ธนาคารกลางของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจมีความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบาย การเงินจากธนาคารกลางสหรัฐฯ มากขึ้น

นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกต่างตั้งตารอผลการประชุมครั้งต่อไปของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve System) ในวันที่ 13 มิถุนายน (13.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ในขณะเดียวกัน ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ

ในภูมิภาคนี้ ต่างก็กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการประชุมภายในประเทศเช่นกัน เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งจะทบทวนการกำหนดอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปในวันที่ 12 มิถุนายนนี้
ในระยะข้างหน้า การตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ และ ธปท. คงไม่แตกต่างกันมากนัก ในขณะที่นักเศรษฐ ศาสตร์ส่วนใหญ่ประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะตรึงดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง ก่อนที่จะค่อยๆ ปรับลดลง แต่ในกรณีของไทย อาจมีความเป็นไปได้ที่ ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงก่อนธนาคารกลางสหรัฐฯ ในขณะที่ธนาคารกลางยุโรปได้เริ่มลดอัตราดอกเบี้ยจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ลงร้อยละ 0.25 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ที่ผ่านมา
สำหรับสิงคโปร์ การดำเนินนโยบายการเงินต่างออกไป เนื่องจากใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ในการดำเนินนโยบายการเงิน โดยผูกค่าเงินกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี การดำเนินนโยบายการเงินที่สวนทางกันระหว่างธนาคารกลางสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยาก
เมื่อมองย้อนไปในอดีต การทำนโยบายการเงินที่สวนทางกันระหว่างธนาคารกลางสหรัฐฯ กับธนาคารกลางในภูมิภาคนี้ เกิดขึ้นน้อยครั้ง เศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะมาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการไหลออกของเงินทุนในช่วงวิกฤตการเงินเอเชีย หรือวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 ส่งผลให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง การว่างงานปรับเพิ่มสูงขึ้น และค่าเงินอ่อนค่าอย่างหนักและต่อเนื่อง
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทรงตัวอยู่ในระดับสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐฯ ซึ่งจำเป็นเพราะโดยทั่วไปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเงินสกุลที่ปลอดภัยสำหรับนักลงทุน ดังนั้น เพื่อดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงจำ เป็นต้องให้ผลตอบแทนแก่นักลงทุนที่สูงกว่า
อนึ่ง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผลพวงหนึ่งของวิกฤตโควิดคืออัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นทั่วโลก เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564ทำให้ธนาคารกลางของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามธนาคารกลางสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับเพิ่มขึ้นนั้นต่ำกว่ามาก เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความรุนแรงน้อยกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ และยุโรป ธนาคารกลางในภูมิภาคอาเซียนจึงสามารถควบคุมภาวะเงินเฟ้อได้ด้วยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่ต่ำกว่า
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นมากกว่าร้อยละ 5 สู่ระดับสูงสุดที่ร้อยละ 5.5 และทรงตัวอยู่ในระดับดังกล่าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยของ ธปท. อยู่ที่ร้อยละ 2.5 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 สำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางประเทศมาเลเซียทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3 ปรับเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 1.25 อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.25 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75
ขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 6.5 อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ปรับเพิ่มขึ้นนั้น ยังต่ำกว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ
ปัจจุบัน อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซียมีความเป็นอิสระด้านนโยบายการเงินมากขึ้น เนื่องจากเสถียรภาพภาคต่างประเทศ ซึ่งสะท้อนผ่านดุลบัญชีเดินสะพัด ทุนสำรองระหว่างประเทศ และการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นมากกว่าในช่วงก่อนหน้านี้มาก ทั้งสี่ประเทศนี้เคยมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดระหว่างร้อยละ 3.4 ถึงร้อยละ 7.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปี 2539 ก่อนเกิดวิกฤตการเงินเอเชียปี 2540 อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน ทั้งสี่ประเทศมีสถานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิมมาก
ตัวอย่างเช่น อินโดนีเซียเกิดดุลบัญชีเดินสะพัดถึงร้อยละ 1 ของจีดีพีในปี 2565 และขาดดุลเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.1 ของจีดีพีในปีที่ผ่านมา ท่ามกลางการเติบโตอย่างรวดเร็วของการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ ในณะที่ประเทศไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดร้อยละ 1.4 ของจีดีพีในปี 2566 หลังจากขาดดุลติดต่อกันเป็นเวลาสองปีนับตั้งแต่ปี 2563
มาเลเซียมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดของโควิด โดยการเกินดุลปรับลดลงจากร้อยละ 3.1 ของจีดีพีในปี 2565 เหลือร้อยละ 1.2 ในปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี ธนาคารยูโอบีประเมินว่า การเกินดุลจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2 ในปีนี้
ในกรณีของฟิลิปปินส์มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงอย่างมาก จากร้อยละ 4.4 ของจีดีพีในปี 2565 เหลือเพียงร้อยละ 1.3 ในปีที่แล้ว
เสถียรภาพด้านต่างประเทศที่ปรับดีขึ้นนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครั้งใหญ่ของเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ อาทิ การเพิ่มผลผลิตและความสามารถในการแข่งขัน การควบคุมดูแลภาคการเงินที่ดีขึ้น และการพัฒนาให้ตลาดทุนมีความโปร่งใสและมีสภาพคล่องมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงในทิศทางบวกเหล่านี้ยังคงดำเนินต่อไป โดยเมื่อเร็วๆ นี้ อินโดนีเซียได้เริ่มใช้ความพยายามในการพัฒนาอุตสาหกรรมปลายน้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก ในขณะที่ประเทศไทยได้ผ่อนคลายข้อจำกัดด้านวีซ่าเพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งส่งผลให้การส่งออกบริการต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
เมื่อทั่วโลกเริ่มผ่อนคลายนโยบายทางการเงินลง เศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถที่จะผ่อนคลายนโยบายทางการเงินได้เร็วกว่าหรือมากกว่าได้ ด้วยเสถียรภาพทางการเงินที่ดีขึ้น ทำให้มีความยืดหยุ่นในการปรับอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อในประเทศของตน โดยไม่จำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินตามธนาคารกลางสหรัฐฯ อย่างที่เคยเป็นมาในอดีต
ปัจจุบัน นโยบายการเงินของธนาคารกลางของฟิลิปปินส์ค่อนข้างเป็นกลางหรือค่อนข้างผ่อนคลาย โดยเมื่อพิจารณาจากคำแถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินล่าสุด การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ และสกุลเงินเปโซของฟิลิปปินส์ ก็ถือเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่มีความยืดหยุ่นมากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ จึงทำให้ธนาคารกลางของฟิลิปปินส์มีความยืดหยุ่นมากพอที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายก่อนธนาคารกลางสหรัฐฯ เพื่อช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอลง โดยไม่กระทบต่อเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน
ในกรณีของประเทศไทย แม้ว่าจะมีความกังวลเรื่องหนี้ครัวเรือน แต่เสถียรภาพด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่งและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ น่าจะช่วยเอื้อให้ ธปท. สามารถผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อช่วยให้การเติบโตทางเศรษฐกิจแข่งแกร่งขึ้นได้ โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกอาจเกิดขึ้นเร็วที่สุดในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 12 มิถุนายนนี้
ส่วนมาเลเซีย แม้ว่าการส่งออกจะเติบโตของชะลอลง แต่อุปสงค์ในประเทศที่แข็งแกร่งจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจได้ และความจำเป็นที่จะใช้การกระตุ้นจากนโยบายการเงินมีไม่มาก
ขณะที่อินโดนีเซียน่าจะเป็นประเทศที่ใช้ความระมัดระวังมากที่สุดในการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากมีความเสี่ยงที่ราคาสินค้านำเข้าจะสูงขึ้น นอกจากนี้ แม้ว่าสถานะด้านต่างประเทศมั่นคงขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางอินโดนีเซียอาจจะมีความระมัดระวังในการรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดเงินทุนให้ไหลกลับเข้าประเทศ
สิงคโปร์แม้จะไม่ได้ดำเนินการผ่านกลไกอัตราดอกเบี้ยโดยตรง แต่ผ่านนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ก็สามารถผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ เนื่องจากโมเมนตัมการเติบโตกำลังชะลอตัวลง
ไม่ว่าธนาคารกลางของแต่ละประเทศจะมีนโยบายอย่างไร ประเทศเหล่านี้มีอิสระในการดำเนินนโยบายการเงินมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา และธนาคารกลางสหรัฐฯ ในฐานะผู้กำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินโลก มีอิทธิพลต่อทิศทางของนโยบายการเงินของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลง
Source: positioning magazine

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"