เปิดมุมมองแบงก์ชาติ เมื่อเฟดขึ้นดอกเบี้ย

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 0.25-0.50% ในการประชุมวันที่ 16 มี.ค. 65 ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ ซึ่งนับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี

เพื่อแก้ไขภาวะเงินเฟ้อที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่กระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
โดยผู้ว่าการธปท.มอง Fed ขึ้นดอกเบี้ยกระทบไทยน้อย ชี้ตลาดเงินรับความผันผวนได้ ไม่กระทบภาคส่งออก และเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่ดีของไทย จึงไม่จำเป็นต้องรีบขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินทุนไหลออกและดูแลเสถียรภาพค่าเงิน
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในคอลัมน์ Special Scoop “วารสารการเงินธนาคาร” ฉบับ 479 เดือน มี.ค. 2565ว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่จะเริ่มในปีนี้คงจะสร้างความผันผวนในตลาดการเงิน โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ที่ถูกกระทบจากวิกฤติโควิดรุนแรงและยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการฟื้นตัว อย่างไรก็ดี การที่สภาพคล่องที่ถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบการเงินโลกจาก QE ในช่วงโควิดไหลเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่เอเชีย (EM Asia) น้อยกว่า QE รอบก่อนๆ มาก น่าจะช่วยให้การถอนมาตรการ QE ในครั้งนี้ส่งผลให้ภาวะเงินทุนไหลออกจาก EM Asia ไม่รุนแรงมากนัก
สำหรับผลกระทบต่อไทย มองว่าน่าจะมีไม่มาก หลักๆ เป็นผลจากปัจจัยในประเทศของไทยเอง โดยอาจมองได้ผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้
ช่องทางแรกคือ ตลาดการเงิน ซึ่งสำหรับไทย ตลาดการเงินยังสามารถรองรับความผันผวนได้ ทำให้ผลกระทบมีไม่มาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
1.โอกาสที่เงินทุนจะไหลออกจากไทยในปริมาณมาก (Capital Flight) มีจำกัด และหากมีเงินทุนไหลออก ผลก็จะมีจำกัดเช่นกัน เพราะ (1) ไทยมีเสถียรภาพต่างประเทศที่แข็งแกร่ง ด้วยเงินสำรองระหว่างประเทศที่สูงเป็นอันดับ 12 ของโลก ซึ่งหากคำนวณดูแล้ว จะเห็นว่าเพียงพอที่จะจ่ายหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทยได้ถึง 3 เท่า ทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นและ (2) การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในไทยมีสัดส่วนต่ำ โดยในตลาดหุ้น สัดส่วนการลงทุนของต่างชาติทยอยลดลงจาก 35% เมื่อ 10 ปีก่อนมาอยู่ที่ 26% ในปัจจุบัน ขณะที่สัดส่วนนักลงทุนต่างชาติในตลาดพันธบัตรอยู่ที่เพียงประมาณ 10% ซึ่งต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซียที่อยู่ที่ประมาณ 15% และ 19% ตามลำดับ
2.แม้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของไทยจะเพิ่มขึ้นตามสหรัฐฯ แต่ผลกระทบต่อธุรกิจไทยมีจำกัดเพราะ (1) ธุรกิจไทยระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้เพียง 16% ส่วนที่เหลือเป็นการระดมทุนผ่านสินเชื่อจากสถาบันการเงิน (เทียบกับประเทศเกาหลีและมาเลเซียที่ระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ประมาณ 25%)ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของธุรกิจไทยขึ้นกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเป็นหลัก และ (2) ตราสารหนี้ของภาคธุรกิจไทย ส่วนใหญ่มีอายุไม่เกิน 5 ปี ซึ่งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุช่วงนี้ ไม่ได้ปรับขึ้นตามผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวหรือพันธบัตรสหรัฐฯ แต่ถูกผูกไว้ด้วยการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย โดยตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2564 ที่ Fed เริ่มส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 2 ปีของไทยเพิ่มขึ้นเพียง 5 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะเดียวกันของมาเลเซียเพิ่มขึ้น 40 bps และอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 20bps
3.สภาพคล่องในประเทศยังเพียงพอ โดยแม้ตลาดการเงินโลกผันผวนสูงหรือความต้องการลงทุนในไทยของนักลงทุนต่างชาติลดลงมาก แต่ (1) ระบบธนาคารพาณิชย์(ธพ.)ยังมีสภาพคล่องสูง จาก L/D ratio ณ สิ้นปี 2564 อยู่ที่ 94% ซึ่งต่ำกว่าช่วงก่อนโควิด สะท้อนว่า ธพ.ยังสามารถเป็นแหล่งเงินทุนให้กับภาคเศรษฐกิจได้ดี (2) มาตรการด้านสภาพคล่องของ ธปท. อาจช่วยเสริม ธพ. ในการช่วยเหลือธุรกิจที่ต้องการสภาพคล่องเพิ่มเติม เช่น สินเชื่อฟื้นฟูที่ยังเหลือวงเงินอีกประมาณ 1 แสนล้านบาท และ (3) สภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ยังสูง จากความต้องการของนักลงทุนในประเทศ เห็นได้จากผู้ออกตราสารหนี้เอกชนส่วนใหญ่ยังสามารถเสนอขายหุ้นกู้ได้ตามปกติ (นักลงทุนต่างชาติในตลาดตราสารหนี้มีสัดส่วนการลงทุนไม่ถึง 1%)
