Bank Run: ความไม่ยั่งยืนของระบบการเงิน หรือ ต้นทุนที่ต้องจ่าย

ปีนี้รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ตกเป็นของนักเศรษฐศาสตร์มหภาคสายการเงินการธนาคารอย่าง Ben Bernanke, Douglas Diamond และ Philip Dybvig ซึ่งผู้คนน่าจะคุ้นชื่อของ Ben Bernanke กันมาบ้างจากข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ

เพราะเขาผู้นี้เคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาในช่วงปี ค.ศ. 2006 – 2014 ซึ่งเป็นช่วงที่อเมริกาเผชิญกับวิกฤติซับไพรม์
แต่จะมีซักกี่คนกันที่รู้จักอีกสองท่านที่เหลือ ? ในฐานะที่ผู้เขียนได้อ่านผลงานของท่านทั้งสองและได้นำมาสอนให้นักศึกษาปริญญาเอกที่คณะเป็นระยะเวลานานหลายปี วันนี้จะถือโอกาสหยิบเอาองค์ความรู้นี้มาบอกเล่าต่อด้วยภาษาง่าย ๆ เพื่อชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการทางระบบการเงินการธนาคาร และนำมาสู่การตั้งคำถามต่อถึง “ความยั่งยืน” ของแวดวงนี้
หนึ่งในผลงานที่ทำให้ Diamond และ Dybvig มีชื่อเสียงอย่างมากในวงการเศรษฐศาสตร์ จนนำมาสู่การได้รับรางวัลโนเบลในปีนี้ คืองานที่ทั้งสองได้ร่วมกันอธิบายปรากฎการณ์ Bank Run หรือการที่ผู้ฝากเงินพร้อมใจกันแห่ถอนเงินออกจากธนาคาร จนธนาคารไม่สามารถหาเงินมาให้ทุกคนในเวลาเดียวกันได้ จนธนาคารเจ๊ง แล้วเมื่อเกิด Bank Run ในธนาคารใดธนาคารหนึ่งแล้ว ธนาคารอื่นก็จะทยอยโดน Bank Run ไปด้วย ก็เจ๊งตาม ๆ กันไป พอธนาคารเจ๊งกันมาก ๆ ธนาคารที่พอจะทนกับ Bank Run ของตัวเองได้ แต่เป็นเจ้าหนี้ หรือมีความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างเชื่อมโยงกับกลุ่มที่เจ๊งไปแล้ว ก็เลยต้องเจ๊งตาม ๆ กันไปอีก สรุปก็คือล่มสลายกันหมดทั้งภาคการเงินการธนาคาร ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อภาคการผลิตและเศรษฐกิจมหภาค
Bank Run เกิดได้อย่างไร ? มันคือผลของการจัดการระบบการเงินการธนาคารที่ไม่ยั่งยืนใช่หรือไม่ ? Diamond และ Dybvig ได้ชี้ให้เห็นว่าจริง ๆ แล้ว Bank Run เป็นความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ของระบบการเงินการธนาคารที่ดีแล้วต่างหาก และการมองหาความยั่งยืนในลักษณะของความมีเสถียรภาพเต็มร้อยมันอาจจะไม่ได้มีอยู่จริง
เรื่องราวมันเริ่มจากกระบวนการออมและการลงทุนที่ทุกคนต้องเจอ เมื่อวันหนึ่งเรามีรายได้ เราก็ใช้ไปเลยส่วนหนึ่ง แล้วอีกส่วนเราก็อยากจะเก็บไปเพื่อการบริโภคในอนาคต การลงทุนเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยเก็บมูลค่าสิ่งที่เรามีในวันนี้ไปเป็นผลตอบแทนที่สูงในอนาคต แต่ในโลกของความเป็นจริงนั้น กว่าการลงทุนจะให้ดอกออกผลมักก็ใช้เวลานาน ซึ่งในระหว่างนั้นตัวเราเองก็ไม่รู้ว่าเราจะเกิดมีความจำเป็นต้องใช้เงินหรือเปล่า
