'เฟด'บีบกนง.ขึ้นดอกเบี้ยแรง

"นักเศรษฐศาสตร์" ชี้เงินเฟ้อสหรัฐพุ่งนิวไฮรอบ 40 ปี กดดันดำเนินนโยบายการเงินของไทย "เคเคพี-ซีไอเอ็มบี"ประเมินหากเฟดขึ้นดอกเบี้ย 1% กดดัน กนง.ขยับเพิ่ม 0.50% "ทีทีบี"คาดเงินบาทอ่อนค่า 38-39 บาทต่อดอลลาร์ แต่ไม่น่ากังวล

เชื่อ กนง.ขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป "บล.ทิสโก้" คาดแบงก์ชาติจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 3 ครั้ง แต่จะเร็วหรือช้าอยู่ที่ตัวเลขเงินเฟ้อ
อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐในเดือนมิ.ย.ทะยานทำสถิติสูงสุดในรอบ 40 ปี ที่อัตรา 9.1% ท่ามกลางสารพัดปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้าทั้งราคาพลังงาน อาหาร และค่าใช้จ่ายด้านต่างๆที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ภาคครัวเรือนอเมริกันแบกรับภาระ มากขึ้น และอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยแรงอีกรอบ เพื่อลดความร้อนแรงของอัตราเงินเฟ้อ
แนวโน้มที่เกิดขึ้นนี้ เพิ่มโอกาสที่จะทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยตัวเลขการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐ (ซีพีไอ) เพิ่มขึ้นถึง 9.1% ถือเป็นการเพิ่มขึ้นรายปีที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2524 สาเหตุหลักเกือบครึ่งหนึ่งมาจากต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นปัญหาที่เฟดจะต้องเร่งหาทางแก้ไข แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่รวดเร็วที่สุดในรอบสามทศวรรษ เพื่อหวังจะควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้ลดลงแล้ว แต่จากตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุด มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในปลายเดือนนี้ ถึง 0.75% เช่นเดียวกับเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง
เฟดขึ้นดอกเบี้ยแรงกดดัน กนง.
นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้า นักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร (KKP) เปิดเผยว่า เป็นไปได้ ที่การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) วันที่ 26-27 ก.ค.2565 ตลาดคาดการณ์ว่ามีโอกาส 70% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 1% เพราะก่อนหน้านี้ นักลงทุนคาดการณ์อยู่แล้วว่าเงินเฟ้อสูง ซึ่งคาดอยู่ที่ระดับ 8.8-8.9% แต่ล่าสุดเงินเฟ้อขึ้นไปถึง 9.1% ซึ่งถือว่ามากกว่าที่ตลาดคาดการณ์
ดังนั้นหากเฟดขึ้นดอกเบี้ย 1% มองว่ากระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินไทยแน่นอน ประเด็นแรกเนื่องจากเป็นประเทศเปิด เมื่อมีความเสี่ยงจากโลกมากขึ้น ไทยย่อมถูก กระทบ ดังนั้นเมื่อเงินเฟ้อโลกยังไม่ถึงจุดสูงสุด (พีค) โอกาสเงินเฟ้อไทยจะสูงต่อเนื่องมีมากขึ้น
โดยเฉพาะหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยิ่งไม่อะไร จะยิ่งทำให้เงินเฟ้อคาดการณ์ยิ่งเพิ่มขึ้นสูง จะเข้าไปอยู่ในใจของคนมากขึ้น เพราะเราอยู่ในโลกของเงินเฟ้อสูง คนจะมองว่าเงินเฟ้อสูงเป็นเรื่องธรรมดา ถัดมา คือ กนง.จะเผชิญแรงกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ยของประเทศทั่วโลกมากขึ้น จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยกว้างมากขึ้น