ช่องทางที่ 2 คือ ผลต่อเศรษฐกิจ การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed คาดว่าจะไม่ได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ จนทำให้ไทยส่งออกได้น้อยลงมาก โดยปัจจุบันสหรัฐฯ เป็นประเทศคู่ค้าส่งออกที่สำคัญที่สุดของไทย โดยการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตร้อนแรงที่สุดในรอบเกือบ 40 ปี ทำให้รายได้ของไทยจากการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ ในปี 2564 เพิ่มขึ้นถึง 21% ซึ่งหาก Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างระมัดระวังและสามารถรักษา momentum การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ ก็จะส่งผลดีภาคการส่งออกไทยด้วย
ช่องทางที่ 3 คือ การดำเนินนโยบายการเงินของไทย อาจยังไม่ต้องสอดคล้องกับนโยบายการเงินของสหรัฐฯ จากสาเหตุสองประการ (1) เสถียรภาพด้านต่างประเทศที่ดีของไทย ทำให้เราสามารถให้น้ำหนักการดำเนินนโยบายการเงินไปที่พัฒนาการของภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของประเทศได้ โดยไม่ต้องรีบขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินทุนไหลออกและดูแลเสถียรภาพค่าเงินอย่างบางประเทศ เช่น บราซิล เม็กซิโก แอฟริกาใต้และ (2) กรอบการดำเนินนโยบายปัจจุบันที่ยืดหยุ่นขึ้น ทำให้แม้เงินเฟ้อของไทยจะสูงขึ้นในบางช่วงเวลา แต่ค่าเฉลี่ยทั้งปียังคงอยู่ในกรอบเป้าหมายไทยจึงยังสามารถให้น้ำหนักกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางเป็นหลักได้
เจาะลึกมุมมองเชิงนโยบายของ Fed ต่อการเงินโลกและไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย วิเคราะห์สถานะการณ์การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เพื่อสกัดเงินเฟ้อดังนี้
1.ท่าทีของ Fed ในการดำเนินนโยบาย
นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 5-7 ครั้ง ในปีนี้ และลดสภาพคล่องในระบบการเงิน ซึ่งดอกเบี้ยนโยบายอาจปรับสูงขึ้นอีก 1.25-1.75% และคาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ Fed จะเริ่มลดปริมาณการถือครองพันธบัตรรัฐบาลจากมาตรการ QE หรือที่เรียกว่าการทำ Quantitative Tightening (QT) ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องในระบบการเงินโลกลดลง และอาจทำให้ตลาดการเงินผันผวนมากขึ้น
2.คาดการณ์ผลจากการปรับนโยบายของ Fed ต่อตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย (EM Asia)
สภาพคล่องที่ถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบการเงินโลกผ่านนโยบาย QE ในช่วงโควิด ไหลเข้าสู่ EM Asia น้อยกว่าช่วง QE รอบก่อน โดยระหว่างปี 2020-2021 Fed อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินผ่านการซื้อสินทรัพย์กว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ปริมาณเงินทุนที่ไหลเข้าประเทศ EM Asia ในช่วงนั้น กลับมีเพียงไม่ถึง 2 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 5% ของสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น แต่หากเทียบกับมาตรการ QE ในปี 2010-2013 ที่ Fed ซื้อสินทรัพย์ประมาณ 2 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. เงินทุนที่ไหลเข้า EM Asia ในช่วงนั้นคิดเป็นถึง 6 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 30% ของสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อ Fed ลดมาตรการ QE ในคราวนี้ ผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายใน EM Asia จึงไม่น่ากังวลเท่าครั้งก่อน
3.การตอบสนองของอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยต่อนโยบายของ Fed
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของไทยปรับสูงขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ขณะที่ระยะสั้นยังทรงตัวใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยจากต้นปี 2565 อัตราผลตอบแทนระยะ 10 ปีของไทย ปรับเพิ่มขึ้นแล้ว 25 bps ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ระยะเดียวกันที่เพิ่มขึ้นไปราว 40 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะ 2–5 ปีของไทยเพิ่มขึ้นเพียงไม่ถึง 10 bps เท่านั้น แม้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะเดียวกันของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นแล้ว 60-70 bps ซึ่งหมายความว่า อัตราผลตอบแทนระยะสั้นของไทยถูก “ยึดเหนี่ยว” (Anchored) ไว้ด้วยการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยมากกว่า
4.ผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ไทย หากตลาดการเงินโลกผันผวนจากการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed
ตลาดตราสารหนี้ไทยพึ่งพาการลงทุนจากนักลงทุนในประเทศเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการระดมทุนในช่วงที่ตลาดการเงินโลกผันผวน ปัจจุบันพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ภาคเอกชนมีนักลงทุนไทยถือครองอยู่ถึงประมาณ 90% และ 100% ตามลำดับดังนั้น สภาพคล่องจากนักลงทุนไทยหลากหลายกลุ่มจะช่วยพยุงให้ภาคธุรกิจยังสามารถระดมทุนจากตลาดได้ต่อเนื่อง
**หมายเหตุ ข้อมูลก่อนการประชุมของเฟด
Source: การเงินธนาคารออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"