ทำไมธนาคารกลางอังกฤษต้องกลับลำมาทำคิวอี

เซอร์ไพรส์ตลาดหลังธนาคารกลางอังกฤษประกาศซื้อพันธบัตรระยะยาว เกิดอะไรขึ้นกับระบบการเงิน ทำไมธนาคารกลางอังกฤษต้องกลับลำมาทำ คิวอี โดย ดร. กำพล อดิเรกสมบัติ SCB Chief Investment Office

เซอร์ไพรส์ตลาดเมื่อธนาคารกลางอังกฤษ (Bank of England: BOE) กลายเป็นธนาคารกลางแรกที่ต้องกลับลำมาทำการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล (Quantita tive Easing: QE) โดยประกาศเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาว เพื่อช่วยกดอัตราผลตอบแทน (bond yield) ลง และช่วยรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน หลังจากที่ รัฐบาลใหม่ได้มีการแถลงนโยบายที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจและลดภาษีขนาดใหญ่ (4.5 หมื่นล้านปอนด์) ในขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษได้มีการขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการกับเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ ถ้าเทียบเศรษฐกิจอังกฤษเป็นรถยนต์ ก็เรียกได้ว่าช่วงก่อนหน้าคนขับรถเหยียบทั้งเบรก (ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง) และใช้เบรกมือ (ทำ Quantitative tightening: QT) เพื่อชะลอความร้อนแรงของเงินเฟ้อ แต่อยู่ดีๆ มีคนขับคนที่สองยื่นขามาเหยียบคันเร่ง หลายคนตะโกนบอกว่าอย่าเพิ่งเหยียบคันเร่ง (หนึ่งในนั้นคือ IMF) แต่คนขับคนที่สองไม่ฟังและยังเหยียบต่อ ระบบในรถก็เลยรวนไปหมด รวนหนักขนาดที่เครื่องจักรบางเครื่องส่งสัญญาณกำลังจะระเบิด เครื่องจักรเครื่องนั้นก็คือ กองทุนบำเหน็จบำนาญ (Pension funds) ของ อังกฤษซึ่งถูกกระทบจากดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรขาขึ้นอย่างรวดเร็ว
สำหรับกองทุนบำเหน็จบำนาญจะมีเงินเข้ามาสมทบจากสมาชิกทุกเดือน (เงินออมของสมาชิก) เงินส่วนนี้อยู่ฝั่งสินทรัพย์ (Asset) ของกองทุน และมีเงินที่กองทุนต้องจ่ายให้กับสมาชิกกองทุนในอนาคต (ผลประโยชน์ของสมาชิก) ส่วนนี้ คือฝั่งหนี้สิน (Liability) หน้าที่ของกองทุนบำเหน็จบำนาญหลักๆ คือนำเงินสมทบที่ได้ไปลงทุน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ (เงินต้น + ผลตอบแทนการลงทุน) เพื่อให้เพียงพอที่จะนำมาคืนสมาชิก กองทุนบำเหน็จบำนาญเหล่านี้ มีหน่วยงานกำกับอยู่
โดยหนึ่งในเงื่อนไขที่หน่วยงานกำกับใช้ประเมินกองทุนฯ ก็คือดูว่า Asset-Liability = Funding position มีเพียงพอหรือไม่ แต่เนื่องจาก Liability ของกองทุน เป็นสิ่งที่จะต้องจ่ายในอนาคต ดังนั้นจึงจะแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของ อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ และความยืนยาวของอายุสมาชิก ที่จะเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า ทำให้ Liability ของกองทุนมีความผันผวน และทำให้ Funding position ผันผวนไปด้วย
The L-word for Liability Driven Investment
