ธนาคารกลางสหรัฐจะควบคุมเงินเฟ้อได้หรือไม่

ครั้งที่แล้วผมแสดงความเห็นว่าในปีนี้ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือเงินเฟ้อที่ร้อนแรงที่สหรัฐ ซึ่งคำถามที่ตามมาคือธนาคารกลางสหรัฐจะควบคุมอย่างไร “We are not makers of history. We are made by history” (Martin Luther King Jr.)

ธนาคารกลางสหรัฐจะควบคุมเงินเฟ้อให้ปรับตัวลดลงมาเหลือประมาณ 2.0-2.5% ภายในปลายปีนี้ โดยไม่กระทบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ (ทำให้จีดีพีขยายตัวได้ประมาณ 4.0%) ได้หรือไม่
ต่อจากนั้นเศรษฐกิจสหรัฐก็น่าจะขยายตัวประมาณ 2% ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวเมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะปกติในระยะยาว
การคาดการณ์ดังกล่าวเป็นการคาดการณ์ในแง่ดีคือ ธนาคารกลางสหรัฐสามารถปรับนโยบายการเงินให้ตึงตัวขึ้นในลักษณะที่สามารถควบคุมให้เงินเฟ้อชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจก็ชะลอลงอย่างช้าๆ โดยไม่ได้ทำให้คนตกงานมากขึ้นนั่นเอง
การคาดหวังให้เกิด “soft landing” นั้น บางครั้งก็เกิดขึ้นได้จริงแต่หลายครั้งสิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือ การปรับขึ้นดอกเบี้ยที่เชื่องช้าเกินไปในช่วงแรก ทำให้ตามเงินเฟ้อไม่ทันและเมื่อถูกกดดันให้รีบเร่งการปรับขึ้นดอกเบี้ยก็จะทำมากเกินไป
ธนาคารกลางสหรัฐจะควบคุมเงินเฟ้อได้หรือไม่ส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะตกต่ำ (recession) การว่างงานเพิ่มขึ้นเอย่างมาก ซึ่งเป็นการแลกมากับการปรับลดลงของเงินเฟ้ออย่างฉับพลันภายในเวลาเพียง 6-9 เดือนที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอย
ครั้งนี้ทั้งธนาคารกลางสหรัฐและสถาบันการเงินชั้นนำของสหรัฐก็มองว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะสามารถควบคุมให้เงินเฟ้อที่สหรัฐปรับลดลงได้อย่างน่าพอใจ
กล่าวคือธนาคารกลางสหรัฐคาดการณ์ว่า Personal Consumption Expenditure (PCE) Inflation หรือเงินเฟ้อที่วัดจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของเอกชนในส่วนที่เป็นเงินเฟ้อพื้นฐาน (core) ที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานนั้นจะปรับลดลงจาก 4.7% ในเดือนพฤศจิกายน 2021 (ตัวเลขล่าสุด) มาเหลือเพียง 2.1% ภายในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้
ในขณะที่สถาบันการเงินชั้นนำของสหรัฐคาดการณ์ว่า core PCE inflation จะอยู่ที่ประมาณ 2.5% ซึ่งปรับลดลงเหลือครึ่งหนึ่งของตัวเลขในเดือนพฤศจิกายน
โดยการปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเพียง 3-4 ครั้งในปีนี้ ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ประมาณ 1% กล่าวคือดอกเบี้ยนโยบายจริง (ดอกเบี้ยนโยบายลบด้วยเงินเฟ้อ) จะยังติดลบมากถึง 1.5% ซึ่งผมไม่ค่อยแน่ใจว่าเมื่อทำไปแล้วจะได้ผลตามนั้น
แต่ผมเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐคิดว่าทำได้ เพราะเกิดขึ้นแล้วในช่วง 2010-2019 (10 ปีก่อนโควิดระบาด) ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐกำหนดดอกเบี้ยนโยบายใกล้ศูนย์นานต่อเนื่องถึง 6 ปีจากปี 2009 ถึงปี 2015 ในขณะที่เงินเฟ้อในช่วงเดียวกัน (วัดจาก core PCE inflation ในช่วง 2010-2019) นั้นเฉลี่ยเพียง 1.55% ต่อปี
หากจะเจาะดูในรายละเอียดก็จะพบว่า ธนาคารกลางสหรัฐเริ่มปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเมื่อธันวาคม 2015 1 ครั้ง (0.25%) และอีก 1 ครั้ง (0.25%) ในธันวาคม 2016 ตามด้วยการปรับดอกเบี้ยขึ้น 3 ครั้ง (0.75%) ในปี 2017
และปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 4 ครั้งในปี 2018 (1.0%) ซึ่งเป็นปีแรกที่นาย Jerome Powell ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐแทน Janet Yellen โดยการปรับขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวถูกคัดค้านและตำหนิอย่างแรงจากประธานาธิบดีทรัมพ์
