BOT Policy Repositioning ธปท.ปรับตัว เมื่อโลกเปลี่ยน

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดงาน “ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย เพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน” เพื่อเปิดตัวเอกสารรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคาร

เพื่อกำหนดนโยบายได้อย่างครอบคลุม เป็นธรรม รองรับอนาคต และเป็นประโยชน์ส่วนรวมมากที่สุด
งานนี้ถือเป็นงานสำคัญมากรับปีใหม่และตรุษจีน เพราะท่านผู้ว่าการเศรษฐพุฒินำทีมแถลงไขเอง ผมเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ทราบแนวทางการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติในยุคท่านผู้ว่าการคนใหม่ เลยขอสรุปใจความสำคัญของงาน พร้อมทั้งชวนวิเคราะห์ต่อยอดเพื่อให้เห็นถึงโอกาสและความท้าทายของระบบการเงินไทยในบริบทการเงินในโลกอนาคตดังนี้ครับ
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกการเงิน ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่พัฒนาและเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด แบงก์ชาติเห็นว่าการกำหนดนโยบายสำหรับอนาคตต้องประกอบด้วยหัวใจหลัก 3 ประการ ได้แก่ ดิจิทัล (digital) ยั่งยืน (sustainable) และยืดหยุ่นปรับตัวได้ง่าย (resilient)
ประการแรก ภาคการเงินไทยต้องพร้อมในการรับมือกับโลกดิจิทัลด้วยการสนับสนุนการแข่งขัน พัฒนาระบบสาธารณูปโภคดิจิทัลพื้นฐานที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเป็นธรรมและเปิดกว้าง ไม่ผูกขาดและสร้างกลไกเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อพัฒนาต่อยอดบริการทางการเงินที่อำนวยประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ
ประการที่สอง นโยบายทางการเงินในอนาคตต้องมีความยั่งยืน ลดการสั่งการในลักษณะ top-down จากผู้กำกับไปสู่ผู้อยู่ภายใต้กำกับ แต่ใช้มาตรการกระตุ้นเพื่อให้เปลี่ยนพฤติกรรมที่สอดคล้องกับทิศทางของการพัฒนาประเทศ และประการสุดท้าย นโยบายทางการเงินสมัยใหม่ต้องเสริมสร้างความยืดหยุ่นให้แก่ภาคการเงิน กล่าวคือ ไม่เน้นความใหญ่โตของสถาบันการเงิน (ปัญหา too big to fail) แต่เมื่อเจอวิกฤตแล้วต้องลุกและเรียนรู้ปรับตัวได้เร็ว
ด้วยหลักการทั้ง 3 แบงก์ชาติมองต่อไปว่า แนวทางการกำกับดูแลต้องพัฒนาไปเป็นความกำกับดูแลตามความเสี่ยง กิจกรรมทางการเงินหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดมีความเสี่ยงมาก ก็ควรอยู่ภายใต้มาตรการที่มีความเข้มข้นในการกำกับดูแลสูง หากกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดมีความเสี่ยงต่ำ ก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้มาตรการกำกับดูแลที่เข้มข้นนัก นอกจากนั้น เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและคล่องตัว
แบงก์ชาติเสนอดัง ๆ ว่า ต่อไปนี้จะลดการใช้มาตรการกำกับแบบลงรายละเอียด หรือ prescriptive regulation ดีหรือไม่ โดยจะหันไปใช้การวางหลักการกว้าง ๆ แล้วให้ภาคเอกชนหาวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับบริบทของตนเอาเอง (principle-based regulation) นอกจากนั้น หากเป็นกิจกรรมใหม่ที่ไม่ทราบความเสี่ยงหรือมีความไม่แน่นอนสูง (uncertainty) ก็ควรมีราวกั้น (guard rail) เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะตามมาอย่างคาดไม่ถึง และแน่นอนสิ่งที่ทางแบงก์ชาติเป็นกังวลมากที่สุดในขณะนี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง “สินทรัพย์ดิจิทัล” โดยเฉพาะการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเครื่องมือหรือสื่อกลางเพื่อให้บริการชำระเงิน ซึ่งระบบการชำระเงินเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจของประเทศ
นอกจากผมจะเห็นด้วยกับ “broad message” ของงานแล้ว ยังขอชูป้ายไฟสนับสนุนแนวทางการขอความคิดเห็นและการเผยแพร่เอกสารที่เป็น “living document” หรือการสื่อสารด้วยการโยนหินถามทางในลักษณะรายงานเพื่อถามความคิดเห็น (consultation paper) ที่สามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขได้ตลอดเวลา ไม่ตายตัว หวังว่าจะเป็นแนวทางให้หน่วยงานของรัฐอื่น ๆ นำไปปรับใช้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคเอกชนในการกำหนดนโยบายสำคัญ ๆ ของประเทศต่อไป
เอาล่ะ ชมมามาก ขออนุญาตมีข้อสังเกตจากมุมมองของนักกฎหมายในบางประเด็นที่นำเสนอโดยท่านผู้ว่าการและทีมงาน เผื่อจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาแนวทางทำงานต่อไปไม่มากก็น้อยครับ