ปัญหามันก็อยู่ตรงนี้แหละ ถ้าเกิดอยู่ดี ๆ ฝนตกฟ้าร้องหลังคารั่วเกิดต้องใช้เงินขึ้นมาทันทีทันใด การไปถอนการลงทุนระยะยาวออกมากลางคันจะทำให้เราไม่ได้ผลตอบแทนตามที่หวัง นั่นหมายความว่า ในทุก ๆ เวลา จะมีคนที่โชคดีที่สามารถรอจนได้ผลตอบแทนที่สูงจากการลงทุนในระยะยาว และก็มีคนที่โชคร้ายได้ผลตอบแทนที่ต่ำเพราะจำเป็นต้องถอนการลงทุนออกมากลางคัน
เราสามารถจับคู่กันทำสัญญาประกันแบ่งปันความเสี่ยงกันเองได้มั้ย ? คำตอบคือยากครับ เพราะความเสี่ยงในการมีเหตุที่ต้องใช้เงินกลางคันแบบนี้เป็นสิ่งที่ตรวจสอบจากภายนอกไม่ได้ เราจะเดินไปทำสัญญากับคนแปลกหน้าแล้วบอกว่า ถ้าใครเกิดโชคร้ายมีเหตุจะต้องถอนการลงทุนขึ้นมา ก็ให้คนโชคดีที่ไม่มีเหตุใช้เงินอะไรไปถอนการลงทุนออกมาส่วนหนึ่งแล้วเอามาให้กับคนที่โชคร้ายเพื่อเป็นการแบ่งปันความเสี่ยงกัน อีแบบนี้ไม่ว่าใครก็ต้องบอกว่าตัวเองมีเหตุใช้เงินไว้ก่อนทั้งนั้น เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินให้อีกใคร ผลสุดท้ายก็คือ ชีวิตเราก็ต้องมานั่งลุ้นหัวลุ้นก้อยว่ารอบนี้ฉันจะโชคร้ายมีเหตุที่จะต้องถอนการลงทุนก่อนเวลาอันสมควรหรือไม่ เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ซึ่งฟังดูแล้ว ไม่น่าจะเป็นระบบการเงินที่ดีหรือยั่งยืนแต่อย่างใด
การเกิดขึ้นของธนาคารและบัญชีเงินฝากช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยการรวมเงินออมของทุกคนมาอยู่ที่ธนาคารเพื่อนำไปสู่การลงทุนระยะยาว โดยธนาคารสัญญาว่าใครก็ตามที่อยากจะถอนเงินในระยะสั้น ก็มาถอนได้พร้อมกับได้ดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ฝากไว้ ซึ่งมากกว่าสิ่งที่เราได้จากการถอนการลงทุนกลางคันด้วยตัวเอง ส่วนคนที่รอไปถอนในระยะยาวก็จะได้ผลตอบแทนมากกว่าการถอนระยะสั้น แต่จะน้อยกว่าผลตอบแทนของการลงทุนระยะยาวด้วยตัวเอง สัญญาเงินฝากแบบที่เราคุ้นเคยกันแบบนี้แหละสามารถช่วยขจัดปัญหาความเสี่ยงจากเหตุที่ต้องใช้เงินกะทันหันได้ โดยการแบ่งปันความเสี่ยงกันระหว่างคนที่โชคดีกับคนที่โชคร้ายที่อยู่ ๆ ก็มีเรื่องต้องใช้เงินขึ้นมา คนที่รอได้ก็จะได้ผลตอบแทนน้อยลงมาหน่อย แลกกับการที่เขาจะได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นถ้าเขาเกิดโชคร้ายขึ้นมา