คาด ส.ค.กนง.ขึ้นดอกเบี้ย0.50%
ทั้งนี้จะยิ่งกระทบจให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า ที่อาจสร้างแรงกดดันให้ประเทศ อื่นๆได้ เช่นที่เราเห็นจากที่ยุโรป และญี่ปุ่น ที่ยังไม่ปรับดอกเบี้ย แต่ล่าสุดเงินอ่อนค่า มากขึ้น ทำให้ประเทศเหล่านี้ถูกกระทบมากขึ้น อีกทั้งเงินบาทยิ่งอ่อนค่ายิ่งเพิ่มแรงหนุนให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
ดังนั้นมองว่า การประชุมกนง.รอบเดือนส.ค.อาจจะมีการขึ้นดอกเบี้ยแรงขึ้นที่ระดับ 0.50% จากระดับที่เคยมอง 0.25% และค่อยเพิ่ม เพียง 0.25% ในการประชุมอีกสองครั้ง ที่เหลือปีนี้
"เรามองว่ากนง.จะขึ้นดอกเบี้ย 0.50% เพราะหากเราทำช้าขึ้น เงินเฟ้ออาจขยายวงไปสู่ ส่วนอื่นที่ไม่ใช่ต้นทุนแล้ว ดังนั้นเหล่านี้ถือเป็น ข้อจำกัดของกนง. ที่ต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย และยิ่งรอนานกนง.จะยิ่งเผชิญกับแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นไปอีก ดังนั้นสิ้นปีเรามองดอกเบี้ยจะไปที่ระดับ 1.50%"
เฟดใช้ยาแรงขึ้นดอกเบี้ย1%
นายอมรเทพ จาวะลาผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) กล่าวว่า คาดเฟด มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ย 1% จากเดิม 0,75% เพื่อแตะเบรก ลดความร้อนแรง เงินเฟ้อสหรัฐที่พุ่งสูงในขณะนี้ ดังนั้นคาดดอกเบี้ยสหรัฐ จะขยับขึ้นเป็น3.75%-4% จากเดิมคาดที่ระดับ 3.5% ในสิ้นปีนี้
ทั้งนี้การที่เฟดขึ้นดอกเบี้ยแรงเช่นนี้ ยังเป็นความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ ภาวะถดถอยเร็วกว่าที่คาดจากเดิมต้นปี 2566 เป็นปลายปีนี้ ซึ่งยังต้องติดตามใกล้ชิด แต่การที่เศรษฐกิจถดถอยยังไม่ใช่วิกฤติ แต่เป็นการชะลอตัวชั่วคราวของภาวะเศรษฐกิจ และสุดท้ายเชื่อว่าจะเห็นเฟดกลับมาลดดอกเบี้ยได้ในปี 2566 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐเมื่อเงินเฟ้อปรับลดลง
สำหรับนดอกเบี้ยของไทย ยังมีความเสี่ยง ของการขึ้นดอกเบี้ยแรงในเดือนส.ค.และ ก.ย.นี้ มองว่า ในการประชุมกนง. นัดวันที่ 10 ส.ค.นี้ อาจมีโอกาสเห็นการขยับขึ้นดอกเบี้ยเป็น 0.50% จากเดิมอย่างน้อยขึ้น 0.25% และอาจจะมีเสียงแตกของการขยับขึ้นดอกเบี้ยระหว่าง 0.25% กับ 0.5% เพื่อสกัดเงินเฟ้อของไทย
กนง.ไม่ต้องประชุมนัดพิเศษ
ส่วนตัวเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะยังไม่จำเป็นต้องมีการประชุมนัดพิเศษในช่วงนี้เพราะใกล้จะถึงการประชุม กนง.วันที่ 10 ส.ค.นี้ น่าจะรอความชัดเจนของเฟดได้ เพราะปัญหาเงินเฟ้อไทยที่พุ่งขึ้นเกิดในฝั่งอุปทาน (Supply) ต่างจากเงินเฟ้อสหรัฐที่เกิดในฝั่งอุปสงค์ (Demand) และพื้นฐาน เศรษฐกิจไทยค่อนข้างต่างกับประเทศอื่น ที่ฟื้นตัวกลับมาเท่าก่อนโควิดแล้วขึ้นดอกเบี้ยได้ เช่น ฟิลิปปินส์ ขึ้นดอกเบี้ย 0.76%
มุมมองระยะสั้นยังเห็นแนวโน้มเงินบาทอ่อนค่าต่อ 37 บาทต่อดอลลาร์ ยังไม่ถึง 40 บาท ต่อดอลลาร์ เพราะตลาดค่อนข้างรับข่าวเฟดขึ้นดอกเบี้ย 1% ไปมากแล้ว การที่เฟดขึ้นดอกเบี้ย 1% ตลาดอาจตีความเป็นเรื่องดี สะท้อนเงินภาพเฟ้อกำลังใกล้จุดสูงสุดและกำลังจะย่อลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ชัดเจนขึ้น
