ตอบทุกคำถาม 8 ธนาคารใหญ่คาดการณ์กำไร 2.2 แสนล้านบาท มากเกินไปจริงหรือไม่

ในวันที่คนไทยมีรายได้เฉลี่ยราวสองหมื่นบาทต่อคนต่อเดือนในปี 2565 ตามข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตัวเลขคาดการณ์กำไร 2.2 แสนล้านบาทของธนาคารพาณิชย์ยักษ์ใหญ่ ราวกับเป็นการสาดน้ำมันลงกองเพลิงโทสะของผู้คน

สรกล อดุลยานนท์ คอลัมนิสต์ผู้เป็นที่รู้จักด้วยนามปากกา “หนุ่มเมืองจันท์” ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเรื่องผิดปกติที่เศรษฐกิจของประเทศไม่เติบโต แต่ธนาคารพาณิชย์กลับมีกำไรสูงลิ่ว
เขายกคำศัพท์เฉพาะอย่าง ‘NIM’ ขึ้นมาฉายภาพว่า “ส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินฝากกับเงินกู้ของแบงก์ไทยเพิ่มขึ้นจากเดิม จ่ายดอกเบี้ยคนฝากเงินน้อย ๆ แต่ให้กู้แพง ๆ ทำกำไรแบบง่าย ๆ”
สรกล ตั้งคำถามว่าเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้กำกับดูแลภาคการธนาคารหรือไม่ ที่ต้องเข้ามาจัดการภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศไม่เติบโต แต่ธนาคารพาณิชย์กลับมีกำไรสูงลิ่ว
บรรยง พงษ์พานิช นายธนาคารชื่อดัง คือหนึ่งในคนที่เห็นต่างจากความเห็นของสรกล เขาไม่ได้มองว่าตัวเลข 2.2 แสนล้านบาท มากเกินไป โดยให้เหตุผลว่าเมื่อมองผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (Return On Equity: ROE) ของกลุ่มธุรกิจธนาคารแล้ว คำนวณออกมาอยู่ที่เพียงไม่ถึง 8% เท่านั้น
เพื่อไขข้อข้องใจในประเด็นทางเศรษฐกิจและการเงินครั้งนี้ บีบีซีไทยพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาคการธนาคารโดยตรง และนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การเงิน
แบงก์พาณิชย์กำไรสูงจริงไหม
รายงานข่าวจากประชาชาติธุรกิจ ซึ่งรวบรวมข้อมูลผลกำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ 10 แห่ง ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ พบว่าตัวเลขกำไร 9 เดือนแรก ของปี 2566 (ม.ค. – ก.ย.) อยู่ที่ 186,559 ล้านบาท และมีการประเมินเพิ่มเติมจากบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ว่าตัวเลขกำไรทั้งปี 2566 ของ 8 แบงก์ใหญ่ จะอยู่ที่ 2.2 แสนล้านบาท
จากตัวเลขตั้งต้นดังกล่าว คำถามคือ การที่ธนาคารใหญ่ของไทย 8 แห่งจะมีกำไรรวมกัน 2.2 แสนล้านบาทในปี 2566 นับว่ามากเกินไปไหม
สำหรับ บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เขาบอกกับบีบีซีไทยว่า ‘ไม่’ ทั้งในมิติที่ไม่ได้เยอะเกินไปและไม่ได้ผิดปกติ “ถ้าบอกว่าแบงก์เอากำไรมากเกิน ผมก็เถียง” บรรยง กล่าว
เขาอธิบายเหตุผลของตัวเองว่า หากจะมองตัวเลขกำไร 2.2 แสนล้านบาท ก็จำเป็นต้องมองที่เงินทุนรวมด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งเขาระบุว่าอยู่ที่ 2.7 ล้านล้านบาท เมื่อคำนวณออกมา “[กำไร] มันแค่ 8% เอง ถือว่าต่ำมาก ธุรกิจอื่นเขาไม่ทำกันหรอก”
เช่นเดียวกับ รศ.ดร.นงนุช ตันติสันติวงศ์ หัวหน้าฝ่ายบริหารความเสี่ยงและโครงสร้างองค์กร ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) และอดีตอาจารย์ด้านเศรษฐกิจและการเงินในสหราชอาณาจักร ที่ระบุว่าการมองธุรกิจอย่างเป็นธรรมจำเป็นต้องวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียด “ถ้าบอกว่ากำไรมาก คุณต้องไปดูว่าใครกำไรมาก อย่าไปบอกว่าทั้งระบบมันกำไร มันไม่ใช่ทุกแบงก์ที่กำไรเยอะ มันต้องเป็นเคสบายเคส อย่าไปเหมารวม เหมารวมมันไม่ได้บอกภาพอะไร”