ต่อมาเศรษฐกิจชะลอตัวลงในปี 2019 ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐปรับลดดอกเบี้ยลง 2 ครั้ง (0.50%) จาก 2.5% เหลือเป็น 1.75% (ต่อจากนั้นเมื่อโควิดระบาดธนาคารกลางสหรัฐก็เร่งลดดอกเบี้ยลงเหลือศูนย์ในเดือนเมษายน 2020) ที่สำคัญคือในช่วงเวลาดังกล่าว core PCE inflation คือ
จะเห็นได้ว่าในครั้งที่แล้วธนาคารกลางสหรัฐปรับดอกเบี้ยขึ้นก่อนที่เงินเฟ้อจะขยับขึ้นสูงกว่าเป้าเงินเฟ้อ (ที่ 2%) ตอนปลายปี 2015 (core PCE inflation = 1.3%) และปรับขึ้นอีกครั้ง (0.25%) ในปี 2016
แม้ว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 1.6% เป็นการดำเนินนโยบายการเงินตามแบบฉบับดั้งเดิมคือการขึ้นดอกเบี้ยแบบ “ตัดไฟแต่ต้นลม” หรือ pro-active เพราะเห็นว่าอัตราการว่างงานปรับลดลงมาต่ำกว่า 5% ซึ่งเคยประเมินว่าเป็นระดับการว่างงานที่ต่ำที่สุด ที่จะไม่กระตุ้นให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกกันในเชิงวิชาการว่า NAIRU คือ non-accelerating inflation rate of unemployment
ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่ออัตราการว่างงานลดลงไปอีกในปี 2016 2017 2018 (เหลือเพียง 3.9% ในปี 2018) ธนาคารกลางสหรัฐก็รีบเร่งปรับดอกเบี้ยขึ้นไปอีก โดยเฉพาะในปี 2017 และ 2018 ที่อัตราการว่างงานต่ำกว่า NAIRU ถึง 1% ทั้งๆ ที่อัตราเงินเฟ้อยังต่ำกว่าเป้าเงินเฟ้อในปีดังกล่าว
นอกจากนั้นก็ยังได้ทำให้ระบบการเงินตึงตัวขึ้นไปอีกในปี 2018 โดยการลดทอนงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐ (balance sheet run off) จากประมาณ 4.4 ล้านล้านเหรียญเหลือ 4.0 ล้านล้านเหรียญ
แต่ผลที่ตามมาคือ เศรษฐกิจชะลอลงมากเกินคาดในปี 2019 และราคาหุ้นลดลงในปี 2018 ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐต้องรีบกลับลำและหันมาลดดอกเบี้ยนโยบายและหยุดการลดงบดุล (ขายพันธบัตรระยะยาว) และคงจะรู้สึกว่าได้รับบทเรียน “ราคาแพง” ว่าพลาดไปแล้ว เพราะรีบเร่งการปราบเงินเฟ้อเร็วเกินจำเป็น เพราะอาศัยอัตราว่างงานต่ำกว่า 5% เป็นตัวแปรหลักในการขับเคลื่อนนโยบายการเงิน
ดังนั้น ต่อไปนี้จะต้องยับยั้งชั่งใจ “patient” (ไม่รีบปรับนโยบายการเงินให้ตึงตัวขึ้นเร็วเกินเหตุ) ต่อมาเมื่อต้องเผชิญกับการระบาดของโควิดที่ทำให้เงินเฟ้อลดลงไปอีก ก็คงทำให้ตื่นตระหนกว่า เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืด ทำให้ต้องออกมาประกาศนโยบาย average inflation targeting เมื่อเดือนสิงหาคม 2020
แปลว่าเนื่องจากในอดีตเงินเฟ้อต่ำกว่าเป้า ดังนั้นจะต้องรอให้เงินเฟ้อสูงกว่าเป้าไปอีกหลายปี (กี่ปี?) จึงจะทำให้ “เฉลี่ยเงินเฟ้อ” เข้าเป้าแล้วจึงจะเริ่มดำเนินนโยบายการเงินให้ตึงตัวขึ้น
กล่าวคือเป็นการเชื้อเชิญให้เงินเฟ้อสูงเกินเป้าไปนานโดยไม่ต้องกลัวความเสี่ยงเงินเฟ้ออาจเร่งตัวสูงขึ้นและ “ฝังราก” (raise inflationary expectations) โดยในช่วงแรกก็อธิบายว่าเงินเฟ้อจะสูงขึ้นเพียงชั่วคราว (transitory)
แต่เมื่อไม่เป็นเช่นนั้น ก็เริ่มเปลี่ยนท่าทีให้ขึงขังขึ้นในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมายอมรับว่าเงินเฟ้ออาจไม่ได้สูงขึ้นเพียงชั่วคราว (elevated)
แต่ผมจะขอเปรียบเทียบว่าในกรณีที่เลวร้ายที่สุดนั้น นโยบาย average inflation targeting จะเปรียบเสมือนการบอกว่าในเมื่อในอดีตคอเลสเตอรอลของผมนั้นอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 200 มานานหลายปี
ดังนั้น ปัจจุบันและอนาคตคอเลสเตอรอลจะสูงกว่า 200 ไปอีกหลายปีก็ยังไม่ควรจะต้องตกใจและรีบลดการกินแป้ง ไขมันและน้ำตาลหรือต้องเริ่มออกกำลังกาย ดังนั้นธนาคารกลางสหรัฐคงกำลังหนาวๆ ร้อนๆ กลัวคำพังเพยว่า “Be careful what you wish for”
โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ | เศรษฐศาสตร์ + สุขภาพ
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"