สำหรับมุมมองระยะสั้นยังเห็นแนวโน้มเงินบาทอ่อนค่าต่อไปที่ 37 บาทต่อดอลลาร์ แต่ยังไม่ถึง 40 บาทต่อดอลลาร์ เพราะตลาดค่อนข้างรับข่าวเฟดขึ้นดอกเบี้ย 1% ไปมากแล้ว และการที่เฟดขึ้นดอกเบี้ย 1% ตลาดอาจตีความเป็นเรื่องดี สะท้อนเงินภาพเฟ้อกำลังใกล้ถึงจุดสูงสุดและกำลังจะย่อลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ชัดเจนขึ้น
ระยะสั้นบาทอ่อนแตะ 39บาทต่อดอลล์
นายนริศ สถาผลเดชาหัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ธนาคารทหารไทยธนชาต กล่าวว่า การประชุมเฟดรอบนี้จะขึ้นดอกเบี้ย 1% จากเดิมที่ 0.75% ส่งผลให้ฟันด์โฟลว์ไหลออกอีก แต่ไม่น่าจะมากเพราะการถือครองพันธบัตรไทยและหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติมีสัดส่วนน้อยมาก และสภาพคล่องในประเทศยังเพียงพอ ดังนั้นระยะสั้นคาดเงินบาทอ่อนค่าที่ 38-39 บาท ต่อดอลลาร์
สำหรับขณะนี้ที่เงินบาทดอ่อนค่า เป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน เงินบาท อ่อนค่าราว 8.5% เป็นอันดับ 4 ขณะที่เงินเยน ญี่ปุ่น อ่อนค่าเป็นอันดับ 1 ที่ 17% รองมาเป็น อันดับ 2 เงินวอน เกาหลีใต้ อ่อนค่า 9.4% อันดับ 3 เงินเปโซ ฟิลิปปินส์ อ่อนค่า 9.2% โดยยังไม่ได้น่ากังวลที่ กนง.ต้องประชุมฉุกเฉิน เพราะไม่สามารถออกมาตรการ สวนตลาดได้ ส่วนกรณีเฟดขึ้นดอกเบี้ย 1% จริงมองว่ายังเป็นความเสี่ยงให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยเร็วขึ้นเป็นไตรมาส 4 ปีนี้จากเดิมคาดไว้ต้นปีหน้า
ศก.ไทยโอกาสถดถอยน้อย
ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวแรง ดังนั้นโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยมีน้อยกว่า เพราะหากพิจารณาเงินเฟ้อพื้นฐานของไท ยยังต่ำอยู่ที่ 2.5% เทียบเงินเฟ้อพื้นฐานสหรัฐ สูงถึงระดับ 6% ยกเว้นหากการวิ่งขึ้นของเงินเฟ้อพื้นฐานของไทยที่ระดับ 4-5% ซึ่งจำเป็น ต้องประชุมฉุกเฉิน อย่างไรก็ตามมาตรการที่จะออกมาตอนนี้ อาจต้องดูแลกลุ่มที่ยังมีภาระหนี้สูงเป็นหลักมากกว่า
ดังนั้นไทยจึงไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยแรงตามสหรัฐ โดยเชื่อ กนง.จะขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป ขึ้นครั้งละ 0.25% ทำให้ดอกเบี้ยสิ้นปีนี้เฉลี่ยที่ 1.0-1.25%
"การขึ้นดอกเบี้ยแก้ปัญหาเงินอ่อนค่าไม่ได้ เช่น เกาหลีใต้ขึ้นดอกเบี้ยแต่ค่าเงิน ยิ่งอ่อนค่ามากกว่าไทย และต้องจับตาการ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังมีความหวังกับการฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคยังดี แต่ยังมีความเสี่ยงจากภายนอก ซึ่งต้องรอดูภาพในไตรมาส 3 นี้ชัดเจนก่อน น่าจะเป็นจุดที่เงินเฟ้อไปถึงจุดสูงสุดแล้ว ยังคงมุมมองจีดีพีปีนี้โต 2.8%"
เชื่อฟันด์โฟลว์ไหลออกไม่แรง
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า แม้ว่าตลาดจะมองว่า มีโอกาสที่เฟดจะ เร่งขึ้นดอกเบี้ย 1% กว่า 83% (จาก CME Fedwatch tool) แต่ไม่สามารถฟันธงได้ว่า เฟดจะเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงดังกล่าวได้หรือไม่เนื่องจากต้องติดตามตัวเลขแนวโน้มเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะกลาง ซึ่งตลาดจะรอลุ้น U of Michigan 5-year Inflation expectations ในวันนี้ (15 ก.ค.) ถ้าหากเงินเฟ้อคาดการณ์ "คงที่หรือลดลง" เฟดก็อาจไม่จำเป็นต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยตามที่ตลาดมองได้