ข้อแรก เรื่องแนวทางการกำกับดูแลกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทใหม่ที่มีความไม่แน่นอนสูง หรือประเมินความเสี่ยงไม่ได้ด้วยมาตรการตั้ง “guard rail” (ซึ่งผมคิดว่าคงหมายถึงการตั้งการ์ดป้องกัน หรือห้ามกระทำการทั้งหมด หรือบางส่วนที่ยังไม่ทราบถึงผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น) อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับทุกเรื่อง เพราะการตั้งการ์ดอาจไม่สามารถสกัดกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ เหล่านี้ได้ โดยเฉพาะหากมีเทคโนโลยีทางการเงินที่สามารถช่วยหลบเลี่ยงกฎระเบียบและการกำกับดูแล
ตัวอย่างเช่น บริการชำระเงินด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลเกิดขึ้นแล้วในโลก Metaverse โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตหรืออยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ดังนั้น หากจะใช้มาตรการ guard rail หรือการห้ามในลักษณะนี้ควรเป็นมาตรการชั่วคราวเท่านั้น และควรใช้ควบคู่กับกลไกอื่นที่จะช่วยให้ทั้งผู้กำกับดูแลและภาคเอกชนเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้ไปพร้อม ๆ กัน เช่น การออกแบบการทดลองทางการกำกับดูแลที่เหมาะสม (regulatory sandbox) เป็นต้น
ข้อที่สอง การกำกับดูแลแบบวางหลักการ หรือ principle-based regulation ฟังดูดีครับ แต่จากประสบการณ์ทำวิจัยในเรื่องนี้ และจากการคุยกับผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจอาจไม่ชอบเท่าไหร่นะครับ เพราะเขาไม่รู้จะต้องทำตัวอย่างไร เหมือนเป็นนักเรียนต้องเข้าห้องสอบ แต่ครูบอกว่าไม่มีโจทย์นะ ให้ไปคิดโจทย์และตอบกันเอง แต่ถ้าคิดโจทย์และคำตอบไม่ตรงใจครู โดนทำโทษ !
ภาคธุรกิจชอบความแน่นอนครับ บอกมาเลยว่าให้เขาทำอะไร ทำอย่างไร และใช้เวลาแค่ไหน ผู้ประกอบการดี ๆ ทุกรายยินดีปฏิบัติตาม เรื่องนี้ก็เป็นโจทย์ใหญ่ด้านการกำกับดูแลเหมือนกันว่าแบงก์ชาติจะทำอย่างไรในการกำหนดมาตรการกำกับดูแลที่ยืดหยุ่น และในขณะเดียวกัน ก็ให้ความแน่นอนกับภาคเอกชนเพื่อวางแผนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อนึ่ง ประเทศที่เรียกได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของหลักการกำกับดูแลแบบวางหลัก คือ ประเทศอังกฤษ โดยหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินในขณะนั้น (Financial Services Authority-FSA) เริ่มมีการนำแนวทางนี้มาใช้เมื่อปี 2550 (ค.ศ. 2007) ก่อนวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ไม่นาน และได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุของวิกฤตการเงินโลก ในปัจจุบัน ทั้งธนาคารกลางอังกฤษและหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ ก็ยังถกเถียงกันเป็นวงกว้างว่าควรจะใช้แนวทางการกำกับดูแลในรูปแบบไหนดี ดังนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ควรก้าวเดินอย่างระมัดระวังให้มากครับ
ข้อสุดท้าย จากที่ฟังท่านผู้ว่าการและทีมงาน เห็นว่าแบงก์ชาติจะมีการทำ regulatory guillotine หรือการยกเลิกกฎระเบียบด้วย ซึ่งดีมาก แต่ยังมีคำถามคาใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติ ซึ่งผมยัง
ไม่แน่ใจว่าจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร
เพราะถ้าการทำ regulatory guillotine แปลว่ายกเลิกกฎเก่าเฉย ๆ โดยไม่มีการกำหนดทิศทาง หลักเกณฑ์ หรือการออกกฎใหม่มาทดแทน อาจก่อให้เกิดปัญหาได้มากกว่าปัญหาที่ต้องการแก้ อย่าลืมว่าภาคธุรกิจเขาพัฒนาเติบโตขึ้นบนโครงสร้างการกำกับดูแล (regulatory skeleton) ที่ ธปท.เป็นคนวางไว้ การไปเอาโครงสร้างพวกนี้ออกต้องทำอย่างเป็นระบบ มีหลักการ และมีการสื่อสารล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิด regulatory shock ได้
กล่าวโดยสรุป ผมเชื่อว่าน้อยคนที่จะไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่แบงก์ชาติเสนอมาข้างต้น หากจะมีความเห็นต่างก็คงเป็นในเรื่องรายละเอียด เป็นกระพี้ไม่ใช่แก่นสารของเรื่องครับ แต่ต้องบอกตรงนี้เลยว่า งานยากงานหินยังไม่เริ่ม โจทย์ใหญ่ยักษ์คือจะถ่ายทอดหลักการหรือแนวคิดเหล่านี้ออกมาเป็นการปฏิบัติจริงที่เห็นผลได้อย่างไร งานช้างแบบนี้ไม่แล้วเสร็จในเร็ววันแน่นอน
ท่านผู้อ่านท่านใดที่สนใจศึกษาเพิ่มเติมสามารถตามอ่านเอกสารโดยละเอียดได้จากเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"