เพื่อจัดการปัญหาความผันผวนของ Liability ที่กระทบกับ Funding position กองทุนบำเหน็จบำนาญ (โดยเฉพาะกองทุนฯ แบบ Defined benefit ที่ระบุชัดเจนในสัญญาว่าจะต้องจ่ายผลประโยชน์ให้กับสมาชิก ที่แม้ liability ของกองทุนฯ อาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงตามอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนพันธบัตร แต่มูลค่าปัจจุบัน (present value) ของ liability ก็มีการเปลี่ยนแปลงตามการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนพันธบัตร)
ได้มีการนำเอา hedging strategy มาใช้ โดยใช้ทั้งพันธบัตร (อังกฤษเรียกพันธบัตรรัฐบาลว่า Gilts) และตราสารอนุพันธ์ (derivative) ที่เรียกว่า Interest Rate Swap (IRS) เข้ามาช่วยเพื่อลดความผันผวนของ Liability โดยกลยุทธ์ ที่ทำแบบนี้เรียกว่า Liability Driven Investment (LDI)
สำหรับ IRS ที่ถูกนำมาใช้ส่วนใหญ่กองทุนบำเหน็จบำนาญจะซื้อดอกเบี้ยแบบคงที่ (fixed) เพื่อลดความผันผวน และยอมจ่ายดอกเบี้ยแบบ float ด้วยวิธีนี้ ซึ่งจะช่วยให้กองทุนฯ สามารถ matching หนี้สินและสินทรัพย์ของกองทุนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกลยุทธ์นี้เป็นที่นิยมมากในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ตัวเลขล่าสุด มีมูลค่าการใช้กลยุทธ์แบบนี้สูงถึง 1.5 ล้านล้านปอนด์ หรือประมาณ 2/3 ของ GDP ของ UK
Another Big L-word for Leverage ในการทำ LDI ขึ้นชื่อว่าเป็น Derivative (อนุพันธ์) คุณสมบัติหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เพิ่มคือการ Leverage กล่าวคือกองทุนบำเหน็จบำนาญ ไม่ได้จำเป็นต้องนำเอาสินทรัพย์ทั้งหมดไปใช้เป็นหลักประกันในการที่จะลดความผันผวนของ Liability แต่สามารถนำเอาเงินแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งไปใช้ก็ได้ เพื่อใช้เป็นหลักประกัน (Collateral) แล้วใช้การ Leverage เพื่อให้วงเงินครอบคลุมตามที่กองทุนฯ เห็นสมควร โดยการทำ Leverage Interest Rate Swap เป็นกลยุทธ์ที่กองทุนฯ ในอังกฤษใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนการ Leverage ก็สามารถทำได้ตั้งแต่ 1-7 เท่า
โดยหลักประกันที่นิยมใช้ ก็คือพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว โดยเมื่อไหร่ที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเด้งขึ้น (rising bond yield) หรือราคาพันธบัตรลดลงจนมูลค่าหลักประกันที่วางไว้ต่ำกว่าระดับที่กำหนด ก็จะมีการต้องเติมเงิน คล้ายกับโดน margin call นั่นเอง
วงจรแห่งหายนะล่าสุดที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อธนาคารอังกฤษขึ้นดอกเบี้ยเพื่อขจัดเงินเฟ้อ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวในอังกฤษเร่งตัวขึ้น และเร่งตัวขึ้นมากกว่าเดิมและเร็วกว่าเดิมเมื่อรัฐบาลอังกฤษออกมาส่งสัญญาณจะทำนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและลดภาษี ซึ่งยิ่งจะทำให้มีอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นหรือลงช้า เมื่อเทียบกับประเทศที่ไม่ได้ทำมาตรการกระตุ้น
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรก็เลยวิ่งขึ้นไปอีก สิ่งที่เกิดขึ้นกับกองทุนบำเหน็จบำนาญ ก็คือการต้องเติมเงินเพราะถูก margin call จากสถานะที่เปิดไว้ใน IRS ภายใต้ LDI เนื่องจาก อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เร่งขึ้น หมายถึงมูลค่าของหลักประกัน (พันธบัตรระยะยาว)ที่ลดลง
