เวิลด์แบงก์เตือนไทยเร่งเพิ่มการจัดเก็บรายได้ สนองการใช้จ่ายที่พุ่งขึ้น

ธนาคารโลกเปิดตัวรายงาน “การประเมินรายได้และรายจ่ายภาครัฐของประเทศไทย: การส่งเสริมอนาคตที่ทั่วถึงและยั่งยืน” ซึ่งประเมินทางเลือกเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนทางการคลังของไทย ท่ามกลางความต้องการใช้จ่ายที่สูงขึ้น

ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดตัว รายงานการประเมินรายได้และรายจ่ายภาครัฐของประเทศไทย เมื่อวันจันทร์ (29 พ.ค.) โดยระบุว่า หลังจากที่มีการใช้นโยบายการคลังขนานใหญ่ในการรับมือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะนี้ประเทศไทยจำเป็นต้องเตรียมรับมือกับ การใช้จ่ายภาครัฐ ที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังต้องควบคุมระดับ หนี้สาธารณะ ไม่ให้สูงเกินไป
ทั้งนี้ หลังจากดำเนินมาตรการทางการคลังจำนวนมากเพื่อรับมือกับสถานการณ์ของโควิด-19 รัฐบาลไทยกำลังเผชิญกับ “ความท้าทายระยะปานกลาง” ในการลดระดับการขาดดุลการคลังและหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงความท้าทายเชิงโครงสร้างเพื่อตอบสนองความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ในขณะที่ยังคงต้องรักษาความยั่งยืนทางการคลังเอาไว้ด้วย
ภายใต้กรอบดังกล่าว รายงานฉบับนี้ได้นำเสนอข้อแนะนำหลายประการ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้จ่ายของไทย ทั้งในด้านสาธารณสุข การศึกษา และความคุ้มครองทางสังคม อีกทั้งยังประเมินนโยบายการคลังที่สามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการบรรเทาปัญหาและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างละเอียดด้วย
รายงานการประเมินรายได้และรายจ่ายภาครัฐของประเทศไทย – การส่งเสริมอนาคตที่ทั่วถึงและยั่งยืน ระบุถึงแนวทางปฏิรูปที่จำเป็นเพื่อรับมือกับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายภาครัฐ โดยปัจจัยท้าทายเหล่านี้ รวมถึงการเข้าสู่สังคมสูงวัย ซึ่งจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในด้านบำนาญ สวัสดิการผู้สูงอายุ และสวัสดิการการรักษาพยาบาลซึ่งเป็นข้อจำกัดของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
บางด้านก็จำเป็นต้องเพิ่มการใช้จ่าย
รายงานฉบันนี้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐในด้านความช่วยเหลือทางสังคม การศึกษา และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยระบุว่า นโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ รวมถึงนโยบายช่วยเหลือทางการเงินต่างๆ ยังเป็นการให้ความช่วยเหลือที่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล นอกจากนี้ การจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาต่อจำนวนนักเรียนในระดับอนุบาลและระดับมัธยมศึกษายังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากลเช่นกัน ดังนั้น การเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐในด้านเหล่านี้ สามารถส่งเสริมความเท่าเทียมและการพัฒนาทุนมนุษย์ นอกจากนี้ การลงทุนอย่างมีนัยสำคัญในด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย เพื่อการลดผลกระทบที่จะเกิดจากอุทกภัย วาตภัย และการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งมีความถี่และความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต
รายงานของเวิลด์แบงก์ ยังระบุด้วยว่า ถึงแม้หนี้สาธารณะของไทยจะมีการปรับตัวสูงขึ้นจากการรับมือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม แต่ความเสี่ยงทางด้านการคลังของประเทศไทย ยังคงอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ โดยรายงานฉบับนี้มีข้อเสนอแนะว่า ในระยะสั้น รัฐบาลสามารถเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและด้านที่รัฐบาลมุ่งเน้นให้ความสำคัญ โดยสามารถบริหารจัดการการใช้จ่ายในด้านอื่นๆ ให้เหมาะสม
โควิดกับหนี้สาธารณะและผลกระทบเศรษฐกิจไทย
รายงานระบุว่า โรคโควิด-19 เข้ามาระบาดในช่วงที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยเกิดการชะลอตัวแล้ว จากที่ขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 7.7 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2523-2539 โดยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจนถึงปี พ.ศ. 2562 การขยายตัวของ GDP ชะลอตัวลงเหลือเพียงเฉลี่ยร้อยละ 3.3 ต่อปี แต่การที่ไทยมีวินัยในการใช้จ่ายจากนโยบายการคลังแบบอนุรักษ์นิยม โดยมีการขาดดุลงบประมาณในช่วงปี พ.ศ. 2554 ถึง 2562 อยู่ในช่วงร้อยละ +1 ถึง -1 ของ GDP ทำให้รัฐบาลมีพื้นที่ทางการคลังในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีมาตรการทางการคลังขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาค
การประกาศมาตรการทางการคลังเพิ่มเติมมูลค่า 1.52 แสนล้านบาท (เกือบร้อยละ 1 ของ GDP)ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อบรรเทาค่าครองชีพที่สูงขึ้นอันเนื่องมาจากสงครามในยูเครน ส่งผลให้แผนการลดรายจ่ายภาครัฐต้องล่าช้าออกไป
มาตรการทางการคลังดังกล่าวทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 20 ของ GDP ในช่วงก่อนการระบาด นโยบายการคลังแบบอนุรักษ์นิยมของไทยทำให้หนี้สาธารณะลดลงตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2000 (พ.ศ. 2543) ในปี พ.ศ. 2562 ระดับหนี้สาธารณะที่ร้อยละ 41 ของ GDP นับว่าอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานในระดับภูมิภาคและระดับโลก แต่การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้หนี้สาธารณะพุ่งขึ้นมาอยู่ในระดับที่สูงกว่าร้อยละ 60 ของ GDP เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี
ในการนี้ เพื่อเป็นการรองรับนโยบายที่มีความจำเป็นเร่งด่วน จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ทางการคลังเป็นการชั่วคราวรวมถึงการเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะจากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 70 ของ GDP เพื่อช่วยให้รัฐบาลสามารถใช้เงินกู้จำนวน 1.5 ล้านล้านบาทที่ได้รับอนุมัติไว้สำหรับแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2565 ได้อย่างเต็มที่ แม้ว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค
ขอให้เพิ่มประสิทธิภาพทางการคลัง
แม้ว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ แต่ก็มีหลายปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงทางการคลังนี้ได้ หนี้สาธารณะของประเทศไทยเกือบทั้งหมดอยู่ในสกุลเงินบาท และความต้องการถือครองพันธบัตรรัฐบาลในสกุลเงินบาทของคนในประเทศยังสามารถรองรับการออกพันธบัตรของรัฐบาลได้ ด้วยหนี้สาธารณะส่วนใหญ่ถือครองโดยคนไทย ซึ่งจำกัดความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่จะทำให้เกิดเงินทุนไหลออกและการอ่อนค่าของอัตราแลกเปลี่ยน และแม้หนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 แต่ยังคงอยู่ในระดับที่จำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาค อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก (ณ สิ้นปี พ.ศ. 2565)
อย่างไรก็ตาม ตามที่รัฐบาลได้ตระหนักแล้วว่าจำเป็นต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพทางการคลัง (หรือการรัดเข็มขัดทางการคลัง) ในระยะปานกลาง ทั้งนี้ ในกรณีไม่มีการรัดเข็มขัดทางการคลัง ซึ่งดุลการคลังเบื้องต้นยังคงอยู่ที่ระดับเฉลี่ยในช่วงระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่ประมาณร้อยละ 4.4ของ GDP และเมื่อพิจารณาจากสมมติฐานการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันแล้ว หนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไปสู่ระดับที่ไม่มีความยั่งยืน ดังนั้น ในระยะปานกลางจึงจำเป็นต้องลดระดับการขาดดุลลงจากปัจจุบัน นอกจากนี้ ต้นทุนทางการคลังและความเสี่ยงจากการที่หนี้สาธารณะอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 60 ของ GDP สูงกว่าที่ประเทศไทยเคยเผชิญในช่วงก่อนการระบาด
ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจต้องการการสนับสนุนทางการคลังเพิ่มเติม รัฐบาลสามารถชะลอการรัดเข็มขัดทางการคลังในระยะ 2 – 3 ปีข้างหน้าได้โดยไม่กระทบกับความยั่งยืนของหนี้สาธารณะ
ผลการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาคเชิงโครงสร้างแบบกำหนดเอง (customized macro-structural model) แสดงให้เห็นว่า การเพิ่มรายจ่ายลงทุนภาครัฐในระยะปานกลางจากระดับปัจจุบัน จะช่วยให้การรัดเข็มขัดทางการคลังเกิดผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ในบริบทที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงอ่อนไหว เนื่องจากผลกระทบครั้งล่าสุดนี้ การเพิ่มรายจ่ายลงทุนภาครัฐจากร้อยละ 2.6 ของ GDP (ค่าเฉลี่ยรายปี ปี พ.ศ. 2560-2565)เป็นร้อยละ 3.3 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2566-2571 จะช่วยสนับสนุนอุปสงค์ภายในประเทศในระยะสั้น ซึ่งจะส่งผลกระทบแบบทวีคูณเนื่องจากมีการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
เตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย
