ดอกเบี้ยนโยบายของไทย: ปรับขึ้นเพราะอะไร ทำไมต้องตอนนี้

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียงให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 0.50% เป็น 0.75% ต่อปี นับเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกหลังคงดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2563

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไม กนง. จึงตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ การปรับขึ้นตอนนี้ช้าเกินไปหรือไม่ และการขึ้นดอกเบี้ยแบบไหนถึงจะเหมาะกับบริบทไทย
ทำไม กนง. ถึงตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยตอนนี้?
ในช่วงที่ COVID-19 แพร่ระบาดหนัก กนง. ได้ตัดสินใจลดดอกเบี้ยและคงไว้ที่ระดับต่ำเป็นเวลานานกว่า 2 ปี เพื่อประคับประคองให้เศรษฐกิจค่อย ๆ ฟื้นตัวได้ จนเมื่อสถานการณ์การระบาดเริ่มปรับดีขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวชัดเจน นักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มกลับมาเที่ยวไทยมากขึ้นต่อเนื่อง
ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลดีต่อภาคธุรกิจและตลาดแรงงาน ทำให้จำนวนผู้ว่างงานและผู้เสมือนว่างงานปรับลดลงไปที่ระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนการระบาด รวมถึงรายได้เฉลี่ยของแรงงานนอกภาคเกษตรก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (รูปที่ 1)
ซึ่งสุดท้ายแล้วก็จะช่วยสนับสนุนการบริโภคในประเทศให้ขยายตัวได้ แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้นจึงเป็นปัจจัยข้อแรกที่ทำให้ กนง. เห็นว่าการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำอย่างในปัจจุบันมีความจำเป็นลดลง
ขณะเดียวกัน หลังจากวิกฤต COVID-19 เริ่มคลี่คลาย ไทยก็เผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูงอีก จากปัจจัยด้านอุปทานตั้งแต่ช่วงต้นปี เช่น โรคระบาดในสุกร ก่อนจะถูกซ้ำเติมจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ทำให้ราคาน้ำมันโลกพุ่งสูงสุดในรอบ 13 ปี
สถานการณ์ที่ยืดเยื้อส่งผลให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน และธุรกิจหลายรายจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาสินค้า เพราะไม่สามารถอั้นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้
มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ต่อเนื่องอาจทำให้เงินเฟ้อมีความเสี่ยงที่จะปรับสูงขึ้นกว่านี้ได้ ทั้งจากธุรกิจที่อาจปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอีก หรืออาจมีแรงกดดันด้านราคาเพิ่มเติมตามความต้องการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตอนนี้จะช่วยลดความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะปรับสูงขึ้นไปกว่านี้ รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นว่าธนาคารกลางจะดูแลเงินเฟ้อคาดการณ์ให้อยู่ในกรอบเป้าหมาย
สรุปแล้วคือ เมื่อสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีความชัดเจนขึ้น ขณะที่เงินเฟ้อก็มีความเสี่ยงที่จะปรับสูงขึ้น จึงเป็น เวลาที่เหมาะสม ที่ กนง. จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
การขึ้นดอกเบี้ยตอนนี้ ช้าเกินไป หรือไม่?
