forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ทองคำพุ่งรับแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย-ดอลลาร์อ่อน ท่ามกลางสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนปะทุ

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร (8 เม.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ และแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งเป็นสองประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ยกระดับความรุนแรง

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปรับตัวขึ้น 16.60 ดอลลาร์ หรือ 0.55% ปิดที่ระดับ 2,990.20 ดอลลาร์/ออนซ์

แรงกดดันในตลาดเกิดจากความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ โดยล่าสุดเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวยืนยันว่า สหรัฐฯ จะเริ่มเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในอัตราสูงถึง 104% มีผลตั้งแต่วันพุธที่ 9 เม.ย. เวลา 00.01 น. ตามเวลาสหรัฐฯ หรือตรงกับเวลา 11.01 น.ของไทย

ในฝั่งจีน รัฐบาลได้ประกาศเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตรา 34% มีผลตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. เพื่อตอบโต้มาตรการของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งได้เรียกเก็บภาษีจากจีนในอัตราเดียวกันก่อนหน้านี้ และยังมีมาตรการเก็บภาษีเพิ่มเติมอีก 20% ทำให้ภาษีรวมที่จีนต้องเผชิญจากฝั่งสหรัฐฯ อยู่ที่ 54%

อย่างไรก็ตาม ปธน.ทรัมป์ได้ขีดเส้นตายให้จีนยกเลิกภาษี 34% ที่เก็บจากสหรัฐฯ ภายในวันที่ 8 เม.ย. มิฉะนั้นสหรัฐฯ จะตอบโต้ด้วยการเรียกเก็บภาษีเพิ่มอีก 50% ส่งผลให้อัตราภาษีรวมที่จีนต้องแบกรับอาจพุ่งสูงถึง 104%

ล่าสุด จีนประกาศจุดยืนชัดเจนว่าจะไม่ยกเลิกมาตรการภาษีดังกล่าว และพร้อม "ต่อสู้จนถึงที่สุด" เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ

ขณะเดียวกัน ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งวัดค่าของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.3% แตะที่ระดับ 102.955 การอ่อนค่าของดอลลาร์ส่งผลให้ทองคำ ซึ่งกำหนดราคาเป็นดอลลาร์ มีความน่าดึงดูดมากขึ้นสำหรับนักลงทุนที่ถือเงินสกุลอื่น

นักลงทุนยังคงจับตารายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันพุธที่ 9 เม.ย. เพื่อค้นหาสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางนโยบายดอกเบี้ยในอนาคต นอกจากนี้ ตลาดยังเฝ้ารอดูข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชุดสำคัญในสัปดาห์นี้ อาทิ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมีนาคม, ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI), ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนเมษายนจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

คลิก

Cr.สำนักข่าวอินโฟเควสท์

----------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4yo

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"