่ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์ของประเทศไทย ส่งผลให้ดุลการค้าของไทยปี 2564 ที่เกินดุลลดลงเนื่องจากการนำเข้าของประเทศไทยมีการเติบโตที่ดีเมื่อเทียบกับการส่งออก
ในปี 2565 ภาคการส่งออกไทยมีแนวโน้มการเติบโตที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับปี 2564 เนื่องจากการส่งออกปี 2564 ได้รับแรงสนับสนุนจากความต้องการสินค้าเกษตรและสินค้าในต่างประเทศปริมาณมากตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในต่างประเทศ ส่งผลทำให้การส่งออกของประเทศไทยในปีนี้เติบโตได้ดี และถือเป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
แต่ในช่วงปี 2565 ปัญหาเรื่องราคาต้นทุนสินค้า ราคาวัตถุดิบด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและพลังงาน ยังคงอยู่ในระดับสูง อาจส่งผลให้ภาคการผลิตได้รับผลกระทบ จนทำให้การส่งออกปรับตัวต่ำลง ขณะเดียวกัน ภาคการนำเข้า ก็อาจมีการคงตัวอยู่ในระดับสูง เนื่องจากมูลค่าสินค้านำเข้าในกลุ่มพลังงาน เคมีภัณฑ์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามราคาพลังงานโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาน้ำมันสหรัฐฯ ที่เพิ่งมีการปรับตัวสูงสุดในรอบ 7 ปี เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มราคาน้ำมันในระยะยาวอาจกลับมาอยู่ระดับสูง หากอุปทานของน้ำมันยังมีอยู่อย่างจำกัด
ดังนั้น แนวโน้มดุลการค้าในปี 2565 จึงมีทิศทางที่จะเกินดุลน้อยลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนทำให้ ค่าเงินบาทไทยมีการอ่อนค่าต่อเนื่องเพิ่มขึ้นไปอีก
และสุดท้าย ปัจจัยที่ 4 ถือเป็นปัจจัยภายนอกสำคัญ คือการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่มีแนวโน้มแข็งค่าในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า เนื่องด้วยเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการฟื้นตัวที่ดีเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจอื่นๆ ทั่วโลก จากการสนับสนุนของมาตรการทางการคลัง ส่งผลให้การดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จำเป็นต้องตึงตัวมากขึ้น โดยมีแผนการปรับลดการซื้อสินทรัพย์ (QE Tapering) และปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต ส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์เป็นที่น่าสนใจกว่าสกุลเงินอื่น และทำให้เงินบาทไทยและสกุลเงินเอเชียอ่อนค่าต่อเนื่อง
จากการศึกษาผลกระทบของนโยบายการเงินสหรัฐฯ ต่อเงินบาทไทยในช่วงปี 2556-2558 พบว่า ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2556 ถึงมกราคม 2557 จะพบว่าค่าเงินบาทมีการอ่อนค่า 12.1% ตลอดช่วงระยะเวลาที่มีการประกาศแผนลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ และต่อมาในช่วงปี 2558 ตลาดการเงินมีการคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ทำให้ค่าเงินบาทไทยก็ยิ่งมีการอ่อนตัวต่อเนื่อง โดยอ่อนค่ากว่า 11.7 % ในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม 2558 ถึงกันยายน 2558 จนทำให้ค่าเงินบาทแตะจุดสูงสุดที่ระดับ 36.37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
สรุปในภาพรวมปี 2565 ปัจจัยด้านการควบคุมการระบาดของโรคโควิด ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในสายตานักลงทุนต่างชาติ และเพิ่มความต้องการเงินบาทให้สูงขึ้น แต่เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย อาจเป็นไปได้อย่างช้าๆ ประกอบกับทิศทางสกุลเงินดอลลาร์ที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นทั่วโลก อาจส่งผลให้ทิศทางเงินบาทไทยโดยรวมยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องไปตลอดทั้งปี 2565
โดย นริศ สถาผลเดชา
Source: The Standard Wealth

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"