ทั้งนี้แม้ว่าส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐกับไทยที่กว้างขึ้นไม่เป็นประเด็นให้เงินทุนไหลออกรุนแรง เพราะตลาดคาดการณ์ แล้ว ที่ผ่านมาเงินทุนไหลออกจากหุ้นไทย ซึ่งซึ่งเป็นไปตามความกังวลเศรษฐกิจถดถอยมากกว่า กังวลส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ดังนั้น ธปท.จึงไม่น่าจำเป็นต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง หรือมีประชุมนอกรอบแต่อย่างใด และมองกรอบเงินบาทระยะสั้น ที่ 37-37,50 บาท ต่อดอลลาร์
ไทยขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการ รองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ และประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (เฟทโก้) กล่าวว่า หากดูเงินเฟ้อของสหรัฐล่าสุด 9.1% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ทำให้การคาดการณ์มีโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยที่ 0.50-0.75% ในการประชุมครั้งหน้าส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ 67% เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ไปถึง 1% เพราะตลาดคาดเงินเฟ้ออาจดื้อยาจึงต้องใส่ยาแรงเพราะยาเบาไปก็ไม่ช่วย
ทั้งนี้ถ้อยแถลงของเฟดในช่วงที่ผ่านมา ที่คาดจะขึ้นดอกเบี้ยไปจบที่ 3.4% สิ้นปีนี้ และปีหน้าที่ 3.8% แต่ปัจจุบันเงินเฟ้อไป แรงกว่าที่คาดที่ 9.1% ดังนั้นตลาดคาดการณ์ว่า ดอกเบี้ยอาจขึ้นไปมากกว่าคาดนี้ได้พอ สมควร
ดังนั้นมองว่าการประชุมครั้งนี้ เฟดจะเผชิญแรงกดดันมากจากเงินเฟ้อ เพราะเงินเฟ้อที่ออกมา ถือว่ามากกว่าคาด อีกทั้งยังขยายตัวต่อเนื่อง หากเทียบกับเดือนก่อนถึง 1.3% และเงินเฟ้อพื้นฐาน ปรับเพิ่มขึ้น ถึง 0.7% ซึ่งสูงสุดในรอบ 12 เดือน สะท้อนว่าแรงกดดันเงินเฟ้อยังมีต่อเนื่อง และยังมีต่อไป
ขณะที่การดำเนินนโยบายการเงินของไทย มองว่า กนง.จะค่อยๆปรับดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น เพราะวัฏจักรเศรษฐกิจไทย และสหรัฐต่างกันสิ้นเชิง อีกทั้งเศรษฐกิจไทยพึ่งฟื้นตัว ดังนั้นจะเห็นการขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปครั้งละ 0.25% ในช่วง 3 ครั้งที่เหลือทำให้ปลายปีดอกเบี้ยนโยบายการเงินจะอยู่ที่ 1.25%
'ทิสโก้'คาดเงินเฟ้อตัวชี้ขึ้นดอกเบี้ยช้า-เร็ว
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐที่รายงานออกมาพุ่งขึ้นมาที่ระดับ 9.1% สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 8.8% และเป็นตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบ 40 ปี ส่งผลสร้างความกังวลต่อนักลงทุนที่ยังคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเร่งขึ้น อัตราดอกเบี้ยต่อไป และมองว่าตัวเลขเงินเฟ้อทั่วโลกน่าจะใกล้จุดพีคแล้ว
ส่วนอัตราดอกเบี้ยของไทยตอนนี้กำลังเริ่มประเมินกันว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากการประชุมของ กนง.ที่เหลือ 3 ครั้งในช่วงที่เหลือ ปีนี้ แต่ทุกอย่างขึ้นอยู่ที่เงินเฟ้อของไทยจะสูงแค่ไหน ซึ่งหากสูงมากอาจนัดประชุมเร็วขึ้น แต่มองว่าไม่ได้มีสาระสำคัญมาก เพราะว่าไทยได้ตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวที่หายไปเริ่มฟื้นตัวเข้ามาช่วยได้มาก
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"