นักเศรษฐศาสตร์ฟันธง กนง. ‘คงดอกเบี้ย’ สวนทางดอกเบี้ยโลกขาขึ้น

นักเศรษฐศาสตร์ฟันธง ถก กนง.นัดแรก ‘คงดอกเบี้ย’ จับตา 3 ปัจจัยกำหนดนโยบายการเงินในระยะถัดไป ท่ามกลางดอกเบี้ยโลกที่เป็นแนวโน้มขาขึ้น
การประชุมนัดแรกของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ประจำปี 2565 ภายใต้ปัจจัยรุมเร้ามากมาย ที่สร้างความหนักอกหนักใจให้คณะกรรมการ กนง.ไม่น้อย ต่อการพิจารณาเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้
ทั้งจากปัญหาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โอมิครอน ที่การแพร่ระบาดยังไม่หยุดระดับการติดเชื้อระดับหมื่นคนต่อวัน รวมถึงกระแสโลกที่มีพูดถึงทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นในปีนี้ ภายใต้การส่งสัญญาณของ ธนาคารหลักของโลก โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐที่พร้อมปรับดอกเบี้ยขึ้นครั้งแรก และเตรียมถอนมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือคิวอีในเร็ววันนี้
“สมประวิณ มันประเสริฐ” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัย และหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า คาดการณ์ว่า กนง.น่าจะยัง “คงดอกเบี้ยนโยบาย” ไว้ที่ 0.50% เพราะการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ จะยิ่งผลกระทบต่อประชาชนมากขึ้น โดยเฉพาะภายใต้เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ล้วนสร้างผลกระทบต่อกลุ่มคนไม่เท่ากัน
กลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักๆ จากการปรับขึ้นของเงินเฟ้อคือ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มนี้มีความเปราะบางอยู่แล้ว หากมีการขึ้นดอกเบี้ยไปอีก กลุ่มนี้จะยิ่งได้รับผลกระทบมากขึ้น ให้มีภาระค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ภายใต้การเตรียมปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ แม้จะเป็นข่าวดี ที่สะท้อนให้เห็นเทรนด์ของโลก ที่กำลัง “ฟื้นตัว”แต่สิ่งเหล่านี้ ไม่ดีกับไทยมากนัก เพราะประเทศไทยปัจจุบัน มีการฟื้นตัวช้า ดังนั้นหากต่างประเทศมีการขึ้นดอกเบี้ย ท้ายที่สุดประเทศไทยอาจถูกกระทบได้
วิจัยกรุงศรีฯ ศึกษาพบว่า หากสหรัฐมีการขึ้นดอกเบี้ยไปถึง 2566 อย่างต่อเนื่อง ไปสู่ 2.5% ต่อเนื่องใน 5 ไตรมาสหลังจากนี้ จะฉุดการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย หรือจีดีพีไทยลง 0.4% ดังนั้นเราอาจถูกกระทบได้จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่จะห่างกันมากระหว่างไทยและสหรัฐ หรือธนาคารกลางอื่นๆ
“ทิม ลีฬหะพันธุ์” นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) ประเมินว่า ครั้งนี้ กนง.น่าจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% และคาดคงต่อเนื่องไปถึงกลางปีหน้า
แต่อย่างไรก็ตาม มี 3 ปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ที่จะมีผลต่อทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้าคือ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ ที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยเอื้อ หรือเป็นแรงกดดันให้กนง.สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้แล้ววันนี้ ดังนั้นอยากฟังมุมมองของ กนง.ครั้งนี้ ว่ามองทิศทางเงินเฟ้ออย่างไร
ถัดมาคือ ภาพรวมของหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้น ภายใต้ดอกเบี้ยต่ำมานาน ส่งผลให้คนเป็นหนี้เยอะ กู้เงินเยอะเหล่านี้สร้างความกังวลหรือไม่ รวมถึงภายใต้ดอกเบี้ยต่ำ ยังเป็นการหนุนให้เกิดการออกไปแสวงหาผลตอบแทนสูงขึ้นมาก (search for yield) ที่สูงขึ้น ดังนั้นเหล่านี้อาจสร้างความกังวลในการดำเนินนโยบายและการพิจารณาทิศทางดอกเบี้ยได้
สุดท้ายคือ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทย และสหรัฐ ที่มีแนวโน้มห่างกันมากขึ้น เหล่านี้มีผล และสร้างความกังวลต่อ กนง. หรือมีอิมแพคต่อการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายการเงินช่วงที่เหลือของปีนี้หรือไม่
“มี 3 ปัจจัยที่อยากฟังท่าทีของ กนง.ว่ามองอย่างไร เพื่อให้เรามีการมองภาพการดำเนินนโยบายการเงินไปข้างหน้า ทั้งแรงกดดันเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ยของเฟด มีผลกับดอกเบี้ยไทยหรือไม่ รวมถึงหนี้ครัวเรือนสร้างความกังวลให้ ธปท.หรือไม่ ซึ่งทำให้ กนง.ต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่เราประเมินไว้หรือไม่”
