เตือนรับมือดอกเบี้ยโลกขาขึ้น กูรูฟันธงกระทบไทย 3 ช่องทางหลัก ทำต้นทุนระดมเงินเพิ่ม ดึงเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า

การประกาศลดวงเงิน QE ในอัตราที่เร่งขึ้นเป็น 2 เท่าจากเดิม ซึ่งจะส่งผลให้วงเงิน QE ทั้งหมดสิ้นสุดในเดือนมีนาคม พร้อมทั้งส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้งในปี 2565 ล่าสุดของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) สะท้อนถึงทิศทางดอกเบี้ยโลกที่กำลังจะเข้าสู่ขาขึ้น

การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องและความไม่แน่นอนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ซึ่งรวมถึงไทยด้วย THE STANDARD WEALTH ได้ขอให้นักเศรษฐศาสตร์จาก 4 สำนักวิจัยวิเคราะห์ถึงผลกระทบจากการถอนคันเร่งมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องของ Fed ที่จะมีต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า
สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า จากการศึกษาของกรุงศรีพบว่า การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อตลาดเกิดใหม่และไทยผ่าน 3 ช่องทางหลัก ได้แก่ ตลาดตราสารหนี้ ตลาดหลักทรัพย์และอัตราแลกเปลี่ยน
โดยในส่วนของตลาดตราสารหนี้ เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลให้ตราสารหนี้ที่จะออกใหม่ในตลาดสหรัฐฯ มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า นักลงทุนจึงมีแรงจูงใจในการเทขายตราสารหนี้เดิม ซึ่งทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่เป็นผลดีต่อประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ยังต้องการสภาพคล่องผ่านการคงดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้เอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ขณะเดียวกัน การถอนคันเร่งของ Fed ก็จะก่อให้เกิดความกังวลว่าสภาพคล่องอาจหดตัว ทำให้นักลงทุนดึงเงินทุนออกจากตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่ที่มีแนวโน้มเผชิญแรงเทขายรุนแรงกว่า โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันขึ้นกับสัดส่วนการถือครองหลักทรัพย์ของชาวต่างชาติในตลาด
นอกจากนี้ แรงเทขายที่มากขึ้นทั้งในตลาดตราสารหนี้และตลาดหลักทรัพย์ ก็จะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงอัตราแลกเปลี่ยนจากกระแสเงินทุนไหลออก ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์
“สำหรับประเทศไทย เรามองว่าผลกระทบจะอยู่ในช่องทางตราสารหนี้และอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลัก โดยการศึกษาของวิจัยกรุงศรีพบว่า หาก Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1% จะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นราว 0.60% ซึ่งจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นราว 0.39% ทำให้ไทยมีต้นทุนการระดมทุนที่สูงขึ้นตามขึ้นไปด้วย แม้เราจะยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย” สมประวิณกล่าว
สมประวิณกล่าวอีกว่า วิจัยกรุงศรีได้ทำแบบจำลองว่าธนาคารกลางสหรัฐจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในระยะยาวมาอยู่ที่ 2.5% โดยพบว่าภายใต้สมมติฐานดังกล่าว อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของไทยจะปรับขึ้น 0.98% ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยย่อมเป็นแรงกดดันต่อต้นทุนการระดมทุนในวงกว้าง เนื่องจากถูกใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ชนิดอื่นๆ ในตลาด และอาจเป็นอุปสรรคสำคัญที่จำกัดการลงทุนเพิ่มเติมในอนาคตได้
