ไทยจับมือ 12 ชาติเข้าร่วมกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจ IPEF วันนี้

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ ประกาศเปิดตัวกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกเพื่อความเจริญรุ่งเรือง (Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity : IPEF) ในระหว่างการเดินทางเยือนญี่ปุ่นในวันนี้

ทั้งนี้ ประเทศที่เข้าร่วมกรอบความร่วมมือ IPEF ได้แก่ สหรัฐ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ บรูไน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) คิดเป็นสัดส่วน 40% ของทั้งโลก
กรอบความร่วมมือ IPEF จะประกอบด้วย 4 เสาหลักคือ การค้า ห่วงโซ่อุปทาน พลังงานสะอาดและโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งภาษีและการต่อต้านการคอร์รัปชั่น ซึ่งสมาชิกทั้ง 13 ประเทศไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมทั้ง 4 เสาหลัก โดยสามารถตัดสินใจเข้าร่วมในกรอบที่มีความสนใจ ขณะที่จะมีการหารือสำหรับการเจรจาใน 4 เสาหลักต่อไป
นอกจากนี้ สมาชิกจะเชิญประเทศคู่ค้าอื่นในอินโด-แปซิฟิกที่มีเป้าหมายและผลประโยชน์ร่วมกันเข้าร่วมกรอบความร่วมมือ IPEF ในอนาคต
อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่สหรัฐระบุก่อนหน้านี้ว่า สหรัฐไม่มีความประสงค์ที่จะเชื้อเชิญจีนให้เข้าร่วมกรอบความร่วมมือ IPEF แต่อย่างใด
Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ

