คาดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงทยอยกลับสู่ระดับที่เหมาะสมกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

“วัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นใกล้สิ้นสุดและอัตราดอกเบี้ยแท้จริงกำลังกลับมาเป็นบวกใช่หรือไม่” เป็นคำถามที่เกิดขึ้น หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปี และอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอลง

รวมทั้งเริ่มเห็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในหลาย ๆ ประเทศที่ติดลบมาตั้งแต่อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มทยอยเปลี่ยนจากโซนลบไปสู่โซนบวกมากขึ้น สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลกและอัตราดอกเบี้ยของไทยจะเป็นอย่างไร มาติดตามและหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน
ย้อนดูอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบเกิดขึ้นได้อย่างไร อัตราดอกเบี้ยในที่นี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศใช้ดำเนินนโยบายทางการเงินทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรือชะลอเศรษฐกิจ ควบคุมเงินเฟ้อ ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้การเติบโตทางเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายย่อมส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยในระบบธนาคาร ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงที่มีการหยิบยกมาพูดถึงเป็นส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ (หากมองในระยะสั้นก็อาจใช้อัตราเงินเฟ้อ ณ ปัจจุบัน)
ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีค่าติดลบย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งอาจมีสาเหตุจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำหรือคงที่ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น หรือเกิดจากทั้งสองปัจจัยก็เป็นไปได้ โดยพบว่า ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกยังคงมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงติดลบ อาทิ อังกฤษ เยอรมนี สิงคโปร์ ฝรั่งเศส มาเลเซีย ขณะที่ฝั่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงเริ่มกลับสู่โซนบวก นำโดย สหรัฐอเมริกา จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ เวียดนาม รวมทั้งไทย
ทั้งนี้ สถานการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายติดลบในรอบล่าสุดนี้เริ่มขึ้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (ปี 2563-2564) ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในภาวะชะงักงัน ธนาคารกลางส่วนใหญ่ไม่เพียงแต่กลุ่มเศรษฐกิจหลักต่างดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลาย โดย Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0 - 0.25 % และทรงตัวในระดับต่ำต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่จะสิ้นสุดยุคดอกเบี้นต่ำเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและอัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้น
ขณะที่สงครามรัสเซีย-ยูเครน ได้ซ้ำเติมราคาพลังงานโลกให้ปรับสูงขึ้นในอัตราเร่ง และทำให้ทั่วโลกเผชิญกับวิกฤตเงินเฟ้อครั้งรุนแรง นำไปสู่การดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวหรือเข้าสู่วงจรดอกเบี้ยขาขึ้น โดย Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วและแรงต่อเนื่องจาก 0.25% ขึ้นเป็น 5.0-5.25% และถึงแม้จะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบล่าสุด แต่ยังมีความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเล็กน้อย ตราบใดที่อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าเป้าหมาย 2%
อัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยที่แท้จริงติดลบสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 7% ช่วงกลางปี 2565 และพลิกกลับเป็นบวกครั้งแรกในเดือนมิ.ย. 2566 ย้อนดูข้อมูลในอดีตอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยระดับต่ำสุดอยู่ที่ 0.5% และเมื่อดูถึงปีที่อัตราดอกเบี้ยแท้จริงเป็นลบ พบว่ามีหลายช่วงเวลา ซึ่งในภาพรวมสาเหตุเกิดจากปัจจัยอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้น หรืออาจเกิดทั้งสองปัจจัยที่มีน้ำหนักมากน้อยแตกต่างกันไป อาทิ ในช่วงปี 2546-2547 อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงติดลบที่ 0.9 ซึ่งในขณะนั้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำที่ 1.25% และในช่วงปี 2552-2554 อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงติดลบ 1.2%
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อขยับสูงขึ้นเฉลี่ยที่ 3.5% สำหรับในช่วงวิกฤตโควิด-19 อัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยมีการเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยโลก โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลดต่อเนื่องจาก 1.75 % ไปอยู่ระดับต่ำสุดที่ 0.5% เป็นเวลานานกว่าสองปี ซึ่งในช่วงเวลานั้นอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ ทำให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงยังคงเป็นบวก แต่เมื่ออัตราเงินเฟ้อไต่ระดับสูงขึ้นเร็ว ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปสู่ระดับ 2% เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว ทำให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงของไทยมีค่าเป็นลบตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 จนล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2566 อัตราเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลงอยู่ที่ 0.5% ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงกลับเป็นบวกครั้งแรกที่ 1.5%
สถานการณ์อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ มีนัยอย่างไร ในสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว อัตราดอกเบี้ยที่ติดลบมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนที่ลดลงเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยติดลบเปรียบเสมือนเหรียญที่มีสองด้าน กล่าวคืออาจไม่ส่งผลดีเสมอไปหากเกิดขึ้นเป็นเวลานาน อาทิ 1) รายได้ของผู้ออมที่ลดลงจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวในตลาดการเงินที่ลดลง ซึ่งอาจกระทบต่อการใช้จ่ายของครัวเรือนและผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณ 2) ภาคธุรกิจและประชาชนอาจก่อหนี้มากเกินความจำเป็นและเป็นการสะสมความเสี่ยง
3) ความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินจากพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนเพิ่มขึ้น (Search for Yields) และการประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควรจะเป็น (Underpricing of Risk) ดังนั้น ช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำนักลงทุนก็มีการแบ่งส่วนของเงินมาลงทุนในตลาดการเงินอื่นมากขึ้นเพื่อหาผลตอบแทนชดเชยส่วนของผลตอบแทนของดอกเบี้ยที่ลดลง 4) ผลกระทบต่อค่าเงิน ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบอาจเป็นตัวกดดันให้เงินบาทอ่อนค่า จากการไหลออกของกระแสเงินทุนต่างชาติ โดยเฉพาะหากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของประเทศในแถบเอเชียอื่นติดลบน้อยกว่าหรือมีค่าบวก
อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงของไทยมีแนวโน้มติดลบน้อยลงเรื่อย ๆ จนกลับสู่ระดับที่เป็นบวก อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ณ ระดับปัจจุบันที่ 2% เป็นระดับสูงกว่าก่อนวิกฤตโควิด-19 และเป็นอัตราดอกเบี้ยในระดับปกติของไทยสะท้อนจากช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยนโยบายเฉลี่ยอยู่ที่ 2% เมื่อเศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 และกลับสู่ระดับศักยภาพแล้ว โดยในปี 2566 คาดการณ์เศรษฐกิจไทยเติบโต 3.4%
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลง ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงมีแนวโน้มกลับมาอยู่ในระดับเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ในกรณีที่อัตราเงินเฟ้อยังไม่กลับสู่ระดับเป้าหมาย มีความเป็นไปได้ที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาสปรับขึ้นได้อีกจากปัจจุบันอยู่ที่ 2% เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของประเทศไม่อยู่ในระดับต่ำนานเกินไป ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว และเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับระบบสถาบันการเงิน รวมทั้งเป็นระดับที่ไม่ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจต้องสะดุดลง
Source: กรุงเทพธุรกิจ

 

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"