การศึกษาของกรุงศรียังพบด้วยว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น 1% จะส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนของไทยปรับลดลง 3.2% โดยการลงทุนที่ลดลงนั้นจะส่งผ่านในทุกช่องทางในองค์ประกอบของ GDP ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าเครื่องจักรที่ลดลง การผลิตถูกจำกัด เกิดการชะลอตัวของการจ้างงาน ซึ่งจำกัดความสามารถในการบริโภค จนทำให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบทางลบวนไปมาหรือเกิด Negative Feedback Loop โดยในภาพรวมนั้นการลงทุนที่หายไปจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จะทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาวหายไปกว่า 0.4%
“การส่งผ่านผลกระทบจะใช้เวลาราว 5 ไตรมาส นั่นหมายความว่าเรามีเวลา 5 ไตรมาสในการเร่งฟื้นเศรษฐกิจ ถ้าดอกเบี้ยขึ้นแต่เศรษฐกิจเราดีผลกระทบก็จะไม่รุนแรง การดำเนินนโยบายการเงินและการคลังในช่วงต่อจากนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ ในส่วนของนโยบายการเงิน นอกจากการคงดอกเบี้ยเอาไว้ในระดับต่ำแล้ว การเร่งปล่อยกู้ Soft Loan ให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน สามารถฟื้นฟูกิจการและรักษาการจ้างงานได้ถือว่าจำเป็นมาก เรายังขาดตรงนี้ค่อนข้างมาก ส่วนนโยบายการคลัง การใช้มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายในกลุ่มที่ยังมีกำลังซื้อก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องทำ” สมประวิณกล่าว
หวั่นดอกเบี้ยขึ้นเจาะ ‘ฟองสบู่’ สินทรัพย์เสี่ยงแตก
ด้าน พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP Research กล่าวว่า หากการปรับดอกเบี้ยนโยบายของ Fed เป็นไปตามตัว Dot Plot หรือประมาณการอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คาดว่าจะขึ้นสามครั้ง (0.75%) ในปีหน้า สามครั้งในปี 2023 และอีกสองครั้งในปี 2024 จนไปสูงสุดประมาณ 2.25% จะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยที่ช้าที่สุดรอบหนึ่ง และยังนับเป็นการขึ้นดอกเบี้ยที่ไม่ได้มากนัก เมื่อเทียบกับระดับเงินเฟ้อในปัจจุบัน แต่ความเร็วในการขึ้นก็เร็วกว่าที่ตลาดคาดไว้แล้ว
“Fed กำลังจะปิดฉากสภาวะที่สภาพคล่องล้นมากๆ และแนวโน้มดอกเบี้ยกำลังจะเป็นขาขึ้น แต่ไม่ได้แปลว่าการลงทุนในหุ้นจะแย่เสมอไป โดยเฉพาะหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจดีขึ้น และส่งผ่านราคาที่สูงขึ้นได้ และในอดีตส่วนใหญ่แล้วผลตอบแทนของตลาดหุ้นยังเป็นบวกในช่วงที่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย แต่อาจจะมีความท้าทายต่อ Valuation และผลตอบแทนอาจจะดีแบบในช่วงดอกเบี้ยขาลงไม่ได้” พิพัฒน์กล่าว
อย่างไรก็ดี สิ่งน่ากังวลคือสภาพคล่องที่หดและดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น อาจจะทำให้เกิดความผันผวน ในระหว่างที่ตลาดปรับการคาดการณ์เรื่องความเร็วในการขึ้นดอกเบี้ย และดอกเบี้ยที่ขึ้นอาจจะไป Trigger ทำให้ฟองสบู่แตกจนสร้างปัญหากับเศรษฐกิจและตลาดการเงิน ซึ่งสิ่งที่ควรต้องระวังคือสินทรัพย์ที่น่าสงสัยว่าเป็นฟองสบู่ สินทรัพย์ที่แพงๆ สินทรัพย์ที่มี Duration ยาวๆ หุ้นที่พึ่งพาการกู้ยืมเงินระยะสั้น
“สภาพคล่องระหว่างประเทศอาจลดลง และค่าเงินดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้น จนสร้างแรงกดดันเงินทุนไหลเข้าออกในตลาดต่างประเทศด้วย อาจจะเริ่มได้ยินข่าวบริษัทขาดสภาพคล่องหรือผิดนัดชำระหนี้มากขึ้นได้ หรือบางประเทศค่าเงินอ่อนเพราะเงินไหลออก แต่ประเทศไทยคงไม่เกิดภาวะแบบนั้น ที่น่าห่วงคงเป็นเรื่องการขยายตัวมากกว่า พอน้ำลดอาจจะเริ่มเห็นว่าใครว่ายน้ำโดยไม่ใส่เสื้อผ้า” พิพัฒน์กล่าว
ต้นทุนระดมทุนผ่านตลาดบอนด์ส่อเพิ่มขึ้น
ขณะที่ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ประเมินว่า ประกาศล่าสุดของ Fed เป็นสิ่งที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้แล้ว จึงไม่ได้สร้างความตื่นตกใจมากนัก ในทางกลับกันตลาดน่าจะรู้สึกคลายความกังวลเรื่องเงินเฟ้อมากขึ้น เพราะในที่สุด Fed ลงมือทำอะไรเสียที
