รัสเซีย-ยูเครน : ความขัดแย้งโลกระทึก

นาทีนี้เหตุการณ์ที่ทั่วโลกต่างจับตามองอย่างไม่กะพริบ คงหนีไม่พ้นประเด็นภูมิรัฐศาสตร์คือ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ และชาติสมาชิกทั้งหลายแห่งองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้)

ล่าสุด ณ วันที่ผู้เขียนกำลังเขียนบทความนี้ (28 ก.พ.) เหตุการณ์ยิ่งบานปลายเมื่อรัสเซียพยายามรุกคืบเข้าถึงกรุงเคียฟ นครหลวงของยูเครน ขณะที่รัสเซียถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยชาติสมาชิกนาโต้อย่างต่อเนื่อง ถึงขั้นที่กำลังจะถูกโดดเดี่ยวจากระบบการเงินโลก
(หกชาติตะวันตกออกแถลงการณ์ร่วมกันเมื่อวันที่ 26 ก.พ. ว่าจะตัดธนาคารรัสเซียบางรายออกจากระบบ SWIFT1) โดยรัสเซียได้ตอบโต้โดยสั่งการให้กองกำลังที่รับผิดชอบด้านอาวุธนิวเคลียร์ "เตรียมพร้อมเป็นพิเศษ" ซึ่งเป็นระดับการแจ้งเตือนสูงสุดของกองกำลังขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ (Strategic Missile Forces) ของรัสเซีย
หลายท่านอาจสงสัยว่าแท้จริงแล้วอะไรคือชนวนเหตุแห่งความขัดแย้งนี้ และจะเกิดผลกระทบอะไรกับเราบ้าง หากสงครามยืดเยื้อ วันนี้จึงขอชวนท่านผู้อ่านเจาะลึกประเด็นนี้กันครับ
ชนวนเหตุแห่งความขัดแย้งในปัจจุบันสามารถสรุปได้เป็น 4 ประการสำคัญ ได้แก่
1) ต้นกำเนิดยูเครนในประวัติศาสตร์สมัยใหม่: ยูเครนเคยเป็นสมาชิกของสหภาพโซเวียตมาก่อน จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ.1991 ได้แยกตัวออกมาหลังการล่มสลายของสหภาพฯ โดยยังมีชาวรัสเซียจำนวนมากอาศัยอยู่ในยูเครนโดยเฉพาะฝั่งตะวันออก ทั้งนี้ ยูเครนกลายเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย (ที่ไม่สมบูรณ์นัก) และมีนโยบายต่างประเทศที่กวัดแกว่งไปมาเป็นช่วง ๆ ระหว่างการสนับสนุนยุโรป สลับกับสนับสนุนรัสเซีย โดยหลังจากได้รับเอกราชในช่วง 10 ปีแรก ยูเครนดำเนินนโยบายมุ่งสู่ชาติตะวันตก หันไปให้ความสำคัญกับสหรัฐ ฯ และชาติยุโรป พยายามหลีกหนีอิทธิพลของรัสเซีย ขณะที่รัสเซียเองก็ไม่ยอมรับเอกราชอย่างสมบูรณ์ของยูเครน เนื่องจากรัสเซียมองยูเครนเป็นส่วนหนึ่งของประเทศตนเองมาโดยตลอด และเรียกยูเครนว่า “Little Russia” จนเมื่อปี 2010 ยูเครนก็หันไปให้ความสำคัญรัสเซียอย่างเห็นได้ชัดภายใต้การนำของประธานาธิบดีวิกตอร์ ยากูโนวิช
2) อดีตประธานาธิบดียูเครนผู้ฝักใฝ่รัสเซีย: ในช่วงปลายปี 2013 ประชาชนชาวยูเครนนับแสนคนออกมาประท้วงขับไล่ประธานาธิบดียากูโนวิชคนดังกล่าว จากการคว่ำแผนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกับสหภาพยุโรป ซึ่งผู้ประท้วงมองว่าเท่ากับเป็นการปฏิเสธโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของยูเครน ทั้งนี้ มีการปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงอย่างรุนแรงจนทำให้สถานการณ์บานปลายเป็นเหตุการณ์นองเลือด จนในที่สุดประธานาธิบดียากูโนวิชได้ถูกถอดถอนและหลบหนีออกนอกประเทศ แต่ได้ทิ้งรอยแผลขนานใหญ่ไว้ คือ ความแตกแยกทางความคิดอย่างรุนแรงในหมู่ประชาชนชาวยูเครน
3) การยึดไครเมียโดยรัสเซีย: อีกชนวนเหตุหนึ่งเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันในปี 2014 รัสเซียเข้ายึดครองและผนวกรวมดินแดนไครเมีย ซึ่งอยู่ทางตอนใต้และเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน หลังจากผลการลงประชามติของชาวไครเมียได้ข้อสรุปเป็นเสียงข้างมากถึง 96% ว่าจะประกาศเอกราชเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย และเป็นเหตุให้ดินแดนทางภาคตะวันออกของยูเครนคือ ดอแนตสก์และลูฮานสก์ พากันทำประชามติเพื่อประกาศอิสรภาพจากยูเครนบ้าง แต่กลับกลายเป็นสงครามแบ่งแยกดินแดนในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่องจนมาถึงล่าสุดที่รัสเซียประกาศรับรองความเป็นรัฐอิสระของทั้งสองดินแดน และนำทหารเข้าไปรักษาสันติภาพในสองดินแดนดังกล่าว
4) ความพยายามเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต้ของยูเครน: ในทางภูมิศาสตร์ ยูเครนตั้งอยู่ระหว่างรัสเซียและชาติยุโรปต่าง ๆ ไม่ต่างจากความเป็นรัฐกันชน ที่ผ่านมา การที่ยูเครนพยายามจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของนาโต้ โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ซึ่งมีสาระสำคัญในสนธิสัญญาว่า “หากประเทศพันธมิตรนาโต้ถูกรุกรานหรือโจมตีโดยประเทศนอกกลุ่มสมาชิก ประเทศพันธมิตรทั้งหมดต้องยื่นมือเข้าปกป้อง” ทำให้รัสเซียรู้สึกถึงภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศตน เพราะจะถูกล้อมด้วยชาติสมาชิกนาโต้ที่ดาหน้ารุมมาถึงหน้าประตูบ้าน ทั้งนี้ มีนักวิเคราะห์และนักวิชาการทางรัฐศาสตร์หลายท่านระบุว่า ความพยายามเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต้ของยูเครนดังกล่าวเป็นตัวแปรสำคัญหรือเป็นดั่งเชื้อไฟที่เร่งให้รัสเซียแสดงท่าทีแข็งกร้าวและตอบโต้ยูเครนอย่างรุนแรงดังที่ปรากฎในสถานการณ์ปัจจุบัน
เมื่อสงครามเกิดขึ้นและอาจยืดเยื้อบานปลาย ผลกระทบที่จะเกิดกับเศรษฐกิจโลกและไทยจะเป็นอย่างไร? ท่านผู้อ่านคงทราบกันอยู่บ้างแล้วว่ารัสเซียถือเป็นอภิมหาอำนาจด้านพลังงานของโลก โดยเฉพาะการเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และสินแร่ต่าง ๆ โดยรัสเซียถือเป็นแหล่งพลังงานสำคัญอย่างยิ่งของยุโรป
ขณะที่ยูเครนเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ในสินค้าเกษตรและเป็นผู้ส่งออกรายต้น ๆ ของโลก ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และธัญพืชชนิดต่าง ๆ จนได้รับการขนานนามว่าเป็นดั่งอู่ข้าวอู่น้ำของยุโรป ดังนั้น เมื่อสงครามมีความยืดเยื้อหรือบานปลายออกไป (ซึ่งผู้เขียนได้แต่ภาวนาขอให้มีการเจรจาตกลงกันได้โดยเร็ว ยุติสงครามที่ไม่จำเป็นนี้ และไม่บานปลายไปจนถึงขั้นสงครามโลก) ย่อมทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และพลังงานที่กำลังพุ่งสูงขึ้น อาจสูงอย่างต่อเนื่อง ซ้ำเติมภาวะเงินเฟ้อสูงอยู่แล้วที่กำลังส่งผลกระทบต่อหลายประเทศทั่วโลกในขณะนี้
ส่วนด้านตลาดการเงิน ก็เห็นได้ชัดว่า ตั้งแต่เกิดภาวะคุกรุ่นจนสงครามเกิดขึ้น นักลงทุนได้โยกย้ายมาถือครองสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงอย่างพันธบัตร เงินดอลลาร์สหรัฐฯ และทองคำมากขึ้นแล้ว ขณะที่ราคาสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ ทั้งหุ้นหรือแม้กระทั่งสินทรัพย์ดิจิทัลก็ปรับลดลงอย่างมาก และหากสงครามยังคงยืดเยื้อต่อไป แน่นอนว่าจะเห็นความผันผวนสูงและการปรับลดลงครั้งใหญ่ของราคาสินทรัพย์เสี่ยงเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
สำหรับประเทศไทย อาจได้รับผลกระทบหลัก ๆ จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และพลังงานที่สูงขึ้น รวมทั้งราคาของสินทรัพย์ในตลาดการเงินที่มีความผันผวนสูง ซึ่งไม่แตกต่างจากภาวะที่เกิดขึ้นทั่วโลก และหากสงครามยืดเยื้อบานปลาย อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการชะลอลงของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของรัสเซีย โดยเฉพาะยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรรัสเซียนั้นเอง ขณะที่ไทยมีสัดส่วนการส่งออกนำเข้าสินค้าโดยตรงและการลงทุนจากรัสเซียและยูเครนค่อนข้างน้อย รวมทั้งมีสัดส่วนนักท่องเที่ยวรัสเซียอยู่บ้าง
ทั้งนี้ สิ่งที่น่าคิดต่อไปและสำคัญยิ่งกว่าคือ สงครามจะบานปลายเพียงใด มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียที่ออกมาอย่างต่อเนื่องจะออกมาในรูปแบบไหนและรายละเอียดจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะการโดดเดี่ยวรัสเซียจากระบบการเงินโลก จำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ประเทศไทยปรับตัวได้อย่างทันท่วงที… อย่ากะพริบตาครับ!
โดย สุพริศร์ สุวรรณิก
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Suparit Suwanik
Source: BOT Website

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"