เงินเฟ้อไทยจะปรับลดลงเหลือ 1.7% ในปี 2023?

ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ยอมรับว่าเงินเฟ้อในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นกว่า 5% ในไตรมาส 2 และ 3 ในปีนี้ จากราคาพลังงานและการส่งผ่านต้นทุนในหมวดอาหารเป็นหลัก ก่อนที่จะปรับลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมายในปี 2066”

คือคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปี 2023 จะลดลงเหลือเพียง 1.7%
กนง. “ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นเป็นผลจากปัจจัยด้านอุปทานเป็นหลัก ในขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์อยู่ในระดับต่ำ จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ”
แต่ตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาจริงนั้นกำลังเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดดังปรากฏตามภาพ
เงินเฟ้อประเทศไทยนั้น เริ่มขยับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงปลายปีที่ผ่านมา กล่าวคือเงินเฟ้อทั้งปีในปี 2021 เท่ากับ 1.23% แต่อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม 2021 ขยับขึ้นเป็น 2.17% ตามด้วย 3.23% ในเดือนมกราคมและ 5.28% ซึ่งเกินกว่า 5% ตั้งแต่ไตรมาส 1 แล้วและน่าจะยังต้องปรับสูงขึ้นต่อไปอีก
เพราะในอนาคตรัฐบาลตรึงราคาดีเซลและราคาก๊าซหุงต้มเอาไว้ที่ระดับปัจจุบันไม่ได้ นอกจากนั้นหากเศรษฐกิจค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น เราก็คงจะได้เห็นแรงกดดันจากการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานเพราะปัจจุบันก็ได้มีการกล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างกว้างขวาง
ผมมองว่าในอีก 6-12 เดือนข้างหน้า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อไม่น่าจะชะลอตัว แต่น่าจะรุนแรงขึ้นมากกว่า เช่น คำขู่ของรัสเซียให้จ่ายค่าซื้อพลังงานรัสเซียเป็นเงินรูเบิล ที่ทำให้เกิดความเป็นห่วงว่าการขนส่งก๊าซจากรัสเซีย จะถูกกระทบกระเทือนได้และกำลังเกิดขึ้น
ในขณะที่เงินเฟ้อที่ยุโรปปรับตัวสูงขึ้นถึง 7.5% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาสูงกว่าเป้าเงินเฟ้อของธนาคารกลางยุโรปถึง 3 เท่าตัว
ในทำนองเดียวกัน เงินเฟ้อที่สหรัฐก็ปรับตัวสูงขึ้นถึง 6.4% ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กล่าวคือเงินเฟ้อในประเทศพัฒนาแล้วที่มีจีดีพีคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 42% ของจีดีพีโลกดูเหมือนว่ายังร้อนแรงอย่างมาก ดังนั้นผมจึงคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อของไทยในช่วงไตรมาส 2 และไตรมาส 3 จึงน่าจะ “สูงกว่า 5%” ค่อนข้างมากและอาจใกล้กับตัวเลข 2 หลักก็เป็นได้
ที่สำคัญคือผมสงสัยว่าเงินเฟ้อจะไม่สามารถปรับตัวลงได้โดยง่ายดังที่กนง.คาดการณ์เอาไว้ในปีหน้าเพราะการที่รัฐบาลกำลังปล่อยให้ราคาพลังงานค่อยๆ ปรับตัวขึ้นยืดเยื้อต่อไปอีกหลายเดือน
นอกจากนั้นผมมองว่าการที่ปัจจุบันปุ๋ยขาดแคลนอย่างมาก น่าจะส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรของไทยต่ำกว่าในอดีต ทำให้ราคาสินค้าเกษตรน่าจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างถ้วนหน้าในปลายปีนี้เมื่อตลาดทราบถึงปริมาณพืชผลที่จะเก็บเกี่ยวได้จริงในครึ่งหลังของปีนี้
เราจะให้ความสำคัญกับการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ แต่ในช่วง 14 เดือนที่ผ่านมานั้นราคาปุ๋ยปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าราคาพลังงาน เช่นจากเดือนธันวาคม 2021 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2022 (ก่อนที่รัสเซียบุกยูเครน) ราคาน้ำมัน Brent ปรับตัวเพิ่ม 116% แต่ราคาปุ๋ย (วัดจากข้อมูลดัชนีราคาปุ๋ยของธนาคารกลางสหรัฐ) ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปถึง 154% ในช่วงเดียวกัน
ที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งคือการปรับตัวขึ้นของราคาอาหารวัดจากดัชนีขององค์การอาหารและการเกษตร (Food and Agriculture Organization Food Price Index) ซึ่งตัวเลขล่าสุดคือเดือนกุมภาพันธ์พบว่าราคาอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้น 20.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (เพิ่มน้อยกว่าราคาปุ๋ยอย่างมาก)