“สิ่งที่เราเห็นตอนนี้คือผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น 2 ปีของสหรัฐฯ ปรับขึ้นไปรอการขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้าแล้ว ส่วนตัวยาวที่สะท้อนความต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ ยังดูนิ่งๆ อยู่ สะท้อนว่าสภาพคล่องยังล้นระบบ คนยังอยากลงทุนอยู่ แต่ต้องจับตาดูด้วยว่าตลาดในตอนนี้สบายใจเกินไปหรือไม่ ตอนนี้หลายคนมองว่า Fed ชนะเงินเฟ้อได้แล้ว แต่ถ้าเงินเฟ้อเดือนธันวาคม มกราคม ยังเร่งต่อ การว่างงาน ต้นทุนการผลิตยังไม่ดีขึ้นจะทำอย่างไร” อมรเทพกล่าว
ทั้งนี้ หากย้อนกลับมาดูที่ไทยจะพบว่าเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบันยังมาจากอุปทานไม่ใช่อุปสงค์ ซึ่งไม่เพียงพอจะทำให้ดอกเบี้ยนโยบายขยับ แต่กลุ่มบริษัทที่ระดมทุนผ่านตราสารหนี้อาจจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนการเงินที่เพิ่มขึ้นบ้าง แต่เชื่อว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจะเป็นการทยอยปรับอย่างค่อยเป็นค่อยไป
“ผมมองว่าเศรษฐกิจบ้านเราจะเริ่มฟื้นตัวชัดเจนในครึ่งหลังของปี 2565 ในช่วงนั้นแบงก์ชาติน่าจะส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเพื่อแตะเบรกการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง และภาวะฟองสบู่ พร้อมสำรองกระสุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรับมือสำหรับวิกฤตในอนาคต” อมรเทพกล่าว
สำหรับผลกระทบต่อเงินบาท มองว่าในช่วงครึ่งแรกของปีหน้าเงินบาทมีแนวโน้มจะอ่อนค่าไปแตะระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์ได้ แต่ในช่วงครึ่งหลังปีหน้า เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้น
“คำแนะนำสำหรับนักลงทุนในภาวะที่เงินเฟ้อเร่งตัว ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นเช่นนี้ ผมมองว่าการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงยังเป็นไปได้ การลงทุนในตราสารทุนยังให้ผลตอบแทนมากกว่าเงินเฟ้อ แต่ต้องระวังความผันผวน ควรเลือกกลุ่มปัจจัยพื้นฐานดี สำหรับกลุ่มผู้นำเข้าส่งออก อยากเตือนว่าอย่าชะล่าใจว่าบาทจะอ่อนยาว ควรป้องกันความเสี่ยงค่าเงินด้วย” อมรเทพกล่าว
แนะเร่งระดมทุนรับมือดอกเบี้ยขาขึ้น
กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส Chief Investment Office ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การประกาศลดวงเงิน QE และส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยของ Fed ไม่ใช่เรื่องที่เกินความคาดหมายของตลาด เนื่องจากเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ว่าอาจไม่ใช่ภาวะชั่วคราว การเข้ามาดูแลของ Fed จึงทำให้ตลาดสบายใจขึ้น แม้ว่าปัญหาคอขวดของซัพพลายเชนจะยังคงอยู่ก็ตาม
“การขึ้นดอกเบี้ยสำหรับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักเป็นเรื่องที่เขารับได้ เพราะเศรษฐกิจเขาฟื้นตัวได้ดี บอนด์ยีลด์ในสหรัฐคงค่อยๆ ขยับขึ้น แต่ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังช้ากว่า จะต้องเผชิญกับต้นทุนการเงินที่ขยับขึ้นตามบอนด์ยีลด์ ซึ่งอาจส่งผลต่อความเร็วในการฟื้นตัว โดยไทยเราอยู่ในกลุ่มนี้” กำพลกล่าว
กำพลระบุว่า ภาวะดอกเบี้ยในช่วง 2-3 ปีจากนี้น่าจะเป็นขาขึ้น ดังนั้นในภาวะที่ดอกเบี้ยของไทยยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ การเร่งระดมทุนและบริหารอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าจะช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนได้
สำหรับทิศทางค่าเงินบาทในปีหน้าเชื่อว่าจะทยอยอ่อนค่าลง โดยมีโอกาสเคลื่อนไหวในระดับที่อ่อนค่ากว่าแนว 34 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 อย่างไรก็ดี หากการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปี ดุลบัญชีเดินสะพัดที่กระเตื้องขึ้นอาจจะหนุนเงินบาทให้กลับมาแข็งค่าขึ้นที่ระดับ 32-33 บาทต่อดอลลาร์ได้
โดย ดำรงเกียรติ มาลา
Source: The STandard Wealth

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"