ระบบการเงินการธนาคารที่ช่วยแบ่งปันความเสี่ยงกันแบบนี้จะช่วยให้คนมีความสุขมากขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่ล้วนกลัวความเสี่ยง คนที่มีเหตุต้องรีบใช้เงินก็ถอนเงินไป คนที่ไม่มีเหตุจำเป็นอะไรก็รอไปถอนในระยะยาว อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของระบบนี้คือความอ่อนไหวต่ออุปทานหมู่ของคนในสังคม ในสถานการณ์บ้านเมืองที่คนเกิดตื่นตระหนกกับข่าวร้ายข่าวลวงใด ๆ ก็ตาม จนทำให้ “เชื่อ” ว่าจะมีคนไปถอนเงินในระยะสั้นเป็นจำนวนมาก มากจนทำให้ผลตอบแทนของการรอเพื่อที่จะถอนในระยะยาวต่ำจนเกินไป Bank Run ก็จะเกิด แม้ว่าตัวธนาคารเองจะไม่ได้มีการดำเนินงานอะไรที่ผิดพลาดคดโกงเลยก็ตาม
เหตุผลก็คือ ทุกคนรู้ว่าธนาคารสัญญาผลตอบแทนระยะสั้นแก่ผู้ถอนมากกว่าสิ่งที่ได้จากการถอนการลงทุนกลางคันด้วยตัวเอง ดังนั้นการที่เรา “เชื่อ” ว่าคนจะแห่ไปถอนกัน เราก็จะ “เชื่อ” ว่าธนาคารจะต้องถอนการลงทุนมาจนหมดเพื่อให้กับผู้ถอนระยะสั้น จน “เชื่อ” ได้ว่าจะไม่เหลืออะไรให้กับคนที่รอถอนในระยะยาว เพราะ “เชื่อ” อย่างนั้น เราก็ต้องแห่ไปถอนด้วย ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินใด ๆ เมื่อทุกคน “เชื่อ” ตรงกันแบบนี้ เงินในธนาคารก็จะไม่พอ ใครถอนก่อนก็ได้เงินไป ที่เหลือก็จะสูญเงิน ธนาคารก็ล้ม นำไปสู่การล้มครืนทั้งกระดานของสถาบันการเงิน
แน่นอนว่า ผู้ฝากเงินทุกคนไม่มีใครอยากให้ Bank Run เกิดขึ้นอยู่แล้วเพราะมันไม่ได้ดีอะไรกับตัวเขาเองเลย ดังนั้นโดยส่วนใหญ่ คนในเศรษฐกิจก็พร้อมที่จะยึดโยงความเชื่อตัวเองไปกับสถานการณ์ที่ดี ๆ อยู่แล้ว พร้อมจะเชื่ออยู่แล้วว่า “ธนาคารไม่ล้มหรอก” “ทุกอย่างจะโอเคแหละ” “เดี๋ยวทุกอย่างก็ดีเอง” ดังนั้น Bank Run จึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในประวัติศาสตร์โลก มันจะต้องมีความพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรกจริง ๆ อยู่ ๆ ข่าวร้ายก็บังเอิญปะเดปะดังเข้าล็อคกันหมดพอดี Bank Run ถึงจะเกิด แต่พอเกิดขึ้นแล้ว จะนำไปสู่ความเสียหายที่รุนแรงกว่าความโชคร้ายของการที่เราลงทุนด้วยตัวเอง
สรุปแล้วแบบไหนกันหละที่เราเรียกว่ายั่งยืน ? เมื่อไม่มีเสถียรภาพเป็นตัวเลือก ความยั่งยืนก็คงขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน ส่วนตัวผู้เขียนมองว่าการมีธนาคารและบัญชีเงินฝากเป็นทางเลือกที่ดีและยั่งยืนกว่า เพียงแต่ว่าทุกอย่างมันอาจจะมีราคาที่ต้องจ่าย ถ้ามีตรวจสอบดูแลการทำงานของสถาบันการเงินให้ถูกต้องและโปร่งใส อุปทานหมู่ก็น่าจะเกิดได้ยากขึ้นไปเอง สุดท้ายนี้ ผู้เขียนขอขอบคุณ Diamond และ Dybvig รวมถึง Benanke กับคุณูปการที่ทำให้กับวงการเศรษฐศาสตร์ การเงิน และการธนาคาร สมควรอย่างยิ่งกับรางวัลโนเบลในปีนี้ครับ (ปรบมือ)
ผศ. ดร. อัธกฤตย์ เทพมงคล
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Source: ThaiPublica

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"