อย่าเล่นกับไฟ อย่าไฟต์กับธนาคารกลาง

อาจกล่าวได้ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นสัปดาห์ของการ “สำแดงฤทธิ์” ของธนาคารกลางสำคัญทั่วโลก ทั้งของสหรัฐและยุโรปที่ส่งส่งสัญญาณพร้อมขึ้นดอกเบี้ย สวนทางกับธนาคารกลางของจีนและญี่ปุ่น
เริ่่มที่ฝั่งของสหรัฐ แม้ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะคงดอกเบี้ยที่ 5-5.25%

แต่ก็ส่งสัญญาณพร้อมขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ท่ามกลางเงินเฟ้อที่หลายฝ่ายมองว่าอยู่ในระดับสูง (ที่ประมาณ 4-5%)
ในฝั่งของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ขึ้นดอกเบี้ย 50 bps หรือ 0.5% ตามคาด แต่ประธาน ECB ก็ส่งสัญญาณว่าเงินเฟ้อยังคงเป็นความเสี่ยงและคงยังไม่หยุดขึ้นดอกเบี้ยในระยะสั้น
กล่าวโดยสรุป คือ ธนาคารกลางสำคัญ คือ สหรัฐและยุโรป ยังคงส่งสัญญาณ “สายเหยี่ยว” หรือ Hawkish คือพร้อมขึ้นดอกเบี้ยต่อ
สวนทางกับธนาคารกลางสำคัญ 2 แห่งคือ ธนาคารกลางจีน (PBOC) ที่เพิ่งลดดอกเบี้ยเงินฝาก 7 วัน และดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี ไป 0.1% หลังจากที่ได้ขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ลดดอกเบี้ยเงินฝากไปก่อน
ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงส่งสัญญาณนโยบายการเงินผ่อนคลาย โดยดอกเบี้ยอยู่ที่ -0.1% รวมถึงอัดฉีดสภาพคล่องผ่านมาตรการ QE และทำนโยบายคุมเส้นผลตอบแทนพันธบัตรให้อยู่ระดับต่ำต่อไป
ส่วนตัวผู้เขียนเองนั้น แม้เชื่อคำว่า Don't fight the Fed (รวมถึงธนาคารกลางอื่นๆ) หาก Fed ต้องการจะขึ้นดอกเบี้ยก็คงจะขึ้นได้ แต่ผู้เขียนเชื่อว่าหากธนาคารกลางต่างๆ โดยเฉพาะ Fed ยังคงยืนกรานขึ้นดอกเบี้ยในระยะถัดไป นโยบายการเงินที่ตึงตัวเช่นนี้จะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย จากเหตุผล 3 ประการ
1.ภาวะเศรษฐกิจโดยภาพรวมกำลังเริ่มชะลอลง ในภาพปัจจุบัน เราเริ่มเห็นสัญญาณเศรษฐกิจโลกที่ชะลอมากขึ้นโดยเฉพาะภาคการผลิต ขณะที่เงินเฟ้อก็ชะลอลง แต่อาจจะยังสูงถ้าเทียบกับมาตรฐานของธนาคารกลาง ทำให้ธนาคารกลางทั้งหลายยังคงผลักดันดอกเบี้ยให้อยู่ระดับสูง
อย่าเล่นกับไฟ อย่าไฟต์กับธนาคารกลาง | ปิยศักดิ์ มานะสันต์
2.สภาพคล่องกำลังจะตึงตัวมากขึ้น หากพิจารณาตั้งแต่เดือน พ.ค. เราจะเห็นว่าผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวสูงขึ้นกว่า 40-50 bps เมื่อเทียบกับช่วงต้นเดือน พ.ค. ตั้งแต่มีประเด็นการเพิ่มเพดานหนี้ และยังไม่ลดลง บ่งชี้สภาพคล่องที่ตึงตัวมากขึ้น
สอดคล้องกับนิตยสาร The Economist ที่ออกบทวิเคราะห์ระบุว่า Fed ควรเริ่มยุติมาตรการถอนสภาพคล่อง หรือ QT ได้แล้ว มิฉะนั้นจะเกิดภาวะสภาพคล่องตึงตัวรุนแรง
ที่ผ่านมา นอกจาก Fed จะขึ้นดอกเบี้ยถึงกว่า 5% ยังถอนสภาพคล่องผ่านการลดงบดุลกว่าเดือนละ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ทำให้สภาพคล่องตึงตัวขึ้น ซึ่ง The Economist เรียกร้องให้หยุด เนื่องจาก
(1) การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed กำลังใกล้จะสิ้นสุด และจะต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในไม่ช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ดังนั้น หากทำการลดดอกเบี้ยแต่ยังทำ QT ก็เหมือนกับการกระตุ้นเศรษฐกิจและดูดสภาพคล่องไปพร้อมกัน
(2) ความเสี่ยงในด้านเสถียรภาพการเงินในปัจจุบันมีมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดหุ้นที่อาจปรับตัวลดลงในอนาคต และหากเกิดการปรับฐานรุนแรงก็จะทำให้เสถียรภาพทางการเงินมีปัญหา ขณะที่ภาวะสภาพคล่องที่ตึงตัวอยู่แล้ว (จากสินเชื่อที่ชะลอลง) หลังจากความล้มเหลวของธนาคารหลายแห่งและการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้น มีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้นในระยะต่อไป