“คำว่าแสนล้าน หารลงไปกลม ๆ สิบแบงก์ เหลืออยู่หลักหมื่นล้าน เงินลงทุน [ของธนาคารพาณิชย์] ไม่ใช่ล้านสองล้าน มันหลายร้อยล้าน ค่าดูแลรักษาระบบ ไม่ต่ำกว่าสิบล้าน [ต่อปี]” รศ.ดร.นงนุช ระบุ
รายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคาร หรือ NIM คืออะไร
รศ.ดร.นงนุช อธิบายเพิ่มเติมว่า เนื่องจากรูปแบบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันไม่ได้มีแค่การรับฝากเงินและปล่อยกู้เหมือนในอดีต แต่ยังรวมการเข้าไปลงทุนในธุรกิจอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับการเงินโดยตรงด้วย ทำให้การคิดต้นทุนกำไรของธนาคารไม่สามารถคิดได้จากการเอา “อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยลบด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ย”
เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ผู้เขียนขอยกตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากของธนาคารกรุงเทพ ณ วันที่ 8 ม.ค. 2567 ตามข้อมูลจาก ธปท. พบว่า ธนาคารกรุงเทพมีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากแบบออมทรัพย์อยู่ที่ 0.45%-0.55% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งในที่นี้ขอยกอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate: MRR) เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล หรือสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งอยู่ที่ 7.3% หากคิดแบบเอามาลบกันธรรมดาจะเท่ากับว่า ธนาคารกรุงเทพมีส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสูงถึง 6.75% - 6.85%
อย่างไรก็ตาม การคำนวณอย่างง่ายข้างต้น ยังไม่ใช่การคำนวณหา Net Interest Margin (NIM) ซึ่งแปลเป็นไทยว่า ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ เนื่องจาก NIM ที่แท้จริง ไม่ใช่แค่การนำดอกเบี้ยเงินกู้มาลบดอกเบี้ยเงินฝาก แต่ต้องคำนวณต้นทุนอื่น ๆ ของธนาคารเข้าไปด้วย เช่น ต้นทุนทางการเงิน ต้นทุนความเสี่ยงจากการให้กู้กรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ และต้นทุนการดำเนินการ เป็นต้น
ทั้งนี้ ตัวเลข NIM ที่แท้จริงของธนาคารกรุงเทพ ช่วงเวลา 9 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ 2.96% ขณะที่ตัวเลข NIM ในปี 2565 และ 2564 อยู่ที่ 2.4% และ 2.10% ตามลำดับ
ตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ค่าเฉลี่ย NIM ของธนาคารพาณิชย์ในไทย ในไตรมาส 2/2566 อยู่ที่ 2.95%
ทำไมธนาคารต้องคิดดอกเบี้ยเงินกู้สูง
ทั้งนี้ จากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากที่มักจะต่างกันมาก ทำให้ประชาชนหลายคนเกิดคำถามว่า ทำไมธนาคารพาณิชย์ต้องกำหนดอัตรดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่าเงินฝากมาก และผู้กำกับดูแลภาคการธนาคารอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถทำอะไรในเรื่องนี้ได้หรือไม่