ซึ่งในบางกรณีที่เติมเงินไม่ทันก็จะถูกยึดและถูกเทขายออกมา ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรก็ยิ่งเพิ่มขึ้นไปอีก กลายเป็นวงจรแห่งความหายนะ ซึ่งหากวงจรนี้เกิดขึ้นต่อไป หลายๆ กองทุนบำเหน็จบำนาญอาจถึงขึ้นล้มละลายได้ เนื่องจาก Leverage ที่ทำไว้มีขนาดใหญ่มาก โดยมีรายงานว่าผู้บริหารกองทุนฯ ขนาดใหญ่ได้มีการเรียกร้องให้ Bank of England เข้ามาช่วยซื้อพันธบัตรตั้งช่วงปลายสัปดาห์ 20-23 กันยายน
The BOE’s QE return หลังจากเพิ่งจบโครงการ QE รอบที่ทำช่วงวิกฤต COVID-19 เมื่อปลายปี 2021 ที่ผ่านมา แต่ผลกระทบจาก Vicious cycle จากกองทุนบำเหน็จบำนาญที่มีต่อตลาดพันธบัตรอังกฤษ ทำให้ในวันที่ 28 กันยายน ธนาคารกลางอังกฤษต้องเข้ามาช่วยจัดการด้วยการประกาศว่าจะเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวโดยใช้วงเงินทั้งหมด 6.5 หมื่นล้านปอนด์ (ซื้อวันละ 5 พันล้านปอนด์ 13 วันทำการ) และจะหยุดขายพันธบัตรรัฐบาลเป็นการชั่วคราวด้วย เรียกว่าทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรขยับขึ้น โดยล่าสุด อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของอังกฤษได้ลดลงจากเกือบ 4.5% (ณ วันที่ 27 กันยายน 2565) ลงมาเหลือประมาณ 4.0% (ณ วันที่ 30 กันยายน 2565)
บทเรียนสำคัญ: Policy Coordination sooner rather than later
ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังเผชิญกับพายุหลายลูก ทั้งเงินเฟ้อ เศรษฐกิจชะลอตัวและกำลังมีความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในบางประเทศ รวมถึงตลาดการเงินโลกกำลังผันผวน นักลงทุนทั่วโลกสับสนและตกใจง่าย การทำนโยบายการเงินและการคลังที่สอดประสานกัน ไม่สร้างความสับสนให้ตลาดเพิ่มเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ บทเรียนจากอังกฤษ น่าจะเป็นบทเรียนสำคัญให้กับ Policy makers ในหลายๆ ประเทศรวมทั้งบ้านเราได้เป็นอย่างดีครับ พูดง่ายๆ จะทำอะไรต้องดูตาม้าตาเรือ กาลเทศะ ให้ครบถ้วน เรื่องไหนยังไม่รู้จริงว่าผลกระทบจะเป็นอย่างไร ก็อย่าเพิ่งรีบพูดรีบทำ
อีกบทเรียนหนึ่งที่ผมมองว่าน่าจะสำคัญกับนักลงทุนที่ค่อนข้างกังวลเรื่อง เศรษฐกิจถดถอย หรือวิกฤตต่างๆ ที่จะตามมาก็คือเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้กู้วิกฤตที่เพิ่งถูกหยุดมาตรการไป ถ้าถึงยามจำเป็น ธนาคารกลาง หรือรัฐบาล ยังพร้อมนำกลับมาใช้ได้ ผมไม่ได้บอกว่าไม่ต้องกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยนะครับ แต่อยากจะให้ข้อมูลว่าเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ยังมีอยู่ อยู่ที่ถึงคราวจำเป็นหรือยังที่จะถูกนำมาใช้ และใช้อย่างไร เพราะการใช้เครื่องมือในแต่ละครั้งมีต้นทุนเสมอ
โดย ดร. กำพล อดิเรกสมบัติSCB Chief Investment Office
Source: TNN

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

IC Markets

ASIC 500 : 1 1 pips - Mini
1 pips - Stand
0 pips - ECN
$200 0.01 lot

View Profile

Visit website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"