ทั้งนี้ราคาอาหารที่เพิ่มมากที่สุดคือน้ำมันพืช ซึ่งเพิ่มขึ้น 46% ในขณะที่ราคาธัญพืชเพิ่มขึ้นเพียง 14.8% แต่ที่ย่ำแย่ที่สุดคือราคาข้าวไทยซึ่งลดลง 12% ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็สามารถคาดการณ์ได้ว่าเกษตรกรที่จะต้องเริ่มตัดสินใจเพาะปลูกและซื้อปุ๋ยในไตรมาส 2 แต่คงจะซื้อปุ๋ยน้อยลงจากปกติอย่างมาก เพราะปุ๋ยแพงและ/หรือหาซื้อไม่ได้ โดยประเทศไทยต้องนำเข้าปุ๋ยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 95% ของความต้องการใช้ทั้งหมด
ดังนั้นจึงจะมีความเสี่ยงสูงว่าผลผลิตทางการเกษตรในปลายปีนี้คงจะต่ำกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้ราคาอาหารไม่ปรับลดลง แต่จะปรับตัวสูงขึ้น หมายความว่าเงินเฟ้อไม่น่าจะลดลงในปลายปีนี้
หากประเทศไทยต้องเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนับปี สิ่งที่น่าจะตามมาคือการเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวะที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 1 ปีข้างหน้า ซึ่งผมเชื่อว่าจะไม่มีพรรคการเมืองใดต่อต้านข้อเรียกร้องดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประชาชนหลายคนคงจะเผชิญปัญหารุมเร้าทั้งราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นและหนี้สินครัวเรือนก็ยังอยู่ในระดับสูง
นักเศรษฐศาสตร์ทราบกันดีว่าเมื่อมีการเรียกร้องปรับขึ้นเงินเดือนที่สืบเนื่องมาจากการปรับตัวขึ้นอย่างกว้างขวางของราคาสินค้าและบริการ ก็จะนำไปสู่สภาวะ Wage-Price Spiral ซึ่งจะทำให้เงินเฟ้อ “ติดลมบน”
คือปรับขึ้นแล้วไม่ยอมลงเพราะเมื่อต้องปรับขึ้นค่าจ้างก็ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นต่อไปอีก ผู้ประกอบการจึงต้องปรับราคาสินค้าและบริการขึ้นในรอบต่อไป ทำให้ผู้ใช้แรงงานจำต้องเรียกร้องการเพิ่มปรับขึ้นของค่าจ้างแรงงานต่อไปอีก
ข้อพิจารณาอีกข้อหนึ่งคือปัจจัยภายนอกว่าจะต้องเผชิญกับภาวะ Wage Price Spiral อย่างกว้างขวางหรือไม่ ซึ่งคำตอบคือมีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นที่ประเทศสหรัฐและที่สหภาพยุโรป แต่ยังไม่เห็นภาพชัดเจนที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน แต่ในกรณีของประเทศจีนนั้นผมมีข้อคิด 2 ข้อคือ
1.ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมานั้น จีนเปิดประเทศและประชากรอยู่ในวัยทำงานมีมากและจำนวนเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด แต่จากนี้เป็นต้นไปจีนกำลังพยายามปราบ COVID ให้ราบคาบโดยการ Lockdown ทำให้กระทบกับการผลิตสินค้าและวัตถุดิบป้อนโลกในราคาถูก
และจีนเองก็กำลังเผชิญกับปัญหาประชากรสูงอายุและขาดแคลนแรงงาน จะทำให้ต้นทุนการผลิตในจีนมีแต่เพิ่มขึ้นและไม่สามารถเป็นแหล่งผลิตสินค้าราคาถูกเพื่อกดอัตราเงินเฟ้อของโลกให้ต่ำเช่นในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
2.ความขัดแย้งของ 2 ขั้วมหาอำนาจคือสหรัฐกับจีน มีความชัดเจนยิ่งขึ้นจากการยึดครองยูเครนของรัสเซีย ซึ่งจีนให้การสนับสนุนอย่างเปิดเผย ปรากฎการณ์ดังกล่าวกำลังเร่งการแบ่งแยกห่วงโซ่อุปทานของโลก (global supply chain) ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งความพยายามปรับโครงสร้างการผลิตดังกล่าวย่อมจะต้องทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีนัยสำคัญใน 5-10 ปีข้างหน้า
นอกจากนั้นผมขอตั้งประเด็นว่าธนาคารกลางในประเทศเศรษฐกิจหลัก เช่น สหรัฐ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นนั้น แม้จะแสดงท่าทีอย่างแน่วแน่ว่าต้องการปราบเงินเฟ้อให้ราบคาบภายในปีนี้ แต่หากพิจารณาความเสี่ยงให้ดีแล้ว ก็จะเห็นว่าหากปรับขึ้นดอกเบี้ยขึ้นมากเกินไปและเร็วเกินไป จนกระทั่งเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะถดถอย
ผลที่จะตามมานั้นคือวิกฤติเศรษฐกิจที่ยากต่อการกอบกู้เพราะภาครัฐไม่มีเครื่องมือทางนโยบายเพื่อจัดการกับเศรษฐกิจที่ตกต่ำ กล่าวคือไม่มี policy space ทั้งในด้านนโยบายการคลัง (เพราะสร้างหนี้สาธารณะจำนวนมหาศาลไปแล้วตอนต่อสู้กับ COVID-19) และดอกเบี้ยนโยบายก็ยังไม่สูงมาก เช่นการลดดอกเบี้ยลงจาก 2.5% เหลือ 0% ก็คงจะไม่ได้ลผลอะไร
เมื่อเป็นเช่นนั้นอาจมองได้ว่าเงินเฟ้อที่สูงและยืดเยื้อต่อไปอีก 2-3 ปีนั้น ยังน่าจะเป็นภัยอันตรายน้อยกว่าการที่จะต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2023 หมายความว่า “inflation is the lesser of the two evils” ครับ
คอลัมน์ : เศรษฐศาสตร์+สุขภาพ
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
นักเศรษฐศาสตร์ และที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร
กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"