หลายคนอาจตั้งคำถามว่าไทยขึ้นดอกเบี้ยช้าเกินไปหรือไม่ เพราะหลายประเทศ ทั้งสหรัฐฯ อังกฤษ รวมถึงประเทศในภูมิภาค เช่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ ต่างขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วตั้งแต่ช่วงต้นปี ซึ่งหากดูบริบทด้านเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทยจะเห็นได้ชัดว่าการขึ้นดอกเบี้ยในเวลานี้ ไม่ช้าเกินไป
หากพิจารณามิติของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จะเห็นว่าหลายประเทศที่ได้ขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว ส่วนใหญ่เริ่มขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกเมื่อเศรษฐกิจเติบโตจนถึงหรือเกินระดับก่อนการระบาดของ COVID-19 แล้ว ขณะที่สำหรับไทยนั้น เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นและยังโตไม่ถึงระดับก่อนการระบาด (รูปที่ 2)
เนื่องจากไทยพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวค่อนข้างมากถึง 12% ของ GDP และมีแรงงานไทยกว่า 52% ที่ทำงานอยู่ในภาคบริการซึ่งฟื้นตัวช้ากว่าภาคการผลิต การขึ้นดอกเบี้ยของไทยในช่วงเวลานี้จึงไม่ได้ช้าไปเมื่อเทียบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเอง
หากพิจารณามิติด้านเงินเฟ้อ หลายประเทศต้องขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงเพราะเผชิญกับเงินเฟ้อที่เร่งสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่ร้อนแรง เช่นที่เราเห็นในสหรัฐฯ ทำให้ธนาคารกลางต้องใช้ยาแรงเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ดังกล่าว
ขณะที่เงินเฟ้อในไทยปรับสูงขึ้นจากปัจจัยด้านอุปทานเป็นหลัก โดยยังไม่เห็นสัญญาณของการปรับขึ้นราคาจากแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์เหมือนในต่างประเทศ
ซึ่งตามธรรมชาติของปัจจัยด้านอุปทานนั้น ราคาสินค้า เช่น ราคาน้ำมันโลก มักจะปรับเพิ่มขึ้นชั่วคราวและคลี่คลายลงได้เอง อีกทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ไม่สามารถช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่เกิดจากข้อจำกัดด้านอุปทานได้โดยตรงด้วย
ดังนั้น ด้วยเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวได้ช้ากว่าอีกหลายประเทศและเงินเฟ้อที่ยังไม่มีแรงกดดันด้านอุปสงค์เหมือนในต่างประเทศ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ระดับปกติ (normalization) จึงไม่ได้ถือว่าช้าเกินไปสำหรับบริบทของไทย
การขึ้นดอกเบี้ยแบบไหนเหมาะกับบริบทไทย?
ด้วยเศรษฐกิจที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว การขึ้นดอกเบี้ยเร็วหรือแรงเกินไปอาจซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยที่ยังมีรอยแผลลึกจากวิกฤต COVID-19 โดยเฉพาะกับกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและฟื้นตัวได้ช้ากว่าคนอื่น เช่น ธุรกิจขนาดเล็กและแรงงานในภาคบริการ
ดังนั้น ถึงแม้ว่า กนง. จะเห็นว่าถึงเวลาที่ควรขึ้นดอกเบี้ยแล้ว แต่การปรับขึ้นดอกเบี้ยควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้การฟื้นตัวไม่สะดุดและเอื้อให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนสามารถปรับตัวได้ รวมถึงยังคงมีมาตรการทางการเงินรองรับกลุ่มลูกหนี้ที่ยังต้องการความช่วยเหลือ
ซึ่งมาตรการมีหลายรูปแบบเพื่อตอบโจทย์ให้ตรงตามปัญหาและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม รวมถึงมีความยืดหยุ่นพร้อมปรับเปลี่ยนเพื่อให้สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างเหมาะสมที่สุด (รูปที่ 3)
การปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางแต่ละแห่งไม่ได้มีรูปแบบกฎเกณฑ์ตายตัว แต่ควรปรับให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละประเทศ ดังนั้น การปรับขึ้นดอกเบี้ยในระยะข้างหน้าของไทยควรต้องขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงินในประเทศเป็นหลัก โดยยังต้องติดตามปัจจัยต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ การฟื้นตัวของรายได้แรงงานและการจ้างงาน การปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและคาดการณ์เงินเฟ้อของประชาชนในระยะข้างหน้า รวมถึงความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ซึ่งอาจกระทบเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทยได้
ดังนั้น ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนที่ยังคงสูงอยู่เช่นนี้ ผู้ดำเนินนโยบายจึงต้องปรับตัวให้เท่าทันและดำเนินนโยบายที่เหมาะสม ยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ที่อาจปรับเปลี่ยนได้เร็วในอนาคต
โดย ณัฐนิชา เทพพรพิทักษ์
ธนาคารแห่งประทศไทย (ธปท.)
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"