****************
‘กรอบความร่วมมือเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก’ คืออะไร ทำไมแผนการใหม่ของสหรัฐฯ จึงถูกเมิน : ประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ มีกำหนดจะประกาศจัดตั้ง กรอบความร่วมมือเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework: IPEF) ระหว่างการเยือนประเทศพันธมิตรในเอเชียตะวันออก รวมทั้งเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ในวันที่ 20-24 พฤษภาคม เพื่อจะผสานความร่วมมือทางเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก และแน่ชัดว่าเป็นการแข่งขันอิทธิพลทางเศรษฐกิจกับจีน
กรอบความร่วมมือใหม่ล่าสุดของสหรัฐฯ นี้ได้รับการนำเสนอในที่ประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ที่กรุงวอชิงตัน ระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคมแล้ว แต่ผู้นำอาเซียนให้ความสนใจกันน้อย เนื่องจากสหรัฐฯ ผู้นำเสนอเองก็ยังไม่มีความชัดเจน ขาดรายละเอียดทั้งในแง่วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์และรูปแบบวิธีการในการดำเนินงาน และที่สำคัญ ไม่ต้องการให้อาเซียนเข้าร่วมกันทั้งกลุ่ม
เหนือสิ่งอื่นใด ประสบการณ์ของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans Pacific Partnership: TPP) บอกให้รู้ว่า สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ไม่มีความคงเส้นคงว่าในเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบพหุภาคีเอาเสียเลย เพราะรัฐบาล บารัค โอบามา ลงนามเข้าร่วม TPP ในปี 2016 แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลเป็น โดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐฯ กลับถอนตัวในปี 2017 ครั้งนี้ก็ไม่มีหลักประกันอีกเช่นกัน ว่าถ้าสิ้นรัฐบาลไบเดนแล้ว ชะตากรรมของกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจอินโดแปซิฟิกจะเป็นอย่างไรต่อไป
ประธานาธิบดีไบเดนได้นำเสนอกรอบความร่วมมืออันใหม่นี้ครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2021นัยว่าให้เป็นศูนย์กลางของยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์และเกี่ยวพันกับประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดีย
กรอบความร่วมมือนี้ไม่ใช่ความตกลงการค้าเสรีหรือการเปิดตลาดอย่างที่คุ้นเคยกัน หากแต่เป็นความพยายามที่จะร่วมมือและจัดระเบียบในการทำความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจแบบใหม่ ซึ่งมี 4 เสาหลักด้วยกันได้แก่
เสาแรก การค้าที่เป็นธรรมและยืดหยุ่น ซึ่งภายใต้เสานี้มีภาคส่วนต่างๆ อยู่ 7 สาขา คือ แรงงาน สิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ เศรษฐกิจดิจิทัล การเกษตร ความโปร่งใสและธรรมาภิบาล นโยบายการแข่งขัน และการอำนวยความสะดวกทางการค้า
หลายฝ่ายมีความวิตกกังวลว่าในบางเรื่อง เช่น เรื่องแรงงานและเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น สหรัฐฯ อาจจะมีวาระซ่อนเร้นหรือพยายามผลักดันแนวปฏิบัติที่ขัดแย้งกับประเทศอื่นๆ ตัวอย่างเช่น สิทธิในความเป็นส่วนตัวในโลกดิจิทัลในไทยและสหรัฐฯ อาจจะแตกต่างกันมากหรือไปกันไม่ได้เลย
เสาที่สอง ความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน (supply chain resilience) ซึ่งยังมีความคลุมเครืออยู่มากว่าหมายถึงอะไรกันแน่ สหรัฐฯ ต้องการอะไร หลายประเทศในเอเชียเข้าใจว่าตัวเองทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตและเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของเศรษฐกิจสมัยใหม่ แต่ความกังวลคือ สหรัฐฯ จะใช้กรอบความร่วมมือนี้ในการควบคุมอุปทาน การผลิต หรือใช้มันต่อต้านผู้ผลิตรายใหญ่ในเอเชีย
เสาที่สาม คือเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานสะอาด และการลดคาร์บอน (decarbonization) ที่หลายประเทศก็กำลังประสบปัญหาในการขาดแคลนเงินทุนในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน และทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม หรือลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงที่มีราคาแพง หลายประเด็นอย่างเช่น เรื่องการลดคาร์บอนไดออกไซด์นั้นปฏิบัติยาก แม้แต่ประเทศที่ร่ำรวยอย่างสหรัฐฯก็ไม่อยากทำ แต่ชอบจะบีบบังคับให้ประเทศยากจนลงทุนด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม
เสาที่สี่ คือเรื่องภาษีและการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของเกือบทุกประเทศในโลกนี้ และดูเหมือนยังหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหากันไม่ได้
ทุกรัฐบาลในโลกนี้ไม่อยากให้ใครยุ่งกับเรื่องภาษีซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของตัวเองและการทุจริตมากต่อมากเกิดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐเองนั่นแหละ หลายประเทศยอมรับสนธิสัญญาต่อต้านทุจริตของสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ปฏิบัติกันไม่ค่อยได้ ดังนั้นก็ไม่มีหลักประกันอะไรว่ากรอบความตกลงที่สหรัฐฯ นำเสนอนี้จะเป็นจริงได้
ผู้นำสหรัฐฯ ได้นำเสนอแนวคิดกรอบความตกลงเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกแก่ผู้นำเอเชียและอาเซียนไปแล้ว และได้แสดงเจตนาอยากจะให้ประเทศที่คิดคล้ายๆ กันในเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมก่อนเป็นลำดับต้น ในชั้นนี้คาดว่าประเทศที่จะตอบรับจะได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดของสหรัฐฯ
ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์นานาชาติในกรุงชิงตัน ดี.ซี. ได้ทำการสำรวจและศึกษาท่าทีของประเทศต่างๆ ที่อยู่ในเป้าหมายและทำรายงานออกมาหลายชิ้นในระหว่างเดือนเมษายน และพฤษภาคม พบว่า หลายประเทศที่สหรัฐฯ อยากให้เข้าร่วมนั้นต่างพากันพูดว่า อยากจะให้สหรัฐฯ กลับเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกมากกว่า เพราะหลังจากสหรัฐฯ ถอนตัวแล้ว สมาชิกที่เหลืออยู่ในอาการไปไม่เป็น ไม่รู้ว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร จึงทำได้แค่เปลี่ยนชื่อเป็น ‘ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก’ (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans Pacific Partnership: CPTPP)
กล่าวแต่เฉพาะกลุ่มอาเซียนนั้น รัฐบาลในทำเนียบขาวไม่ได้ตั้งใจจะเชิญอาเซียนทั้งกลุ่มเข้าร่วมกรอบความตกลงเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกแต่อย่างใด ประเทศที่อยู่ในเป้าหมายที่ต้องการจะเชิญให้เข้าร่วมในเบื้องต้นมีแค่ 4 ประเทศคือ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนามเท่านั้น
โปรดสังเกตว่า ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของอาเซียนอย่างไทยและประเทศที่เป็นพันธมิตรทางทหารอย่างฟิลิปปินส์ถูกมองข้าม ในขณะที่ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กอย่าง บรูไน ลาว และกัมพูชา ไม่มีคุณสมบัติในการเข้าร่วม (เจ้าหน้าที่ในวอชิงตันอาจจะลืมไปว่าบรูไนนั้นคือประเทศผู้ร่วมก่อตั้ง TPP) ส่วนพม่านั้นดูเหมือนจะถูกละเลยด้วยเหตุผลทางด้านการเมืองและปัญหาสิทธิมนุษยชน
หลังการประชุมสุดยอดอาเซียนสหรัฐสมัยพิเศษที่วอชิงตันเมื่อสัปดาห์ก่อน มีเพียงนายกรัฐมนตรี ลี เซียน ลุง ของสิงคโปร์เท่านั้นที่พูดว่าสนใจอยากเข้าร่วมกรอบความตกลงเศรษฐกิจอินโดแปซิฟิกอย่างจริงจัง ส่วนนายกรัฐมนตรี ฟาม มิญ จิญ ของเวียดนามซึ่งได้รับเชิญให้ไปปาฐกถาที่ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และนานาชาติ บอกว่าเวียดนาม (ซึ่งร่วม CPTPP อยู่แล้ว) สนใจ แต่ขอเวลาศึกษาในรายละเอียดอีกสักระยะหนึ่ง
เป็นที่แน่ชัดว่ารัฐบาลไบเดนไม่ต้องการเชิญให้จีนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลกและเป็นคู่แข่งสำคัญของสหรัฐเข้าร่วมกรอบเศรษฐกิจอินโดแปซิฟิก ซึ่งนั่นก็อาจจะสร้างความกระอักกระอ่วนใจให้กับสมาชิกอาเซียนหลายประเทศที่ต้องการมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดีและสมดุลกับทั้งจีนและสหรัฐฯ
อีกประการหนึ่ง บางประเทศเห็นว่า อาเซียนทั้ง 10 ประเทศเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ร่วมกับจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่แล้ว ก็อาจจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบร้อนไปเข้ากรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกที่สหรัฐฯ เป็นผู้นำแต่อย่างใด หากไม่มั่นใจว่าจะได้ผลประโยชน์เพียงพอ
Source: ไทยรัฐออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"