เมื่อมองไปข้างหน้าจนถึงช่วงหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ความต้องการใช้จ่ายของภาครัฐจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากจำนวนประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชากรสูงวัยที่มากขึ้นจะจำกัดศักยภาพของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งหากไม่มีมาตรการรองรับจะทำให้รักษาความยั่งยืนทางการคลังได้ยากขึ้น การคาดการณ์ในระยะยาวแสดงให้เห็นว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยจะลดลงระหว่างปี พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2593
การเข้าสู่สังคมสูงวัยจะทำให้ความต้องการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นผ่านเงินบำนาญและค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น จำนวนผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป กำลังเพิ่มขึ้นและแนวโน้มนี้จะดำเนินต่อเนื่องไปจนถึงปี พ.ศ. 2593 ภายใต้การประมาณการในกรณีฐานต้นทุนทางการคลังของเบี้ยผู้สูงอายุ และเงินบำนาญข้าราชการคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.8 ของ GDP ในปี พ.ศ. 2562 เป็น ร้อยละ 3.5 ในปี พ.ศ. 2593 โดยมีสมมติฐานว่าขนาดของผลประโยชน์ต่อหัวเพิ่มขึ้นตาม GDP ต่อหัว ต้นทุนรวมทางการคลังของค่ารักษาพยาบาลคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.8 ของ GDP เป็นร้อยละ 3.5 ในช่วงเวลาเดียวกัน เนื่องจากอุบัติการณ์ของโรคไม่ติดต่อยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและขั้นตอนทางการแพทย์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น และจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความต้องการใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มเติม
รายงานของเวิลด์แบงก์ฉบับนี้เสนอแนะว่า ภาครัฐมีความจำเป็นต้องเพิ่มการจัดเก็บรายได้ขึ้นอย่างมาก เพื่อตอบสนองความต้องการใช้จ่ายดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ขณะเดียวกันก็ยังคงต้องรักษาความยั่งยืนทางการคลัง หากไม่มีการปฏิรูปด้านรายได้จะทำให้การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทั้งในด้านความช่วยเหลือทางสังคม การศึกษา และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามที่ระบุไว้ข้างต้น แม้จะมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้จ่ายเท่าที่เป็นไปได้แล้วก็ตาม อาจจะยังทำให้เกิดการขาดดุลการคลังเกินร้อยละ 8 ของ GDP และในระยะยาว หนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นไปสู่ระดับที่ไม่ยั่งยืน
รายงานระบุว่า ในขณะที่มีความจำเป็นต้องเพิ่มการจัดเก็บรายได้ ประเทศไทยยังพอมีพื้นที่ทางการคลังสำหรับเพิ่มการใช้จ่ายในด้านที่สำคัญได้ในทันที โดยสามารถดำเนินการปฏิรูปด้านรายได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป
อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ทางการคลังในระยะยาวจะขึ้นอยู่กับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หากการขยายตัวของ GDP แท้จริงเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2 ต่อปี แทนที่จะเป็นร้อยละ 2.5 ตามที่คาดการณ์ไว้ในกรณีฐานเนื่องจากการลงทุนภาครัฐหรือภาคเอกชนลดลงต่ำกว่าที่คาดไว้ ผลกระทบของการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยที่มากขึ้นต่อกำลังแรงงาน หรือการขยายตัวของผลิตภาพการผลิตรวมที่ไม่เพิ่มขึ้น หนี้สาธารณะอาจเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 70 ของ GDP ภายในปี พ.ศ. 2593 หลังจากพิจารณาผลกระทบของการปฏิรูปด้านรายได้และการใช้จ่ายทั้งหมด ในทางกลับกัน การขยายตัวเฉลี่ยที่เร็วขึ้นเป็นร้อยละ 3 ต่อปีจะช่วยสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถรักษาความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาวได้ แม้ว่าจะไม่ได้ขจัดความจำเป็นในการปฏิรูปด้านรายได้ออกไป
การรักษาความยั่งยืนทางการคลัง
ในระยะยาวนั้น การรับมือกับภาระทางการคลังที่จะเกิดจากการใช้จ่ายที่จำเป็น พร้อมกับบริหารหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับที่มีความยั่งยืนนั้น จะต้องอาศัยการจัดเก็บรายได้ภาครัฐที่เพิ่มขึ้น
นายฟาบริซิโอ ซาร์โคเน ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย ระบุว่า “ประเทศไทยสามารถปฏิรูปเศรษฐกิจให้มีความเท่าเทียมและความยืดหยุ่นมากขึ้นได้โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายภาครัฐ การเพิ่มการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ และการใช้นโยบายช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางและนโยบายที่เกี่ยวกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยธนาคารโลกพร้อมให้การสนับสนุนการปฏิรูปทางการคลังของประเทศไทยเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายเหล่านี้”
รายงานของเวิลด์แบงก์ยังได้ นำเสนอการปฏิรูปภาษีแบบก้าวหน้า ซึ่งเมื่อนำแต่ละวิธีมารวมกันจะสามารถเพิ่มรายได้ได้ราวร้อยละ 3.5 ของผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ ประกอบด้วย
การขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และยกเลิกการยกเว้นต่างๆ
การขยายฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและลดเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีและการหักค่าใช้จ่าย และ
การขยายการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
โดยหากมีการดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงที่เหลือของทศวรรษนี้ การปฏิรูปเหล่านี้จะส่งเสริมความให้เกิดความเท่าเทียมและเพิ่มศักยภาพการจัดเก็บรายได้ภาครัฐเพื่อรองรับการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้น โดยผลกระทบของการปฏิรูปด้านภาษีต่อผู้มีรายได้น้อยและคนยากจนสามารถได้รับการทดแทนโดยนโยบายและมาตรการช่วยเหลือทางสังคมต่างๆ ซึ่งยังส่งผลให้สถานะทางการคลังของรัฐบาลดีขึ้น
รายงานยังระบุว่า การปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มและการยกเว้น สามารถเพิ่มรายได้ภาษีได้เป็นจำนวนมาก และยังสามารถมีความก้าวหน้าได้ด้วย ภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยเป็นภาษีที่ค่อนข้างมีประสิทธิผล โดยรัฐบาลสามารถจัดเก็บได้ประมาณร้อยละ 85 ของการจัดเก็บที่เป็นไปได้เมื่อพิจารณาจากอัตราและฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ประเทศไทยพลาดโอกาสในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราที่สูงขึ้นโดยอัตราร้อยละ 7 จัดเป็นอัตราต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง และเนื่องจากฐานภาษีค่อนข้างแคบ การปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 คาดว่าจะทำให้รายได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.6 ของ GDP โดยผลกระทบส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้มีรายได้สูง
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีศักยภาพในการเพิ่มรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาร้อยละ 0.7 ของ GDP ในขณะเดียวกันก็สามารถทำให้ระบบภาษีเป็นธรรมขึ้นได้ รายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทยที่ประมาณร้อยละ 1.8 ของ GDP อยู่ใน 20 เปอร์เซ็นต์ไทล์ล่างสุดของกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง โดยมีสาเหตุมาจาก
ฐานภาษีที่แคบ โดยมีสัดส่วนของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่ในระดับต่ำ และพนักงานที่ไม่ได้รับเงินเดือนประจำมีอัตราการยื่นภาษีต่ำ
อัตราความไม่เป็นทางการ (นอกระบบ) ที่ค่อนข้างสูง และ
แม้จะมีอัตราภาษีส่วนเพิ่มสูงสุดถึงร้อยละ 35 แต่อัตราภาษีที่แท้จริงยังต่ำเนื่องจากมีแรงจูงใจและค่าลดหย่อนภาษีจำนวนมาก มีเพียง 4 ล้านคน (หรือร้อยละ 10 ของกำลังแรงงาน) ที่จ่ายภาษีในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพนักงานที่ได้รับเงินเดือนประจำ
ด้านการจัดเก็บภาษีจากความมั่งคั่งจะช่วยเพิ่มรายได้และเพิ่มความเป็นธรรมให้กับระบบภาษี ขณะเดียวกันก็สามารถลดผลกระทบจากการบิดเบือนได้ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเครื่องมือทางภาษีที่ส่งเสริมความเป็นธรรมและเป็นมิตรกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศไทยอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำที่ร้อยละ 0.2 ของ GDP ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงที่ร้อยละ 0.5 การปิดช่องว่างนี้อาจช่วยเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คิม อลัน เอ็ดเวิร์ด นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสและหัวหน้าโครงการของธนาคารโลก กล่าวว่า “การเพิ่มการจัดเก็บรายได้ภาครัฐเป็นเรื่องที่จำเป็น นอกจากนี้ ประเทศไทยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายภาครัฐผ่านมาตรการให้ความช่วยเหลือทางสังคม การศึกษา และสาธารณสุข เช่น การใช้มาตรการช่วยเหลือทางสังคมที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจนจะช่วยลดภาระทางการคลังแต่ยังสามารถลดระดับความยากจนได้”
รายงานฉบับนี้มีข้อเสนอแนะว่า ด้านการศึกษา การจัดสรรทรัพยากรในระดับประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจะส่งเสริมผลลัพธ์การเรียนรู้ให้ดีขึ้นได้ ด้านสาธารณสุข การคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีประสิทธิภาพและการให้ความสำคัญกับมาตรการป้องกันรักษาสุขภาพจะช่วยลดภาระและความจำเป็นของการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงในอนาคตได้ ทั้งนี้ การพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย
Source: ฐานเศรษฐกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"