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินการประชุม กนง.ครั้งนี้ว่า กนง.น่าจะมีการคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต่อไป แม้มองว่าเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากโอมิครอนจำกัดและน้อยกว่าผลกระทบจากเดลตา แต่เศรษฐกิจไทยยังเต็มไปด้วยความ “เปราะบาง” ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาอีกสักพัก กว่าจะกลับเข้าสู่ระดับก่อนโควิด-19 ได้
ดังนั้นมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน และการคลังที่ต่อเนื่องจึงยังมีความจำเป็นที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย แต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทย ยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยง จาก “เงินเฟ้อ”ที่เร่งตัวขึ้นสูงต่อเนื่อง
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไปยังกำลังซื้อของผู้บริโภค และอาจเป็นความเสี่ยงหลักของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ หลังจาก ราคาสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะราคาอาหารสด และพลังงานพุ่งสูงขึ้นอย่างมากตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
โดยเฉพาะเนื้อหมูเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% ในขณะที่ ราคาอาหารสดอื่นๆ เช่น ไก่ ไข่ไก่ และกุ้งก็ปรับสูงขึ้นราว 20% เหล่านี้ กระทบต่อไปยังกำลังซื้อของผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้น คาดว่า กนง. คงจะยังไม่พิจารณาเลือกใช้นโยบายการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดกันเงินเฟ้อตามทิศทางธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก จากเศรษฐกิจไทยยังคงไม่มีความแข็งแกร่งเพียงพอ
นอกจากนี้ กนง.คงจะมีมุมมองว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะปรับลดลงได้ในระยะข้างหน้า หากปัญหาในฝั่งอุปทานนั้นคลี่คลายลง ซึ่งแม้ว่าเงินเฟ้อจะเร่งตัวสูงขึ้น แต่ กนง. น่าจะยังคงคาดการณ์ว่าระดับเงินเฟ้อของไทยในปีนี้น่าจะยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของ กนง. ที่ 1-3%
เกียรตินาคินภัทร ออกรายงาน “จับตาเงินเฟ้อโลกและไทย ความเสี่ยงใหญ่เศรษฐกิจปี 2022” ว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยคาดเงินเฟ้อทั้งปีจะขึ้นจาก 2% เป็น 2.3% ทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะสูงขึ้นแตะระดับ 3% ได้ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงไตรมาส 1 จะปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับ 3.5% ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 11 ปี
ในด้านการดำเนินนโยบายการเงิน มองว่าเผชิญความท้าทายหลายด้าน จากวัฏจักรเศรษฐกิจไทยแตกต่างจากวัฏจักรเศรษฐกิจโลกทำให้การตัดสินใจปรับดอกเบี้ยนโยบายต้องตัดสินใจเลือกระหว่างการดูแลการเติบโตของเศรษฐกิจและการดูแลเงินเฟ้อ
โดยมีความท้าทายใน 3 มิติคือ เศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว อัตราเงินเฟ้อโลกสูงขึ้น และการขึ้นดอกเบี้ยของต่างประเทศที่ส่งผ่านมาที่ไทย และจะเป็นแรงกดดันให้ต้นทุนการกู้ยืมสำหรับธุรกิจในไทยสูงขึ้นตามส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น
ในขณะที่ ธปท.ยังปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นไม่ได้ อาจทำให้เงินทุนมีโอกาสไหลออกมากขึ้น ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าและกระทบเงินเฟ้อให้สูงขึ้นอีกได้
โดย KKP Research ประเมินว่า ธปท. ยังคงให้น้ำหนักกับปัจจัยด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากที่สุด และยังเชื่อว่าเงินเฟ้อในปัจจุบันเป็นสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว โดยคาดการณ์ว่า ธปท.อาจสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ 1 ครั้งในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ หากนักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถกลับเข้ามาได้ตามคาด
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"