ในมุมนี้ ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ หัวหน้านักกลยุทธ์การลงทุน ฝ่ายวิจัย บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) ชี้ให้เห็นถึงสาเหตุที่ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องทำกำไรสะสมไว้ว่า ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องเก็บสะสมกำไรที่หาได้ในแต่ละปี “เพื่อจ่ายคืนตอนที่มีหนี้เสียเยอะ ๆ อันนี้เป็นเรื่องที่ธนาคารต้องกลัว เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดการเบี้ยวหนี้ กำไรที่เก็บมาสี่ห้าปีคือหายหมด”
ขณะที่ รศ.ดร.นงนุช กล่าวกับบีบีซีไทยว่า เหตุผลที่ธนาคารต้องตั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ในระดับที่คนทั่วไปอาจมองว่าสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมากนั้น เนื่องจากเวลาที่ธนาคารปล่อยสินเชื่อ โดยทั่วไปจะมีทั้งคนที่เสี่ยงน้อยและคนที่เสี่ยงเยอะ ดังนั้นเมื่อธนาคารไม่สามารถคำนวณอัตราดอกเบี้ยโดยพิจารณาผู้ยื่นขอรายบุคคลแบบเดียวกับที่ธนาคารประเมินสินเชื่อเงินกู้ให้กับผู้กู้ที่เป็นบริษัทได้ จึงเป็นเหตุผลให้ธนาคารพาณิชย์ต้องคำนวณค่ากลางดอกเบี้ยเงินกู้ที่รวมเอาความเสี่ยงของทุกคนแล้วเข้ามา
“สินเชื่อมันมีทั้งสินเชื่อรายย่อยและนิติบุคคล แน่นอนว่าสินเชื่อบริษัทเขามีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน เขามีความเสี่ยงต่ำ มีรายได้ชัดเจน กิจกรรมอันนี้ก่อให้เกิดรายได้เท่านี้ มีงบย้อนหลัง แต่มาถามเราว่าคุณได้ทำบัญชีไหม บัญชีของคุณ รายรับ รายจ่าย ย้อนหลังสามปี เท่าไหร่ พอมันไม่มีหลักฐานการเงิน ถือว่ารายย่อยเสี่ยงกว่าธุรกิจ เพราะฉะนั้นดอกเบี้ยที่คิดบนธุรกิจมันก็เลยถูกกว่า ดอกเบี้ยที่คิดกับบุคคลธรรมดา” รศ.ดร.นงนุช ระบุ
ดอกเบี้ยเงินกู้สูง เพราะการแข่งขันในภาคการธนาคารต่ำไปหรือไม่
นอกจากนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า หรือเป็นเพราะแวดวงการธนาคารไทยมีการแข่งขันต่ำเกินไป จึงทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงได้
บรรยง ที่คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงการเงินการธนาคารไทยมาเกินกว่า 40 ปี ยอมรับว่า “ระบบธนาคารของเราไม่มีประสิทธิภาพจริง การแข่งขันของเราในอดีตมันอาจจะไม่พอ มันก็ทำให้ประสิทธิภาพมันต่ำไปหน่อย”
ขณะที่ ผศ.ดร.ษิฌา ทับทิมพรรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายว่า การวิเคราะห์การแข่งขันของธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีความแตกต่างจากการวิเคราะห์ธุรกิจทั่วไป เพราะสำหรับธุรกิจทั่วไป การแข่งขันยิ่งสูงจะถือว่าน่าจะยิ่งดีกับทุก ๆ ฝ่าย แต่สำหรับอุตสาหกรรมธนาคาร จะมีระดับการแข่งขันที่เหมาะสมอยู่ระดับหนึ่ง เนื่องจากหากการแข่งขันในธุรกิจธนาคารมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงและความไม่มั่นคงเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
“ถ้าเราทำให้การแข่งขันในธนาคารสูงขึ้นมาก ๆ แล้วกลายเป็นว่าธนาคารมีขนาดเล็กจนเกินไป มันอาจจะทำให้พอร์ทลงทุนมันเล็ก พอพอร์ทลงทุนมันเล็ก การกระจายความเสี่ยงมันไม่มีประสิทธิภาพ ทีนี้มันกระจายความเสี่ยงได้ไม่มีประสิทธิภาพ มันสูญเสียผลตอบแทนไป เขาอาจจะยิ่งต้องคิดดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เพื่อจะมาชดเชยความเสี่ยง หรือมันอาจจะแลกมาด้วยว่าเราจะมีธนาคารเล็ก ๆ เต็มไปหมด ซึ่งมันก็จะต้องใช้คำว่ามันไม่มั่นคง”
ถ้าตั้งเพดานดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นมาจะเป็นอย่างไร