(3) ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังของสหรัฐก็พร้อมที่จะดูดซับสภาพคล่องที่มากขึ้น โดยต้องออกพันธบัตรมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 3 เดือนข้างหน้าเพื่อเติมเงินคงคลัง มาตรการดังกล่าวจะทำให้ความเสี่ยงของตลาดมีมากขึ้น
ในส่วนผู้เขียนเองมองว่า แม้ความเสี่ยงการเงินตึงตัวจะมีมากขึ้น แต่เฟดคงยังไม่หยุดมาตรการ QT ในเร็วๆ นี้ เนื่องจากการยุติ QT อาจเป็นการส่งสัญญาณผิดให้กับนักลงทุนว่า เฟดเริ่มมีแนวคิดที่จะลดดอกเบี้ยลงอีกครั้ง ซึ่งจะกระตุ้นความคาดหวังเงินเฟ้อได้
แต่ด้วยการที่เฟดยังคงมาตรการ QT พร้อมด้วยการดูดสภาพคล่องผ่านออกพันธบัตร เพื่อเติมเงินคงคลังของกระทรวงการคลังสหรัฐ (ซึ่งรุนแรงกว่า QT มาก เพราะการดูดเงินกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ใน 3 เดือน เท่ากับดูดเดือนละกว่า 3 แสนล้าน หรือกว่า 3 เท่าของปริมาณเงินของมาตรการ QT)
จะทำให้สภาพคล่องที่ตึงตัวอยู่แล้วยิ่งตึงรวดเร็วมากขึ้น และนำไปสู่ความเสี่ยงสถาบันการเงิน และ/หรือภาคเอกชนที่มีหนี้สินเป็นดอกเบี้ยลอยตัวเป็นจำนวนมาก มีความเสี่ยงที่จะล้มละลายได้มากขึ้น และจะเป็นผลต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้างต่อไป
อย่าเล่นกับไฟ อย่าไฟต์กับธนาคารกลาง | ปิยศักดิ์ มานะสันต์
3.เศรษฐกิจจีนกำลังมีปัญหา ในปัจจุบัน เศรษฐกิจจีนขยายตัวต่ำกว่าคาดมาก จากความกังวลรายได้ เศรษฐกิจโลกอ่อนแอ และสินค้าคงคลังที่ล้นเกิน โดยหลายฝ่ายมองว่าจีนอาจเผชิญกับเศรษฐกิจตกต่ำซ้ำสอง (Double-dip recession)
หากติดตามตัวเลขเศรษฐกิจจีนเดือน พ.ค. พบว่าขยายตัวต่ำกว่าคาดทุกดัชนี ขณะที่การส่งออกจีนกลับมาหดตัวอีกครั้ง ขณะที่เงินเฟ้อผู้ผลิตก็ติดลบ
บ่งชี้ความเสี่ยงเงินฝืด ทำให้ธนาคารกลางจีนต้องลดดอกเบี้ยนโยบายลง รวมถึงมีการส่งสัญญาณว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการคลังขนานใหญ่ โดยหลายฝ่ายมองว่าเป็นไปได้ที่รัฐบาลกลางอาจออกพันธบัตรเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษวงเงินกว่า 5 แสนล้าน-1 ล้านล้านหยวน เช่นเดียวกับในปี 2563 เพื่อใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนวิเคราะห์ว่ามาตรการกระตุ้นภาคการคลังของจีนจะกระทำได้อย่างจำกัด จาก (1) หนี้ประชาชาติโดยรวมของจีนที่อยู่ในระดับสูง โดยล่าสุดอยู่ถึง 297.2% GDP ทำให้จีนไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ได้
(2) รัฐบาลท้องถิ่นต่างๆ ไม่กล้าที่จะเบิกจ่ายมาตรการกระตุ้นมาก เนื่องจากรัฐบาลกลางเข้มงวดเรื่องคอร์รัปชัน และ (3) รายได้จากการขายที่ดินของรัฐบาลท้องถิ่นลดลงเนื่องจากมาตรการคุมภาคอสังหาฯ ในช่วงที่ผ่านมาทำให้ผู้พัฒนาโครงการไม่กล้าลงทุนใหม่ ซึ่งเมื่อรายได้ลดลง ก็ทำให้รัฐบาลท้องถิ่นมีเงินไปจ่ายภาระดอกเบี้ยลดลง
ภาพเศรษฐกิจจีนที่ชะลอแรงขึ้น ผสมผสานกับสภาพคล่องโลกที่จะตึงตัวมากขึ้น จะทำให้เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงมากขึ้นในระยะต่อไป
ภาพต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เศรษฐกิจโลกและไทยในครึ่งปีหลังมีความเสี่ยงมากขึ้น ขณะที่ค่าเงินและกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายก็จะมีความผันผวนขึ้น ตามนโยบายการเงินที่แตกต่างกันระหว่างจีนและญี่ปุ่นกับชาติตะวันตก ทำให้ค่าเงินเอเชียรวมถึงไทยที่วิ่งไปกับค่าเงินหยวนและเยนอาจจะอ่อนค่ามากขึ้น
เมื่อธนาคารกลางจะเบรกเศรษฐกิจ นักธุรกิจและนักลงทุน ก็อย่าได้คิดเล่นกับไฟ
By ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ | Global Vision
บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัดอยู่
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"