ใต้โพสต์ที่กลายเป็นไวรัลของ “หนุ่มเมืองจันท์” มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่แสดงความเห็นว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะให้แบงก์ชาติเข้ามาควบคุมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เช่น กำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อช่วยเหลือประชาชนมากขึ้น
ผศ.ดร.ษิฌา อธิบายว่า “ปกติแล้วไม่ค่อยมีใครเขาควบคุมการตั้งดอกเบี้ยเงินฝาก หรือการตั้งดอกเบี้ยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในยุคปัจจุบัน เพราะธนาคารพาณิชย์เอกชนไม่ได้ถูกควบคุม”
ทว่าการบอกว่าไม่ได้ถูกควบคุม ไม่ได้หมายความว่าธนาคารพาณิชย์ไม่ถูกตรวจสอบหรือกำกับ
“ธนาคารเป็นสถาบันการเงิน ซึ่งเขามีกฎระเบียบที่ต้องปฎิบัติตามเยอะมาก ต้องสำรองสภาพคล่อง ต้องดูแลเรื่องความเสี่ยง เขาถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและมีความถี่ที่สูงมาก ด้วยมาตรฐานการตรวจสอบตามมาตรฐานสากล” นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุ
ด้าน รศ.ดร.นงนุช ระบุว่า หากสมมติมีการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นจริง ผลกระทบจะกลับไปที่ปัญหาที่คาราคาซังมาแล้วหลายสิบปี อย่างการเพิ่มขึ้นของเงินกู้นอกระบบ
อดีตอาจารย์ด้านเศรษฐกิจและการเงินในสหราชอาณาจักร กล่าวต่อว่า หากมีการตั้งเพดานดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นมาจริง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงทำธุรกิจโดยแสวงหาผลกำไร นั่นหมายความว่าธนาคารพาณิชย์เหล่านี้จะปล่อยสินเชื่อให้ได้แค่กับกับบุคคลซึ่งมีความเสี่ยงที่ธนาคารรับได้ในเพดานดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เท่านั้น ดังนั้นจะมีคนกลุ่มหนึ่งที่จะไม่สามารถเข้าถึงเงินกู้ในระบบได้เลย อาทิ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มที่ไม่มีรายได้เสถียรหรือมั่นคง หรือกลุ่มที่ไม่มีเงินฝากมากพอจะพิสูจน์ได้ว่าตนเป็นผู้มีความเสี่ยงต่ำพอจะกู้ได้
“มันไม่มีธุรกิจไหน ทำธุรกิจเพื่อการขาดทุน เพราะฉะนั้น กลุ่มที่ความเสี่ยงสูงเกินกว่าที่เพดานนี้จะรับได้ จะถูกเตะออกนอกระบบโดยธรรมชาติ แล้วกลุ่มนี้เขาจะไปไหนถ้าเขาต้องการสินเชื่อ เขาจะไปนอกระบบ มันจะย้อนกลับไปสู่ปัญหาเดิม ๆ 30-40 ปีที่ผ่านมา”
“ถ้าคุณต้องการให้คนเข้ามาอยู่ในระบบ นั่นหมายถึงต้องปล่อยเป็นอิสระ ให้มันเหมือนกับเงินกู้นอกระบบเลย ต่างคนต่างฟรี ถ้าลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูงมา ลูกค้าเสี่ยงกล้าจ่ายดอกเบี้ยหรือเปล่า ถ้ากล้าจ่ายดอกเบี้ยสูง คุณได้เงินกู้ไป อันนั้นคนจะกลับเข้ามาในระบบ เพราะในระบบ อยู่ดี ๆ จะไปทวงหนี้เขา ไปทำร้ายเขาไม่ได้ แต่ถ้านอกระบบคุณคุมไม่ได้” รศ.ดร.นงนุช ระบุ
ทำไมแบงก์ชาติต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ภายหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว 8 ครั้ง โดยครั้งแรกปรับขึ้นเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2565 และหลังจากนั้นก็มีการปรับเพิ่มอีก 7 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2566 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายถูกปรับเพิ่มขึ้นจาก 0.50% ในช่วงต้นปี 2565 มาอยู่ที่ระดับ 2.50% ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ เหตุผลที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่ผ่านมา มีเหตุผลหลักๆ ก็เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการควบคุมเงินเฟ้อ
ในปี 2565 อัตราเงินเฟ้อของไทยพุ่งขึ้นจนทำสถิติด้วยตัวเลขเงินเฟ้อทั้งปีถึง 6.1% โดยเฉพาะในไตรมาสที่สามที่เงินเฟ้อพุ่งไปถึง 7.3% คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกจากระดับ 0.5% ขึ้นมาเป็น 0.75% ในการประชุมวันที่ 10 ส.ค. 2565 ซึ่งตรงกับช่วงไตรมาสที่สามของปี ซึ่งตัวเลขเงินเฟ้อไทยพุ่งสูงสุด
“เงินเฟ้อมันขึ้น แล้วเงินเฟ้อไม่ใช่ปล่อยไปแล้วค่อยมาขึ้น [ดอกเบี้ยนโยบายตาม] มันจะไม่ทัน อันนี้มันมีข้อพิสูจน์ทั้งโลก เพราะงั้นเขา [แบงก์ชาติ] ก็ต้องขึ้น” บรรยง พงษ์พานิช กล่าว
นอกจากนี้ ผศ.ดร.ษิฌา นักวิชาการจากคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. ยังอธิบายด้วยว่า เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจขนาดเล็ก จึงจำเป็นต้องมีการปรับอัตราดอกเบี้ยตามดอกเบี้ยทั่วโลก รวมถึงดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อยู่เสมอด้วย เพื่อเลี่ยงภาวะเงินทุนไหลออก
โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ อยู่ที่ 5.25% - 5.50%
“ถ้าแบงก์ชาติลดดอกเบี้ยลงเหลือศูนย์ สิ่งที่เกิดตามมาคือแบงก์พาณิชย์จะลดดอกเบี้ยลงเหลือศูนย์เช่นกัน แล้วเงินที่คนฝากเงิน เขาจะมาฝากแบงก์ไทยไหม ถ้าสหรัฐฯ ให้ดอกเบี้ย 5.5% เขาก็ไปที่สหรัฐฯ แทน” ดร.จิติพล อธิบาย
ปรากฏการณ์นี้ถูกเรียกว่า ‘เงินทุนไหลออก’ ในเหตุกาณ์เช่นนั้น ดร.จิติพล อธิบายว่า ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ จะเริ่มเห็นเงินฝากตัวเองหายไปจากแบงก์ ท้ายที่สุดแบงก์เองก็จะไม่มีเงินมาปล่อยสินเชื่อ และ “ผลจะวนมาหาเรากันเอง”
ธนาคารพาณิชย์มีกำไรมาก แย่ต่อเศรษฐกิจเสมอไปจริงหรือ
ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นในช่วงหนึ่งปีกว่าที่ผ่านมา มีส่วนทำให้ธนาคารพาณิชย์มีกำไรเพิ่มขึ้นด้วย โดย ดร.กิริฎา เภาพิจิตร จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) อธิบายว่า ตามปกติแล้ว “เวลาดอกเบี้ย [นโยบาย] ขึ้น แบงก์มักจะกำไรเป็นเรื่องปกติ เพราะรายได้ของแบงก์ส่วนใหญ่มาจากดอกเบี้ย เวลาดอกเบี้ย [นโยบาย] ขึ้น แบงก์จะกำไรมากขึ้น”
อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารพาณิชย์ยังคงมีกำไร ในด้านหนึ่งก็มีข้อดี เนื่องจากแปลว่าธนาคารจะมีกำไรสะสมเพิ่มขึ้นและสามารถดูแลความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการผิดนัดชำระหนี้ในอนาคตได้ และเงินฝากของคนฝากเงินก็จะปลอดภัยมากขึ้นด้วย
“ถ้าประชาชนกำลังมีความเป็นห่วงเรื่องการมีกำไรเพิ่มขึ้นของธนาคาร ในอีกมุมนึงคือฐานะทางการเงินของเขามั่นคงขึ้น เงินฝากของผู้ฝากเงินก็ปลอดภัยมากขึ้น ถ้าธนาคารเขาขาดทุนมาก ๆ ก็อาจจะเป็นเรื่องที่น่ากังวลขึ้นมาได้” ผศ.ดร.ษิฌา นักวิชาการจากคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. ระบุทิ้งท้าย
Author, ปณิศา เอมโอชา
Role, ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
Source: BBC Thai

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"